รฟท. เล็งชงครม.เคาะกู้เงิน 1.8 หมื่นล้านบาทเสริมสภาพคล่อง

การรถไฟฯ เตรียมชง ครม.อนุมัติกู้เงินเสริมสภาพคล่อง 1.8 หมื่นล้านบาท หนุนดำเนินกิจการปีงบประมาณ 2567 หลังประมาณการณ์รายรับรายจ่ายจ่อติดลบ เหตุยังมีภาระชำระดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายเงินกู้ครบกำหนด

25 พ.ค. 2566 – นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า จากการจัดทำประมาณการกระแสเงินสดประจำปี 2567 พบว่าผลการดำเนินงานในปีงบประมาณดังกล่าว ขาดกระแสเงินสดราว 18,000 ล้านบาท ส่งผลให้ ร.ฟ.ท.มีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน หรือทำมาเสริมสภาพคล่องการดำเนินกิจการ โดยขณะนี้ได้มีการเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) และได้รับการอนุมัติแล้ว

ขณะที่ขั้นตอนหลังจาหนี้ ร.ฟ.ท.จะต้องเสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมพิจารณาถึงความเหมาะสม เนื่องจากปัจจุบันอยู่ในช่วงรัฐบาลรักษาการ ดังนั้นต้องพิจารณาด้วยว่าจะสามารถเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติได้หรือไม่ ส่วนการจัดสรรวงเงินดังกล่าว จะเป็นอำนาจของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ในการพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งเงินกู้

สำหรับปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ยังมีภาระหนี้สะสมอยู่ที่ราว 2 แสนล้านบาท แต่ยอมรับว่าการดำเนินกิจการในข่วงที่ผ่านมาเนื่องจาก ร.ฟ.ท.มีภาระอัตราดอกเบี้ยจากเงินต้นที่กู้ยืมมาก่อนหน้านี้ ทำให้รายได้ที่ ร.ฟ.ท.บริหารกิจการมาแต่ละปี ต้องนำไปชดเชยดอกเบี้ยและภาระทางการเงินต่างๆ ส่งผลให้ภาพรวมการดำเนินงานของ ร.ฟ.ท.ยังคงมีกระแสเงินสดไม่เพียงพอต่อการดำเนินกิจการ

“ที่ผ่านมาการรถไฟฯ เราขออนุมัติจัดสรรเงินกู้เช่นนี้มาทุกปี ในวงเงินใกล้เคียงกับที่เสนอขอให้ปีงบประมาณ 2567 เพราะที่ผ่านมาเราต้องนำเงินไปชดเชยภาระทางการเงินที่มีหนี้สะสมอยู่ ทำให้ไม่เพียงพอต่อการดำเนินกิจการ ซึ่งขณะนี้การรถไฟฯ ยังอยู่ในช่วงฟื้นฟูกิจการ และมีความพยายามในการหารายได้เพิ่มอย่างต่อเนื่อง”นายนิรุฒ กล่าว

ทั้งนี้ จากข้อมูลประมาณการกระแสเงินสดในปี 2567 ของ ร.ฟ.ท.พบว่ามีการคาดการณ์รายรับรวม 10,661ล้านบาท โดยแบ่งเป็น รายได้จากการโดยสาร 2,957 ล้านบาท รายได้การขนส่งสินค้า 2,467 ล้านบาท รายได้จากการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง 327 ล้านบาท รายได้จากการบริหารทรัพย์สิน 3,736 ล้านบาท รายได้ค่าธรรมเนียมการดำเนินงาน ICD ลาดกระบัง 499 ล้านบาท รายได้ค่าเช่าตลาดนัดจตุจักร 169 ล้านบาท และรายได้จาการดำเนินงานอื่นๆ 503 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามขณะที่รายจ่ายครบกำหนดชำระ คือ การชำระดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายเงินกู้ 5,436 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายจากการดำเนินกิจการอีกราว 24,195 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายยบำรุงทางอาณัติสัญญาณ และสิ่งปลูกสร้าง 3,514 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรถไฟฟ้าสายสีแดง 1,111 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษารถจักร และล้อเลื่อน 3,824 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการเดินรถขนส่ง 9,342 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 1,005 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบำเหน็จบำนาญอีก 5,397 ล้านบาท ส่งผลให้การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 ติดลบอยู่ที่ 18,970 ล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ศิริกัญญา’ กระตุกรัฐบาลคิดให้ดี เข็น ’ดิจิทัลวอลเล็ต’ หากพลาด ปชช.จะไม่เชื่อมั่นอีก

‘ศิริกัญญา’ แนะ ‘รัฐบาล’ คิดให้ดีก่อน หากพลาด  ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ อีก อาจทำ ปชช.ไม่เชื่อมั่น ชี้ ควรออกพันธบัตรสู้ พร้อมกำหนดอายุใช้งาน กันหนี้ตกทอดไปชุดหน้า

รฟท.โชว์ขบวนรถไฟท่องเที่ยวสุดหรู “SRT ROYAL BLOSSOM”ปักหมุดเปิดบริการกลางปีนี้

ได้รับความสนใจไม่น้อย หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดวาร์ปรถไฟท่องเที่ยวขบวนใหม่ SRT ROYAL BLOSSOM ที่ดัดแปลงมาจากขบวนรถญี่ปุ่น Hamanasu

บอร์ด รฟท. ไฟเขียวรถไฟทางคู่เฟส 2 รวม 3 เส้นทาง 1.33 แสนล้าน

บอร์ด รฟท. ไฟเขียวรถไฟทางคู่เฟส 2 รวม 3 เส้นทาง 634 กม. 1.33 แสนล้าน ปากน้ำโพ-เด่นชัย, ชุมทางถนนจิระ-อุบลฯ, หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์‘ ชงคมนาคม ก.พ.นี้ ก่อนเสนอครม. ต่อไปเคาะ ยันรายงานอีไอเอผ่านฉลุย