'จุรินทร์' ยันประกันรายได้ 4 ปี ไม่มีทุจริต ไม่มีเงินรั่วไหล

“จุรินทร์” ชี้ประกันรายได้ 4 ปี ไม่มีทุจริต ไม่มีเงินรั่วไหล เกษตรกรได้ประโยชน์เต็ม ๆ ช่วยดึงราคาสินค้าขึ้น ต่างจากโครงการจำนำสินค้าเกษตร ที่เกิดทุจริตมโหฬาร สร้างความเสียหายเกือบ 1 ล้านล้านบาท ทุกวันนี้ยังชดใช้ไม่จบ หวังรัฐบาลใหม่เอาต่อประกันรายได้

5 มิ.ย. 2566 – นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า โครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 ชนิด ทั้งข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และยางพารา ที่รัฐบาลนี้ดำเนินการมาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จด้วยดี เพราะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ราคาสินค้าเกษตรมีเสถียรภาพ และไม่มีการทุจริต เงินทุกบาททุกสตางค์ที่เป็นเงินชดเชยส่วนต่างให้กับเกษตรกรนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) โอนเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ไม่มีการรั่วไหล

“โครงการประกันรายได้ เป็นนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ ไม่ได้ผูกพันกับรัฐบาลต่อไป ขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดใหม่ว่าจะทำนโยบายนี้ต่อหรือไม่ แต่จากการสำรวจ พบว่า ช่วง 4 ปีที่ทำโครงการนี้ เกษตรกรพึงพอใจ ที่สำคัญไม่มีการทุจริต โดยต่อไป หากไม่มีโครงการประกันรายได้ และสินค้าเกษตรอยู่ในช่วงราคาดี ก็ไม่มีปัญหาอะไร เกษตรกรยังขายผลผลิตได้ราคาสูง แต่ถ้าราคาสินค้าเกษตรตกต่ำเมื่อไร มีปัญหาแน่ เพราะรายได้ของเกษตรกรจะลดลง และไม่มีการชดเชยส่วนต่างรายได้ให้เกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีรายได้ทางเดียวจากการขายสินค้าราคาต่ำ”

นายจุรินทร์กล่าวว่า รัฐบาลใหม่น่าจะมีมาตรการดูแลเกษตรกร ส่วนจะเป็นโครงการรับจำนำหรือไม่ ตนมองว่า ในภาพรวมการรับจำนำสินค้าเกษตร โดยให้เกษตรกรเอาสินค้ามาจำนำ และกระทรวงพาณิชย์ต้องเช่าโกดังเก็บรักษาไม่ให้เสื่อมสภาพ และเปิดประมูลขายแบบที่ต้องได้กำไร แต่ถ้าไม่ได้ตามนี้ และมีการทุจริต ถือเป็นปัญหามาก เหมือนอย่างรับจำนำข้าวเปลือกที่ผ่านมา ที่ประเทศเสียหายมากถึง 800,000-900,000 ล้านบาท จนถึงขณะนี้ยังชดใช้ไม่หมด ตนยังต้องลงนามในหนังสือสั่งการให้ชดใช้ความเสียหายอยู่จนถึงขณะนี้

“ช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ผมยังลงนามในหนังสือสั่งการให้ชดใช้ความเสียหายอยู่เลย ยังไม่จบสิ้น ที่พูดแบบไม่มีเจตนาวิจารณ์พรรคการเมือง แต่นักข่าวถามถึงนโยบายจำนำ ซึ่งต้องระมัดระวัง เพราะเรามีบทเรียนมาแล้ว เป็นภาระมากกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และข้าราชการทุกคนหายใจไม่ทั่วท้อง”นายจุรินทร์กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา หรือตั้งแต่ปี 2563-66 รัฐบาลใช้งบประมาณในโครงการประกันรายได้ และจ่ายส่วนต่างให้เกษตรกรไปแล้วกว่า 218,158 ล้านบาท น้อยกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ 298,679 ล้านบาท และช่วยเหลือให้ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่รวม 8.13 ล้านครัวเรือน โดยแยกเป็นโครงการประกันรายได้ข้าว จ่ายส่วนต่าง 161,631 ล้านบาท น้อยกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ 179,553 ล้านบาท , มันสำปะหลัง ใช้งบ 12,689 ล้านบาท น้อยกว่างบที่ตั้งไว้ 29,890 ล้านบาท , ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ใช้งบ 2,287 ล้านบาท ต่ำกว่างบที่ตั้งไว้ 6,083 ล้านบาท , ปาล์มน้ำมัน ใช้งบ 7,221 ล้านบาท ต่ำกว่างบที่ตั้งไว้ 28,773 ล้านบาท ส่วนยางพาราคา ขณะนี้โครงการปีสุดท้ายยังไม่สิ้นสุด แต่ล่าสุดถึงวันที่ 24 พ.ค.2566 ใช้งบรวมแล้ว 34,328 ล้านบาท

ทั้งนี้ ภาพรวมโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร ถือว่าประสบความสำเร็จ และใช้งบประมาณต่ำกว่าที่ตั้งไว้มาก โดยไทม์ไลน์ช่วงเริ่มปีแรก มีการจ่ายส่วนต่างประกันให้สินค้าเกษตรครบทั้ง 5 ชนิด แต่ต่อมาในปีที่ 2-4 ราคาสินค้าเกษตรดีขึ้นต่อเนื่อง ทำให้จ่ายเงินส่วนต่างลดลง เช่น ปาล์มน้ำมัน ราคาตลาดสูงกว่าราคาประกัน จนไม่ต้องจ่ายส่วนแม้แต่บาทเดียวติดกันถึง 3 ปี ขณะที่มันสำปะหลัง และข้าวโพด จ่ายส่วนต่างเพียง 2 ปีแรก หลังจากนั้นไม่ต้องจ่ายส่วนต่างราคาเลย เพราะราคาตลาดสูงกว่าราคาประกัน และปีล่าสุด ข้าวเปลือก ราคาสูงกว่ารายได้ที่ประกันเกือบทุกตัว , มันสำปะหลัง เฉลี่ย 3.35-3.80 บาท/กิโลกรัม (กก.) สู0งกว่าประกันรายได้ที่ 2.50 บาท/กก., ปาล์มน้ำมัน เฉลี่ย 5-5.50 บาท/กก. สูงกว่าประกันรายได้ที่ 4 บาท/กก. และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประมาณ 12 บาท/กก. สูงกว่าประกันรายได้ที่ 8.50 บาท/กก.

     

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สับปะรดห้วยมุ่น' ขึ้นทะเบียน GI ยกระดับตลาดสินค้าเกษตรไทย

“คารม“ เผย ญี่ปุ่นขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “สับปะรดห้วยมุ่น”  เป็นสินค้ารายการที่ 3 ต่อจาก กาแฟดอยช้าง และกาแฟดอยตุง ยกระดับตลาดสินค้าเกษตร

'สุชาติ' ยึดหลัก 'ฝ่าทุกวิกฤต ด้วยวิธีคิดนอกกรอบ' มอบแนวทางประสบความสำเร็จว่าที่ด๊อกเตอร์ม.นอร์ทกรุงเทพ

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้บรรยายในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ ”นวัตกรรมองค์การและการบริหารทรัพยากรบุคคล“

โฆษกรบ. โชว์สินค้าเกษตรของไทยขึ้นแท่นเบอร์ 1 อาเซียน

โฆษกรบ. เผย สินค้าเกษตรขึ้นแท่นที่ 1 อาเซียน ติดอันดับ 8 ของโลก หลัง 8 เดือน ส่งออกพุ่ง4.3แสนล้านบาท นายกฯสั่ง เร่งลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรค ดันติด Top5 โลกให้ได้ต้นปีหน้า

สศก. จับมือ กสก. และ อกม. จัดทำข้อมูลกรอบตัวอย่างสำหรับการสำรวจ พุ่งเป้า 77 จังหวัดทั่วประเทศ

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ในฐานะศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศการเกษต