ยกตัวเลข 'สศช.-ไอเอ็มเอฟ' ตอกย้ำ 'บิ๊กตู่' แก้ ศก.มาถูกทาง!'

'ทิพานัน' ยกรายงานสภาพัฒน์-ไอเอ็มเอฟ ชี้เศรษฐกิจไทยปี 2566 ขยายตัวดีขึ้น สะท้อนนโยบายและวิสัยทัศน์ 'พล.อ.ประยุทธ์' มาถูกทาง เป็นผู้นำพลิกฟื้นเศรษฐกิจประเทศ

18 พ.ค. 2566 - น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ระบุว่าเศรษฐกิจไทยหรือจีดีพีในช่วงไตรมาส 1/2566 ขยายตัวได้ 2.7% ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากการขยายตัว 1.4% ในไตรมาส 4/2565 โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวการขยายตัวในเกณฑ์ดี รวมทั้งการผลิตในภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นโดยเมื่อปรับฤดูกาลแล้วจีดีพีขยายตัวได้ 1.9% จากไตรมาสที่ผ่านมา ด้านการใช้จ่ายการส่งออกบริการและการอุปโภค-บริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูง การลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง

น.ส.ทิพานัน กล่าวอีกว่า สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.7-3.7% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภค-บริโภคภาคเอกชน และการขยายตัวต่อเนื่องของการลงทุนโดยคาดว่าการอุปโภค-บริโภคภาคเอกชนจะขยายตัว3.7% การลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐขยายตัว 1.9% และ 2.7% ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐลดลง 1.6% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.5-3.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.4% ของจีดีพี ทั้งนี้สอดคล้องกับรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ที่ประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ว่าจะขยายตัวได้ 3.7% จาก 2.8% ในปี 2565 ซึ่งปัจจัยมาจากความชัดเจนของนโยบายรัฐบาล เช่น มาตรการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ การนำร่องภูเก็ตแซนด์บ็อก จนสามารถเปิดประเทศได้เต็มที่ มาตรการดึงดูดนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญกลุ่มศักยภาพสูง การเปิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ๆ

“ตัวเลขจากสภาพัฒน์และไอเอ็มเอฟ สะท้อนถึงผลงาน จากนโยบายที่เดินมาถูกทางและวิสัยทัศน์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้นำผู้พลิกฟื้นเศรษฐกิจประเทศ จากผลกระทบวิกฤติซ้อนวิกฤติทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19และสงครามในทวีปยุโรปได้อย่างเป็นรูปธรรม”น.ส.ทิพานันกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% เริ่ม 1 พ.ย.

ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

'สภาพัฒน์' สั่งจับตาหนี้เสีย แนะแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้

‘สภาพัฒน์’เผยหนี้เสียยังเพิ่มขึ้นมาที่ 2.99% เร่งแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้ แนะจับตาประเด็นการกู้เงินนอกระบบบนโซเชียลมีเดีย ส่วนอัตราว่างงานไตรมาส 2/67 อยู่ที่ 1.07% เพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังฟื้นตัวจากโควิด