เปิดทำเนียบ 10 มหาเศรษฐีไทยปี 66 พบความมั่งคั่งเพิ่มเกือบ 15%

ภาพจาก https://www.forbesthailand.com/

ฟอร์บส ไทยแลนด์ เปิด 50 อันดับมหาเศรษฐีไทย ความมั่งคั่งรวมเพิ่มขึ้น 173,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รับอานิสงส์นักท่องเที่ยวเดินทางเที่ยวไทยคึกคัก หนุนพี่น้องเจียรวนนท์ รั้งเบอร์ 1 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1.18 ล้านล้านบาท ดัน “อัยยวัฒน์” King Power คว้าอันดับ 8 พร้อมสร้างมหาเศรษฐีหน้าใหม่เข้าสู่ทำเนียบ “ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์” ติดอันดับที่ 24

6 ก.ค. 2566   นิตยสาร ฟอร์บส ไทยแลนด์ เปิดเผยผลการจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2566 พบว่า ความมั่งคั่งรวมของ 50 มหาเศรษฐีไทยก็เพิ่มขึ้นเกือบ 15% คิดเป็น 173,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจประเทศไทยฟื้นตัวจากการกลับมาของนักท่องเที่ยว ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประมาณการเติบโต ปี 2566 อยู่ที่ 3.6% โดย 10 มหาเศรษฐีไทย มีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ได้แก่ อันดับ 1 พี่น้องเจียรวนนท์ กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 1.18 ล้านล้านบาท อันดับ 2 นายเฉลิม อยู่วิทยา และครอบครัว เครื่องดื่มชูกำลังกระทิงแดง และกลุ่มธุรกิจ TCP มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 33,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 1.16 ล้านล้านบาท อันดับ 3 นายเจริญ สิริวัฒนภักดี กลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 13,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น  473,000 ล้านบาท

 อันดับ 4 ตระกูลจิราธิวัฒน์ กลุ่มธุรกิจเซ็นทรัล กรุ๊ป มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 12,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  คิดเป็น 432,000 ล้านบาท อันดับ 5 นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) บริษัทพลังงานขนาดใหญ่ของประเทศ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 11,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  คิดเป็น 394,000 ล้านบาท  อันดับ 6 นายวานิช ไชยวรรณ ประธานกิตติคุณ บมจ.ไทยประกันชีวิต (TLI) และมีแผนเตรียมนำธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย (CREDIT) เข้าตลาดหุ้นในช่วงปลายปี 2566 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 136,000 ล้านบาท

 อันดับ 7 นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ผู้ก่อตั้ง-เจ้าของอาณาจักร BDMS ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่สุดในไทยถึง 47 แห่ง และยังเป็นเจ้าของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 132,000 ล้านบาท อันดับ 8 นายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา และครอบครัว สัญญาณการกลับของธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศ สร้างการรับรู้ถึงกลุ่มธุรกิจ King Power กลุ่มบริษัทสินค้าปลอดภาษี  และเจ้าของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ มูลค่าทรัพย์สิน 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 121,000 ล้านบาท อันดับ 9 นายสมโภชน์ อาหุนัย และครอบครัว ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานสะอาดแบบครบวงจร มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 104,000 ล้านบาท และอันดับ 10 ครอบครัวโอสถานุเคราะห์   เจ้าของธุรกิจ บมจ.โอสถสภา (OSP) มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 87,000 ล้านบาท

สำหรับภาพรวมแล้ว มีมหาเศรษฐีไทย 21 คนที่ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา มหาเศรษฐี 2 รายที่มีเปอร์เซ็นต์ความร่ำรวยเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการกลับมาของนักชอปต่างชาติ ได้แก่ นายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา และครอบครัว ทวงคืนตำแหน่งใน 10 อันดับแรกมหาเศรษฐีไทยมาได้ ส่วนคนที่ 2  รับทรัพย์มหาศาล คือ นางศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด  ธุรกิจค้าปลีก  The Mall Group ซึ่งเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าชั้นนำมากมายรวมถึง Siam Paragon และ EmQuartier ที่มีความมั่งคั่ง 2,000  ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เพิ่มจากเดิมถึง 2 เท่า  

 ทั้งนี้ การกลับมาของกำลังซื้อของธุรกิจค้าปลีกยังได้พา 2 มหาเศรษฐีหน้าใหม่เข้าสู่ทำเนียบ ได้แก่  นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ที่ครอบครัวของเขาถือหุ้นใน The Mall Group และธุรกิจอื่นๆ ทำให้เขาได้เปิดตัวที่อันดับ 24 ด้วยทรัพย์สิน 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนอีกราย คือ นายอนันท์ รักอริยะพงศ์ ผู้ก่อตั้งบริษัทเครื่องดื่มที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ Sappe อยู่ที่อันดับ 50 กับมูลค่าทรัพย์สิน 590 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ   

 ขณะที่ มหาเศรษฐีที่มีความมั่งคั่งลดลง คือ นายประจักษ์ ตั้งคารวคุณ ที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิตกลงมากที่สุดเกือบ 30% เมื่อเทียบกับผู้ติดอันดับในทำเนียบ เนื่องมาจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบริษัทผู้ผลิตสายไฟและสายเคเบิ้ลของบมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) ที่ลูกชายถือหุ้นอยู่ พังยับเยินและถูกสั่งพักการซื้อขายหลังทางบริษัทไม่สามารถส่งงบการเงินให้กับทางตลาดหลักทรัพย์ได้ในเวลาที่กำหนดดังที่ปรากฏ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมพัฒนาธุรกิจฯ เผยธุรกิจตั้งใหม่ปี 66 สูงที่สุดในรอบ 10 ปี ต่างชาติขนเงินเข้าไทย 1.3 แสนล้าน

นักลงทุนไทยแห่จัดตั้งธุรกิจใหม่ ทะลุ 8.5 หมื่นราย ทุนจดทะเบียนรวมกว่า 5.6 แสนล้านบาท ขณะที่ต่างชาติหอบเงินลงทุนเข้าไทย แตะ 1.3 แสนล้านบาท ญี่ปุ่นนำโด่งเบอร์ 1คาด!! ปี 2567 เศรษฐกิจไทยโตต่อเนื่อง ปัจจัยบวกสนับสนุนให้ไทย-เทศเดินหน้าลงทุนเพิ่ม

กสิกรไทย แจ้งผลประกอบการ ปี 66 โกยกำไร 42,405 ล้านบาท

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังคงขยายตัวในลักษณะไม่ทั่วถึง (K-Shaped Recovery) โดยการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว ในขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนอื่นยังเผชิญแรงกดดันจากการปรับขึ้นของต้นทุน

ตัวเลขสวย ปี 66 นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยทะลุ 28 ล้านคน

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยสถิติจากกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว

ปัญหาเศรษฐกิจ - ภัยไซเบอร์ เป็นเรื่องที่ประชาชนเหนื่อยหน่ายมากที่สุดในปี 2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2566 ที่ผ่านมา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-20 ธันวาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

รถอีวีหนุนธุรกิจประกันวินาศภัยโต 5% คาดปีหน้าเบี้ยทะลุ 3 แสนล้าน

สมาคมประกันวินาศภัยไทย แถลงผลประกอบการธุรกิจประกันวินาศภัย รวม 3 ไตรมาส (มกราคม-กันยายน) ของปี 2566 มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวม 210,141 ล้านบาท เติบโตรวม 5.2% โดยประมาณการทั้งปี 2566 คาดว่าจะเติบโต 4.0%-5.0% มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวม 285,080-287,800 ล้านบาท และคาดการณ์แนวโน้มปี 2567 จะมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวม 301,050-303,900 ล้านบาท เติบโต 5.0%-6.0% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการประกันภัยรถไฟฟ้า (EV) การประกันภัยสุขภาพ และการประกันภัยการเดินทางที่มีผลมาจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว

พาส่อง ’12 เทรนด์ฮิตครองที่สุดแห่งปี 2023’

ปี 2023 มีเรื่องราวและความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายทั้งในแง่ของกระแสสังคมเศรษฐกิจการเมืองไลฟ์สไตล์บางอย่างดำเนินต่อเนื่องมาจากปีก่อนหน้าบางอย่างเกิดขึ้นเป็นเทรนด์ใหม่