ไทยออยล์เข้าถือหุ้นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์รายใหญ่ในอินโดฯ ลุยสู่ธุรกิจโอเลฟินส์

7 ธ.ค. 2564 – นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าที่ผ่านมา ไทยออยล์มุ่งเน้นดำเนินธุรกิจเพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ที่เราวางไว้โดยอาศัยรากฐานที่มั่นคงจากธุรกิจหลัก โดย บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าที่เป็นพลังงานทดแทน เพื่อสนับสนุนทิศทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ greenhouse gas (GHG) และเพิ่มธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ดียิ่งขึ้น

โดยล่าสุดบริษัทฯ ได้เข้าลงทุนเข้าถือหุ้น 15.38% ในบริษัท PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (CAP) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ครบวงจรชั้นนำรายใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นก้าวแรกในการขยายธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินส์และขยายความร่วมมือกับพันธมิตรใหม่ทางธุรกิจ อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้แสวงหาโอกาสในการลงทุนธุรกิจที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่(นิว เอส-เคิร์ฟ) อย่างต่อเนื่อง ผ่านการลงทุนหลากหลายรูปแบบ เช่น การลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ ผ่าน Corporate Venture Capital (CVC) หรือการลงทุนผ่านการร่วมลงทุน (JV) และ ควบรวมกิจการ (M&A)

“เราต้องขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน (3V) คือ 1.Value Maximization การต่อยอดห่วงโซ่คุณค่าจากธุรกิจโรงกลั่นสู่ธุรกิจปิโตรเคมี 2. Value Enhancement การขยายตลาด ขยายกำลังการผลิต และขยายผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดต่างประเทศในระดับภูมิภาค เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น และ 3.Value Diversification การขยายสู่ธุรกิจอื่น ซึ่งจะช่วยต่อยอดกำไรให้มีเสถียรภาพ พร้อมขยายพอร์ตโฟลิโอและฐานกำไรกว้างยิ่งขึ้น”นายวิรัตน์ กล่าว

อย่างไรก็ตามปัจจุบัน ไทยออยล์ นับเป็นโรงกลั่นที่มีขนาดกำลังการผลิตที่สูงที่สุดในประเทศ และมีส่วนแบ่งการผลิตน้ำมันสูงที่สุดประมาณ 29% ของการผลิตทั้งหมดของประเทศ บริษัทฯ มีกลยุทธ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่รองรับความผันผวนและการเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานของโลก ด้วยการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันจากธุรกิจหลักและกระจายการลงทุนไปยังธุรกิจที่มีความผันผวนน้อยกว่า เพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีความยืดหยุ่นและผลตอบแทนที่ดี โดยตั้งเป้าว่าใน 10 ปีข้างหน้า ไทยออยล์จะเป็นบริษัทที่มีสัดส่วนของกำไรมาจากธุรกิจโรงกลั่น 40% ธุรกิจปิโตรเคมี 40% ธุรกิจไฟฟ้า 10% และธุรกิจใหม่อื่น ๆ ที่เป็นนิว เอส-เคิร์ฟ อีก 10%

“จะเห็นได้ว่า ไทยออยล์ ได้ดำเนินการขยายธุรกิจห่วงโซ่คุณค่าจากธุรกิจปิโตรเลียมไปยังธุรกิจปิโตรเคมี ทั้งสายอะโรเมติกส์และโอเลฟินส์ รวมถึงผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (HVP) โดยเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและตลาด ทั้งในประเทศและภูมิภาคเอเชีย ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ”นายวิรัตน์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยออยล์เผยกลยุทธ์ธุรกิจปี 2568 และเร่งบริหารจัดการโครงการ CFP

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (“ไทยออยล์”) เผยกลยุทธ์ธุรกิจปี 2568 มุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน แม้ภาพรวมอุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมีในปีหน้ายังคงมีความท้าทายทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

CEO ไทยออยล์ คว้ารางวัล CEO of the Year 2024 in Transformation Excellence

เมื่อเร็วๆ นี้ คุณบัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัล Bangkok Post CEO of the Year 2024

“ไทยออยล์” ส่งมอบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ให้กับ รพ.สต.- รร. ต.ช.ด. 5 แห่ง ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ไทยออยล์ ขับเคลื่อนโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า ให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บริษัทผู้รับเหมาช่วงแถลงข่าวเรียกร้องค่าตอบแทนค้างจ่ายจาก UJV - Samsung E&A (Thailand) Co., Ltd. (“Samsung”), Petrofac South East Asia Pte. Ltd. (“Petrofac”) และ Saipem Singapore Pte. Ltd. (“Saipem”)

จากกรณีที่บริษัทผู้รับเหมาช่วงของกิจการร่วมค้าระหว่าง - Samsung E&A (Thailand) Co., Ltd. (“Samsung”), Petrofac South East Asia Pte. Ltd. (“Petrofac”) และ Saipem Singapore Pte. Ltd. (“Saipem”) (เรียกรวมกันว่า “UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem”) ซึ่งเป็นผู้รับเหมาหลักในการก่อสร้างโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project: CFP) ให้กับ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (“ไทยออยล์”) จำนวน 16 บริษัท ใ