'ดนุชา' มั่นใจปี 66 เศรษฐกิจไทยไปได้ แต่ห่วงหนี้ครัวเรือนตัวฉุด

‘ดนุชา’ มั่นใจปี 66 เศรษฐกิจไทยไปได้ แต่ห่วงหนี้ครัวเรือน เร่งปรับโครงสร้างดึงอุตสาหกรรมชั้นสูงลงทุน ด้าน กกร. รับโลกอยู่ในช่วงถดถอย เผยปัจจัยท้าทายที่ต้องเร่งแก้

22 มิ.ย. 2566 – นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยภายในงานสัมมนา “Thailand : Take off” ผ่านการกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “อนาคตเศรษฐกิจไทย” ว่าในปี 2566 ยังคงยืนยันว่าประเทศไทย ยังคงเดินหน้าและยังฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เศรษฐกิจภายใน ปัญหาอยู่ที่เรื่องของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และเศรษฐกิจโลก ราคาพลังงานที่เคยสูงในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะก๊าซ LNG ที่เคยขึ้นไปถึง 48 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ตอนนี้เหลือประมาณ 8-9 หรือ 11 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ซึ่งก็ลดลงเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นพวกค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ โดยเฉพาะค่าไฟในช่วงถัดไปก็มีแนวโน้มลดลงอยู่แล้ว โดยธรรมชาติจากราคาพลังงานที่มันลดลง และเศรษฐกิจภายในเองก็ยังโตได้

“เรื่องของตัวหนี้ครัวเรือนที่อาจจะเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญกันมากๆ หน่อย เพราะว่าตัวนี้มันจะเป็นตัวฉุดรั้งเรื่องของการใช้จ่าย ความสามารถในการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน และด้วยขนาดนี้เองสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังก็คือตัวสินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ของภาคสินเชื่อรถยนต์ ที่คงต้องมานั่งดูกันในรายละเอียด และเฝ้าระวังกันอย่างจริงจัง เพราะว่าตัวนี้มันขยับขึ้นมาเรื่อยๆ ควอเตอร์ละประมาณ 0.2-0.3% ขยับขึ้นมาโดยที่ยังไม่ลดลง ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิต ซึ่งยังคงขยายตัวได้อยู่ ก็ยังเป็นหนึ่งในปัจจัยก่อหนี้ซึ่งต้องสร้างความเข้าใจเรื่องการใช้จ่ายร่วมกัน “นายดนุชา กล่าว

นายดนุชา กล่าวว่าเรื่องเศรษฐกิจภายในยังคงเดินได้ แต่ข้างนอกในการที่จะเดินหน้าจะเดินหน้าอย่างไร ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึง กระแสเรื่องของสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของไฟที่มาจากพลังงานหมุนเวียน ที่จะซัพพลายกับภาคการผลิตจะต้องเร่งเตรียมการ ซึ่งประเทศไทยยังมีโอกาส โดยในช่วงถัดไปถ้าไทยมีนโยบายการต่างประเทศที่เป็นกลาง ที่สามารถจะทำให้ทุกคนเชื่อมั่นได้ว่าไทยเป็นเซฟโซน ก็จะสามารถดึงเอาอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เป็นเทคโนโลยีสูง ๆ โดยเฉพาะพวกชิปต่างๆ เข้ามาในประเทศมากขึ้น โอกาสแบบนี้ไม่ได้มีมาบ่อย ๆ เพราะฉะนั้นตอนนี้เป็นช่วงสำคัญที่จะใช้ในการปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภาคที่สำคัญ และเกี่ยวพันกับการส่งออก

“อุตสาหกรรมดิจิทัลเราก็ดึงเอาดาต้าเซ็นเตอร์ เอาคลาวด์เซอร์วิสเข้ามา อิเล็กทรอนิกส์ก็พยายามดึงเข้ามาอยู่ตอนนี้ และมีการพูดคุยกันอยู่ เรื่องของการแพทย์สุขภาพ เราใช้รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ของเราที่มีกำลังในการลงทุนเป็นตัวดึงเอาอุตสาหกรรมที่เป็นเรื่องของ pharmaceutical (เภสัชกรรม) เข้ามา รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ที่พยายามดึงเข้ามาในไทย”นายดนุชา กล่าว

ด้านนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และในฐานะประธานร่วมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าวในหัวข้อ “อุตสาหกรรมไทย ติดปีก โกอินเตอร์” ว่าความท้ายทายของการผลิตของโลก ตอนนี้โลกเผชิญกับเรื่องสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน และที่สำคัญจะมีการย้านฐานการผลิตที่เป็นการย้ายไปในประเทศพันธมิตร หรือการแยกขั้วกันชัดเจน ซึ่งในสมัยก่อนเป็นการย้ายกลับไปที่ประเทศ โดยนำชิป หรือเซมิคอนดักเตอร์ ที่สำคัญกลับไปที่สหรัฐฯ แต่เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมตรีของประเทศอิสราเอล ได้ประกาศใหญ่ว่าบริษัท อินเทล จะลงทุน 2.5 หมื่นล้านเรียญสหรัฐ ซึ่งจะเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดเพราะมั่นใจระบบรักษาความปลอดภัย และการพัฒนาร่วมกัน เนื่องจากเอ็นจีเนียร์ที่มีจำนวนมาก สามารถรองรับการผลิตได้ ที่สำคัญเป็นการกระจ่ายความเสี่ยง ทำให้ซัพพลายซิเคียวลิตี้เกิดขึ้นทั่วโลก

ทั้งนี้ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกกำลังอยู่ในช่วงถดถอยทางเศรษฐกิจ เรื่องดิจจิทัลทรานฟอร์มเมชั่น ทุกอุตสาหกรรมต้องไปสู่ 4.0 เรื่องของเทคโนโลยี และเรื่องของสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ (เทรดวอร์) และเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ต้องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นหัวใจ เป็นหัวข้อสำคัญ และเป็นกติกาสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ที่จะมาตั้งกฎกติกาในการเก็บภาษีกับทุกอุตสาหกรรมที่ปล่อยคาร์บอนเยอะ อาทิ ซีแบม ที่อียู 27 ประเทศ บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566 เป็นต้นไป ใน 7 อุตสาหกรรมนำร่อง ซึ่งตอนนี้ สมาชิกของ ส.อ.ท.เริ่มตื่นตัว และหาทางที่จะลดการปล่อยคาร์บอนลงว่าควรทำอย่างไร แต่หลังจากนี้ 2 ปี ทุกอุตสาหกรรมโดนหมด ล่าสุดหลายประเทศเริ่มมีกฎในลักษณะแบบรี้แล้ว เช่นเดียวกับจีน ซึ่งหลังจากนี้เรื่องมาตรการการกีดกันทางการค้าจะมีสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นความเปราะบาง หรือจวดจะขาดแล้ว

อย่างไรก็ตาม ไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่ได้รับผลกระทบด้านการส่งออก แต่ไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์ และเวียดนาม ลดมากกว่าไทย สะท้อนให้เห็นว่ากำลังซื้อของทั่วโลกกำลังหดหาย จากการประเมิน 2 ปี ข้างหน้า และ 10 ปีข้างหน้าที่ทั่วทั้งโลกต้องเผชิญปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมจะเป็นคีร์หลัก ในการกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด ส่วนคู่แข่งของไทย เมื่อนำจีดีพีของแต่ละประเทศมาเทียบกันแล้ว จีดีพีไทยอยู่ที่อันดับ 2 รองจากอินโดนีเซีย เพราะมีประชากรมาถึง 270 ล้านคน ส่วนเรื่องการส่งออกการและลงทุนของเราในปี 2565 เหลือเพียง 1.16 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่ที่มาแรงในปีที่แล้วคืออินโดนีเซีย มีมูลค่าการส่งออก 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

“แต่สิ่งที่เราด้อยกว่าประเทศคู่แข่งคือเรื่องค่าไฟ ของไทย 4.70 บาทต่อหน่วย เวียดนามอยู่ที่ 2.75 บาทต่อหน่วย และอินโดนีเซีย 3.32 บาทต่อหน่วย ส่วนเรื่องข้อตกลงทางการค้า (เอฟทีเอ) ไทยมี 14 ฉบับ ครอบคลุม 19 ประเทศ เวียดนาม 16 ฉบับ 55 ประเทศ และอินโดนีเซีย 12 ฉบับ 18 ประเทศ ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมก็คล้านกันคือนิวเอสเคิร์ฟ”นายเกรียงไกร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สภาพัฒน์ เตรียมชงครม.อุ๊งอิ๊ง จัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงการเดินหน้า โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท โดยจะต้องดูว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร หากรัฐบาลดำเนินมาตรการนี้ต่อก็จะต้องดูว่ามีการปรับเปลี่ยนมากน้อยแค่ไหน จากเดิมที่มีข้อเสนอสำคัญไป 2 เรื่อง คือ แหล่งที่มาของเงิน จากงบประมาณปี 67 ที่มีการใช้จ่ายแล้ว และงบประมาณปี 68 ที่จะเข้ามาวันที่ 1 ตุลาคมนี้

'เลขาฯสภาพัฒน์' เผยพูดเรื่องลดอัตราดอกเบี้ยเพราะเห็นตัวเลข ไม่ใช่ถูกนายกฯกดดัน

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกล่าวถึงกรณีออกมาเรียกร้องให้ธนาค

‘สภาพัฒน์’ คาดจีดีพีปี 67 ขยายตัว 2.2-3.2%

“สภาพัฒน์”เผยจีดีพีปี 66 โต 1.9 คาดเศรษฐกิจปี 67 ขยายตัว 2.2-3.2% ขอ ธปท.ทบทวนปรับลดอัตราดอกเบี้ย จ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตเหลือ 5% หวังช่วยกระตุ้นกำลังจ่ายเอสเอ็มอีให้เกิดการชำระหนี้ควัวเรือนดีขึ้น ย้ำต้องใช้นโยบายการเงินเข้ามาดูแลเศรษฐกิจเพิ่มเติม

ครม.เห็นชอบงบ 552 ล้าน ให้จังหวัดอันดามัน หั่นออก 2 โครงการ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ หรือ ครม.สัญจร จ.ระนอง ว่า ที่ประชุมครม.สัญจร เห็นชอบข้อเสนอของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (จังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล) จำนวน 18 โครงการ วงเงินรวม 552 ล้านบาท โดยจะใช้งบประมาณปี 2566 ไปพลางก่อนนั้น