“กรมท่าอากาศยาน” เดินหน้า ฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุท่าอากาศยานเต็มรูปแบบ ประจำปี66 เน้นย้ำมาตรฐานในการปฏิบัติงาน สร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ
3 ก.ค. 2566 – รายจากกรมท่าอากาศยาน(จท.)ได้จัด จัดโครงการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉิน และแผนเผชิญเหตุท่าอากาศยานเต็มรูปแบบประจำปี 2566 ของท่าอากาศยานในสังกัด ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยฉบับที่ 37 ที่กำหนดให้สนามบินต้องดำเนินการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินของสนามบินเต็มรูปแบบ ทุก 2 ปี เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นแนวทางในการปฏิบัติหากเกิดเหตุการณ์จริง และสามารถนำแผนฉุกเฉินท่าอากาศยานไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
ทั้งนี้การฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุท่าอากาศยานเต็มรูปแบบ ประจำปี 2566 จะจัดขึ้นในท่าอากาศยาน12 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานกระบี่ สุราษฎร์ธานี อุดรธานี บุรีรัมย์ นครศรีธรรมราช ขอนแก่น ตรัง อุบลราชธานี เบตงหัวหิน พิษณุโลก และแม่สอด ผ่านการจำลองสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละท่าอากาศยาน เช่น การโจมตีอาวุธในพื้นที่สนามบิน การยึดอากาศยานขณะทำการบิน อากาศยานประสบอุบัติเหตุภายในท่าอากาศยาน และการขู่วางระเบิดบนอากาศยานขณะจอดอยู่ในพื้นที่สนามบิน เป็นต้น ซึ่งในการฝึกซ้อมจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมบูรณาการการทำงานร่วมกัน เช่น หน่วยสนับสนุนด้านการดับเพลิง หน่วยกู้ชีพกู้ภัย หน่วยทางการแพทย์ หน่วยทางด้านพิสูจน์หลักฐาน หน่วยทหารและตำรวจ และหน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องภายในพื้นที่
อย่างไรก็ตามซึ่งที่ผ่านมา ท่าอากาศยานที่ได้ดำเนินการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วได้แก่ ท่าอากาศยานเบตงฝึกซ้อมกรณีจับตัวประกันและเพลิงไหม้อากาศยาน ท่าอากาศยานอุบลราชธานีฝึกซ้อมเหตุอากาศยานประสบอุบัติเหตุในบริเวณท่าอากาศยาน ท่าอากาศยานอุดรธานีฝึกซ้อมกรณีจับตัวประกันและเกิดเพลิงไหม้อาคารที่พักผู้โดยสาร และท่าอากาศยานบุรีรัมย์ฝึกซ้อมกรณีการยึดอากาศยานและอากาศยานประสบอุบัติเหตุภายในบริเวณท่าอากาศยาน โดยการฝึกซ้อมเป็นไปตามแผน เจ้าหน้าที่สามารถเข้าแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ท่าอากาศยานในสังกัดได้มีการฝึกซ้อมย่อย สำหรับแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุภายในท่าอากาศยานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ ได้ทบทวนความรู้ ทักษะการทำงาน สามารถเตรียมพร้อมรองรับหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงฝึกความชำนาญเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงาน การวางแผน การควบคุมและสั่งการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตลอดจนทดสอบขีดความสามารถของอุปกรณ์เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย การดับเพลิงและกู้ภัย เครือข่ายการติดต่อสื่อสารและประสานงาน
อย่างไรก็ตามกรมท่าอากาศยานได้มุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการให้เป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สายการบิน ผู้โดยสาร และผู้ใช้บริการ โดยยึดหลักในการดูแลรักษาความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของทุกท่านเป็นสิ่งสำคัญ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทย. ย้ำโอนสามสนามบินให้ 'ทอท.'บริหาร ไม่ได้พ่วงโอนทรัพย์สิน
‘กรมท่าอากาศยาน’ยันมติ ครม. โอน3 สนามบิน’อุดรธานี บุรีรัมย์ กระบี่’ไม่ได้โอนทรัพย์สินรัฐให้ ทอท. ย้ำแค่มอบให้บริหารจัดการ 3 สนามบิน ลุยศึกษาสร้างสนามบินใหม่เรองรับการเดินทาง-ขนส่งทางอากาศของประเทศในอนาคต
ประยุทธ์ เป็นประธานในพิธีเปิดเที่ยวบินพาณิชย์ปฐมฤกษ์ ท่าอากาศยานเบตง เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งในพื้นที่จังหวัดยะลา กระตุ้นเศรษฐกิจและความมั่นคง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
กระทรวงคมนาคม โดยกรมท่าอากาศยาน (ทย.) พร้อมเปิดให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์ปฐมฤกษ์ ท่าอากาศยานเบตง จังหวัดยะลา ตามนโยบายของ