โฆษกรัฐบาลย้ำประกาศเรื่องการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ จะมีผลใช้บังคับ 1 พ.ย. 66 เป็นต้นไป
2 ก.ค. 2566 – นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ซึ่งประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป เว้นแต่ในส่วนหน้าที่ของผู้ก่อกำเนิด (WG) ตามข้อ 13 และหน้าที่ของผู้รับดำเนินการ (WP) ตามข้อ 22 ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ซึ่งการปรับปรุงกฎหมายฉบับดังกล่าว กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้นำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายหรือเป็นผู้รับผิดชอบ (Polluter Pays Principle: PPP) มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ โดยกำหนดความรับผิดตั้งแต่ต้นทางโรงงานผู้ก่อกำเนิด ไปจนกว่าสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจะได้รับการจัดการจนแล้วเสร็จ ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดให้โรงงานผู้ก่อกำเนิดของเสียทุกโรงงาน ต้องรายงานข้อมูลผ่านระบบการรายงานข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ iSingle Form (https://isingleform.go.th/home) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแลการประกอบกิจการโรงงาน การป้องกันและปราบปรามการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและสิ่งแวดล้อม
“จากข้อมูลกระทรวงอุตสาหกรรมระบุ ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานผู้ก่อกำเนิดของเสียจำนวน 60,638 โรงงานทั่วประเทศ โดยมีโรงงานที่ยังไม่ได้รายงานข้อมูลกว่า 27,000 แห่ง ดังนั้นรัฐบาล โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จึงขอให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ ได้เร่งประสาน ติดตาม และเน้นย้ำให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานรายงานข้อมูลการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว ผ่านระบบข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ iSingle Form (https://isingleform.go.th/home) ภายในกรอบระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครั้งนี้ สอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการะทรวงกลาโหม ที่ให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการพัฒนาและการสร้างความเจริญเติบโตที่ต้องดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งการปกป้อง รักษา ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาระบบจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงการแก้ไขการจัดการขยะและของเสียอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาโรงงานกําจัดขยะและของเสียอันตรายที่ได้มาตรฐาน ซึ่งการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้กฎหมายในการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด และต้องมีการจัดการอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันไม่ให้ของเสียจากภาคอุตสาหกรรมหลุดออกจากระบบ อาจส่งผลกระทบกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'แพทองธาร' ขนคณะลงพื้นที่ภูเก็ตตัดริบบิ้นเปิดงานพิธีแสดงเรือนานาชาติ!
'นายกฯ' ลงพื้นที่ภูเก็ตพรุ่งนี้ ขอแก้ไขปัญหาให้ครบทุกวงจร เพิ่มศักยภาพทุกมิติทั้งท่องเที่ยว ยกเป็นต้นแบบทำให้ได้ทุกจังหวัด
'แพทองธาร' พร้อมสุภาพบุรุษหมายเลข 1 ทำบุญตักบาตรทำเนียบฯ 2 ม.ค.นี้
นายกฯ เป็นประธานทำบุญตักบาตร เทศกาลปีใหม่ที่ทำเนียบรัฐบาลเช้าวันพรุ่งนี้
นายกอิ๊งค์ควง 2 รมต.หญิงลง 'ขอนแก่น-มหาสารคาม' ติดตามแก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง-ตัดริบบิ้นเปิดงาน
นายกฯ เร่งสปีดนโยบายรัฐบาล ลงขอนแก่น-มหาสารคาม 20 ธ.ค. แก้ไขน้ำท่วม-น้ำแล้ง พร้อมติดตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน พร้อมตัดริบบิ้นเปิดงานซอฟพาวเวอร์ของไทย
ครม.เคาะแพ็กเกจใหญ่ช่วยเหลือ 'ลูกหนี้รายย่อย-เอสเอ็มอี'
ครม. อนุมัติชุดใหญ่! จัดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ผู้ประกอบการ SMEs มั่นใจเศรษฐกิจไทยฟื้นแน่
นายกฯ อิ๊งค์ลั่นกลาง ครม.พร้อมลงภาคใต้แต่ไม่รู้เมื่อไหร่!
นายกฯ แจ้งที่ประชุม ครม. พร้อมลงภาคใต้ ขอ ศปช.ส่วนหน้าสรุปแผนแก้ไขน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ ทั้งระยะสั้น-ระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก
รัฐบาลตีปี๊บแถลงผลงาน 90 วัน 12 ธ.ค. มั่นใจประเทศไทยไปได้สวย
รัฐบาลแถลงผลงาน 90 วัน “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง“ พฤหัสนี้ มั่นใจประเทศไทยไปได้สวย หลังพบทุกมิติของประเทศคึกคัก คาดจีดีพีปีหน้าเติบโตสู้ประเทศในอาเซียนได้แน่