‘ศุภวุฒิ’ หนุนนโยบายทลายทุนผูกขาด แต่แนะให้หาจุดสมดุลในการรีดภาษี เพราะกระทบการลงทุน ยันหากจะหาเงินทำรัฐสวัสดิการ การขึ้น VAT เป็นคำตอบที่ง่ายสุด
30 พ.ค. 2566 – นายศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย และ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) กล่าวใน งานเสวนา “ปัญหาเศรษฐกิจที่รอรัฐบาลใหม่” จัดโดย สถาบันคึกฤทธิ์ ว่า เห็นด้วยกับนโยบายทลายทุนผูกขาด เพราะตามหลักการทุนผูกขาดเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคไม่เป็นผลดีกับประเทศอยู่แล้วและมีประสิทธิภาพต่อเศรษฐกิจต่ำ เป็นการขายของราคาแพงแต่ได้ปริมาณของน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ทั้งนี้หากดูตัวเลขจะเห็นว่า บริษัทใหญ่ 5% ของประเทศ ทำรายได้ถึง 85% ของรายได้บริษัททั้งหมด ครองกำไร 60% ของภาคธุรกิจทั้งหมด ซึ่งหากมองภาพระยะยาวการทลายทุนผูกขาดจริงๆต้องมีการทำสัญญากับรัฐอย่างโปร่งใส และต้องสร้างการแข่งขันในตลาดโลกดันบริษัทไทยไปตลาดโลก ส่วนนโยบายที่ออกมาทำให้ตลาดหุ้นเขียวหรือไม่เขียวเป็นสิ่งที่ต้องแบ่งต้องแยก ส่วนการจะเก็บภาษีจากเงินทุนต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นภาษีจากการซื้อขายหุ้น ภาษีจากกำไรจากการขายหุ้น หรือ ภาษีความมั่งคั่ง เพราะการไปเก็บภาษีจากเงินทุนจะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำลง การตัดสินใจลงทุนก็จะลดลง เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนด้วยการลงทุนดังนั้นจึงต้องหาจุดที่พอดี
ส่วนการส่งเสริมเอสเอ็มอี ก็ต้องสร้างสภาพแวดล้อมในการเติบโตให้กับธุรกิจ ลดข้อจำกัดต่างๆทางด้านกฎระเบียบ และส่วนตัวว่าอยากให้ส่งเสริมเอสเอ็มอีไทยขึ้นไปเป็นสตาร์ตอัพในระดับยูนิคอร์น เปิดโอกาสและสร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่ต่อไปด้วย
สำหรับนโยบายด้านรัฐสวัสดิการถามว่าประเทศไทยควรเดินไปทางรัฐสวัสดิการหรือไม่ ซึ่งในเมื่อพรรคก้าวไกลได้เสียงส่วนใหญ่มาจากประชาชนที่มองว่าควรเดินไปทางนั้นก็ต้องไปทางนั้น แต่ในเชิงเศรษฐศาสตร์อาจจะมีเรื่องของขนาดที่เหมาะสมของภาครัฐว่าควรอยู่ตรงไหน ซึ่งมีงานวิจัยอยู่เยอะมากส่วนใหญ่จะบอกว่าขนาดของภาครัฐไม่ควรเกิน 20 %ของจีดีพีจะดีที่สุด และก็ต้องดูแลเป็น Smart Government ที่มีการใช้ IT เข้ามาเกี่ยวข้อง
“การทำรัฐสวัสดิการต้องใช้การหางบประมาณ หากอยากเก็บภาษีให้ได้มาก ภาษีที่เก็บได้เป็นกอบเป็นกำมีวิธีหนึ่งที่อาจจะไม่ได้รับความนิยมนั้นคือการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ซึ่งความจริงภาษี VAT ของไทยอยู่ที่ 10 % แต่ก็มีการใช้อัตรา 7% มาตลอด และฐานภาษีที่ใหญ่คือ VAT การปรับขึ้น VAT สัก 1 % จะทำให้รัฐเก็บภาษีได้ 60,000 – 80,000 ล้านบาท หรืออาจจะมากกว่านั้น ซึ่งหากเทียบกับนโยบายเก็บภาษีประเภทอื่นจะเห็นว่ามีอัตราการขึ้นที่มากกว่าการปรับ VAT เสียอีก แต่การขึ้นภาษีทุกประเภทจะถูกต่อต้านและมีต้นทุนตามมา”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นักเศรษฐศาสตร์' ชำแหละนโยบายเศรษฐกิจ 'เพื่อไทย' ล้มเหลว เละเทะ ไม่เป็นท่า
รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ นโยบายเศรษฐกิจของเพื่อไทยที่ล้มเหลว มีเนื้อหาดังนี้
ค้าน ‘VAT’15% ‘พิธา’ สอน ‘อิ๊งค์’ ต้องปฏิรูปภาษี
"พิธา" แนะรัฐบาลปฏิรูปภาษีทั้งระบบ ดีกว่าเจาะจงที่แวต ถามตัวเลข 15% มาจากไหนไม่เข้าใจ ด้านประธานหอการค้าขอนแก่นระบุการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มควรขึ้นไม่เกิน 10%
'พิธา' แนะรัฐบาลปฏิรูปภาษีทั้งระบบ มากกว่าปรับขึ้น VAT 15% สงสัยอยู่ดีๆก็โพล่งมา
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวรัฐบาลมีแนวคิดขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 15% ว่า ภาษีในประเทศ มีทั้งภาษีทางตรง
สส.ปชน. เหลืออด! ฉะรัฐบาลสิ้นคิด ขุนขลังพูดพล่อยๆ ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 15 %
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทรราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯรัฐมนตรี
ชำแหละ! ระบบภาษีไทย 4 ล้านคนจ่ายภาษีเงินได้เลี้ยง 60 ล้านคนที่เชื่อว่าตัวเองไม่ควรต้องจ่าย
เพจ สานต่อเจตนารมณ์ อาจารย์สมเกียรติ โอสถสภา โพสต์ข้อความถึงกรณีกระทรวงการคลัง โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีแนวคิดจะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 10 – 15% ว่า
เหน็บแรง! ยังไม่ได้เงินหมื่นรอบสองอย่าเพิ่งเสียใจ จะขึ้นVat - เก็บภาษีรายได้บุคคล 15 % ชดเชย
นายวิมล ไทรนิ่มนวล นักเขียนรางวัลซีไรต์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เงิน 10,000 บาท งวดที่ 2 นั้นแจกไม่ได้เพราะติดข้อกฎหมาย