ผู้ผลิตกะทิแนะรัฐบาลไทยจ้างล็อบบี้ยิสต์ ชี้แจงทำความเข้าใจ PETA หลังยังไม่หยุดเผยแพร่ข้อมูลไทยใช้ลิงเก็บมะพร้าว หวั่นเสียตลาดกะทิให้คู่แข่ง เหตุจนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ อังกฤษ ยังแบนกะทิไทย ส่วนหลายประเทศในอียูลดการนำเข้า
14 มิ.ย. 2566 – ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์กะทิจากมะพร้าวของไทย ยังไม่สามารถเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ และอังกฤษได้ หลังจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา องค์กรพิทักษ์สัตว์ (PETA) ยังคงเผยแพร่ข้อมูลอุตสาหกรรมมะพร้าวและกะทิของไทย ยังบังคับใช้ลิงเก็บมะพร้าว ถือเป็นการทารุณกรรมสัตว์ และหนทางเดียวที่จะหยุดการบังคับใช้แรงงานลิงได้ คือ การหยุดซื้อกะทิจากไทย จนส่งผลให้ทั้งห้างสรรพสินค้า ห้างซูเปอร์มาร์เก็ตในสหรัฐ และอังกฤษ นำผลิตภัณฑ์กะทิของไทยออกจากชั้นวาง พร้อมกับขึ้นข้อความเตือนผู้บริโภคว่า “อย่าซื้อกะทิจากไทย” และบางห้างถึงกับระบุแบรนด์สินค้ากะทิของไทยด้วยซ้ำ ส่งผลต่อเนื่องให้ห้างซูเปอร์มาร์เก็ต และเครือข่ายหลายแห่งในอังกฤษ และหลายประเทศในยุโรป ยกเลิกนำเข้ากะทิไทยด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ล่าสุดยังพบว่าเว็บไซต์ peta.org.uk เผยแพร่ข่าวเมื่อเดือนมี.ค.2566 ระบุ HelloFresh บริษัทจัดจำหน่ายอาหารนานาชาติในอังกฤษ ยกเลิกขายกะทิจากไทย เช่นเดียวกับผู้จัดจำหน่ายอาหารรายใหญ่อื่น ๆ ของอังกฤษ และหลายประเทศในยุโรป
สำหรับการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา ทั้งรัฐบาลไทย ทูตพาณิชย์ของไทยในประเทศต่าง ๆ รวมถึงผู้ผลิตผลิตภัณฑ์กะทิของไทย ได้ร่วมมือกันชี้แจงทำความเข้าใจกับคู่ค้า ผู้นำเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ว่า ไทยไม่ได้ใช้ลิงเก็บมะพร้าวแล้ว เพราะปัจจุบัน ต้นมะพร้าวของไทยเป็นพันธุ์เตี้ย สามารถใช้เครื่องจักรเก็บได้ ที่สำคัญ การผลิตกะทิจำนวนมากในเชิงอุตสาหกรรม การใช้ลิงเก็บเป็นไปไม่ได้แน่นอน และยังทำคลิปเผยแพร่ขั้นตอนการผลิตกะทิของไทย และรัฐบาลได้ออกหนังสือรับรอง “Monkey Free Plus” ให้เอกชนแต่ละรายว่าไม่มีการทารุณกรรมสัตว์ในกระบวนการผลิต แต่ก็ยังไม่เป็นผลสำเร็จ โดยยังคงมีการเผยแพร่ข้อมูลไทยยังใช้ลิงเก็บมะพร้าวอยู่
ทั้งนี้ หากยังปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป ผู้ผลิตเกรงว่า ไทยอาจเสียตลาดกะทิให้กับคู่แข่งอย่างฟิลิปปินส์ และศรีลังกา จากปัจจุบันที่กะทิของไทยมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% ในตลาดโลก ดังนั้น ภาคเอกชนจึงต้องการให้ภาครัฐเร่งหารือกับ PETA หรือจ้างล็อบบี้ยิสต์ทำความเข้าใจ เพื่อให้เปิดรับข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูลตามที่ไทยชี้แจง เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจและหันกลับมาซื้อกะทิจากไทยเช่นเดิม
สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ระบุว่า ปี 2560-64 ไทยส่งออกสินค้ากะทิ เฉลี่ยปีละ 13,000 ล้านบาท แบ่งเป็นปี 2562 มูลค่า 12,764 ล้านบาท , ปี 2563 มูลค่า 13,286 ล้านบาท และปี 2564 มูลค่า 13,328 ล้านบาท ขณะที่ไทยสามารถผลิตผลิตภัณฑ์มะพร้าวได้ปีละประมาณ 788,000 ตัน จากโรงงานแปรรูป 15 โรง โดยจำนวนนี้ เป็นกะทิ 113,000 ตัน ซึ่งสัดส่วน 70% บริโภคภายในประเทศ และที่เหลือเป็นการส่งออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เอาแน่ 'คมนาคม' เร่งศึกษาค่าธรรมเนียมรถติด
“คมนาคม” เดินเครื่องศึกษามาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด เปิดโมเดล 4 ประเทศ “อังกฤษ-สิงคโปร์-สวีเดน-อิตาลี” พบช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดอย่างเป็นรูปธรรม ด้าน สนข. เร่งศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ ชี้ช่วยดึงดูดประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เชื่อมระบบฟีดเดอร์-ขนส่งหลัก หนุนนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
พาณิชย์ จับมือ ตำรวจภูธรภาค 8 สร้างเครือข่ายป้องปรามลานเทแยกลูกปาล์มร่วงผิดธรรมชาติ เพื่อรักษาคุณภาพผลปาล์ม ยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม
กระทรวงพาณิชย์ สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อรักษาคุณภาพผลปาล์มให้เกษตรกรขายได้ราคา โดยร่วมมือกับ ตำรวจภูธรภาค 8 ส่งเสริมการทำปาล์มคุณภาพ จัดอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เกี่ยวกับแนวทางการสืบสวนสอบสวนการกระทำความผิดตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่องมือ
ไทย-ตุรกี ชื่นมื่น รมช. สุชาติ จับมือ รมช. การค้าตุรกี ผลักดันเจรจา FTA ต่อ เพื่อสานสัมพันธ์การค้าการลงทุน
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตนได้พบหารือทวิภาคีกับนายมุสตาฟา ตุซคู (H.E. Mr. Mustafa Tuzcu) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าสาธารณรัฐตุรกี ในห้วงการเดินทางเยือนตุรกี เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการถาวรว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า
“รมช. สุชาติ” ร่วมเวทีครบรอบ 40 ปี COMCEC กระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับโลกมุสลิม มุ่งส่งเสริมการค้าผ่านระบบดิจิทัล
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมประชุม COMCEC ครั้งที่ 40 ณ นครอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกี เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้า มุ่งกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศมุสลิม