'อาคม' เชื่อตั้งรัฐบาลใหม่ช้าไม่กระทบเศรษฐกิจ

“อาคม” เชื่อตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้าไม่กระทบเศรษฐกิจ ยันนักลงทุนมั่นใจเสถียรภาพการเงิน-การคลังประเทศ ชูเป้าลงทุนชัดเจน โยนเคาะงบประมาณปี 67 พร้อมจี้ทำนโยบายการคลังแบบมุ่งเป้า เน้นกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อน

22 พ.ค. 2566 – นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง เปิดเผยถึงกรณีจัดตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้า และจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้หรือไม่ ว่า ในเรื่องเศรษฐกิจก็เป็นเรื่องของมุมมองการประเมิน ไม่ว่าจะหน่วยงานของรัฐ เอกชน รวมทั้งหน่วยงานของต่างประเทศ ซึ่งเชื่อว่าจะพิจารณาจากความต่อเนื่องของนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างขีดความสามารถในอนาคต ซึ่งในส่วนของไทย ที่ผ่านมาการลงทุนก็มีความชัดเจนว่าจะลงทุนในเทคโนโลยีชั้นสูง จึงเป็นสิ่งที่ต่างชาติมอง

“มุมมองการขยายตัวเศรษฐกิจเป็นเรื่องของปัจจัยภายนอกมากกว่าที่จะเข้ามากระทบ ส่วนปัจจัยภายใน ในแง่การบริหารเศรษฐกิจ มีความเข้มแข็งอยู่แล้ว อัตราการเติบโตแม้ว่าตัวเลขจะไม่ได้สูงมากนัก แต่ในแง่เสถียรภาพ ทั้งด้านการคลัง และด้านการเงิน อยู่ในเกณฑ์ดี ต่างชาติมีความเชื่อมั่นเรื่องโครงสร้างเศรษฐกิจ และเสถียรภาพการคลังของประเทศ” นายอาคม กล่าว

ดังนั้น ทำให้มั่นใจว่าในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ตามที่คาดไว้ และอาจจะเร่งตัวขึ้นสวนกระแสเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะชะลอลง ซึ่งสะท้อนจากตัวเลขการส่งออกที่หดตัวในช่วงที่ผ่านมา ก็เป็นเรื่องต้องแก้ไขในบางหมวดสินค้า ที่ต้องเร่งส่งออกให้มากขึ้น ในส่วนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและการนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยเอสเอ็มอี (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ก็เข้ามาเชื่อมต่อ ถ้าขาดเงินในช่วงใด ก็พร้อมให้ความช่วยเหลือสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง

นายอาคม ยังกล่าวถึงการจัดทำงบประมาณปี 2567 ที่ล่าช้า ว่า คงต้องรอรัฐบาลใหม่เข้ามาดูงบประมาณ ซึ่งตามปฏิทินก็ต้องเริ่มมีการจัดทำแล้ว รัฐบาลใหม่ก็ต้องเข้ามาดูว่ามีส่วนไหนจะมีการปรับปรุงอย่างไร ส่วนมาตรการที่ดำเนินการไปแล้ว เช่น บัตรบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ก็มีการดำเนินการตามกฎหมาย รอบปี 2564-2565 มีการลงทะเบียน จ่ายเงินไปหมดแล้ว ถ้าจะมีการปรับเปลี่ยนก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลใหม่

ขณะที่การทำนโยบายรัฐสวัสดิการ ก็ยังมีความจำเป็น ควรทำนโยบายการคลังที่มุ่งเป้ากลุ่มที่มีความเดือดร้อน การให้ความช่วยเหลือแบบกว้างขวาง เหมือนในช่วงโควิด-19 ซึ่งตอนนี้ทุกอย่างก็คลี่คลายไปแล้ว ดังนั้น การใช้นโยบายการคลังก็ต้องมุ่งเป้า เป็นทิศทางเดียวกับต่างประเทศ ที่หลายประเทศใช้เงินโควิด-19ไปค่อนข้างเยอะก่อนหน้านี้ ส่วนมีความกังวลต่อนโยบายรัฐบาลชุดใหม่หรือไม่ ยังไม่รู้ ต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาก่อน ขณะที่ความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างประเทศ ก็เชื่อมั่นมาตลอด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นายกฯอิ๊งค์' เชื่อเศรษฐกิจไทยปีหน้ามีแนวโน้มดีขึ้น ตั้งเป้าจีดีพีโต 3%

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาทำงานที่มีนโยบายต่างๆสำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้ภาคธุรกิจและประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยในปี 2568 งบประมาณจะเพิ่มขึ้น และมีการขาดดุลการคลังที่ลดลง ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดี

Nvidia บริษัท AI ระดับโลก ไปลงทุนที่ 'เวียดนาม' แล้ว 'ไทยจะทำอย่างไร'

นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือ ดร.เอ้  รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ทำไม Nvidia บริษัท AI ระดับโลก ไปลงทุนที่ "เวียดนาม" แล้ว "ไทยจะทำอย่างไร" เมื่อ "เวียดนาม" ขึ้นแท่น "ผู้นำเศรษฐกิจอาเซียน"

หอมกลิ่นความเจริญ! 'ทักษิณ' ประกาศปั้น GDP ประเทศไทยให้ถึง 4-5 %

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี บรรยายพิเศษหัวข้อ อนาคตอีสาน โอกาสประเทศไทย ในงานสัมมนา ISAN NEXT : พลิกเศรษฐกิจไทย ฝ่าวิกฤตโลก ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับเครือมติชน

'สุดารัตน์' ถามนายกฯ เตรียมรับมือเศรษฐกิจปีหน้าหรือยัง ชี้แจกเงินหมื่นไม่ตอบโจทย์

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย กล่าวถึงเศรษฐกิจประเทศไทยภายใต้รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า ในปี 2568 เศรษฐกิจไทยมีปัญหาอยู่แล้ว คือหนี้ภาคครัวเรือนที่มีสูงถึง 92%

‘อนุสรณ์’ วิเคราะห์ ‘ทรัมป์2.0’ ไทยต้องปรับยุทธศาสตร์ ศก. พึ่งพาตัวเองมากขึ้น

ทรัมป์ 2.0 ไทยต้องปรับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจหันพึ่งพาตัวเองมากขึ้น สินค้านอกข้อตกลงเอฟทีเอกระทบรุนแรง สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯรอบใหม่อาจนำไปสู่สงครามเย็นรอบใหม่ในไม่ช้า

เศรษฐกิจไทย ทำไมยังไม่ไปไหนเสียที

ก่อนหน้าที่ดิฉันจะเข้าทำงานที่องค์การสหประชาชาติเมื่อเกือบ 8 ปีก่อน ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยได้ชื่นชมประเทศไทยมากนัก เพราะรถติดมากแทบทุกวัน