![](https://storage-wp.thaipost.net/2023/05/GDP.jpg)
ประเดิมไตรมาสแรกของปี ภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนหนุนเศรษฐกิจไทยท่ามกลางการส่งออกที่ยังหดตัว ผลการจับขั้วรัฐบาลยังเป็นประเด็นที่ต้องจับตาประเดิมไตรมาสแรกปี 2023 เศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงกว่าตลาดคาดการณ์
16 พ.ค.2566 – เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวต่อเนื่อง 2.7% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน สูงกว่าตลาดคาด (ผลสำรวจจาก Reuters) ที่ 2.3% และหากเทียบไตรมาสก่อนหน้า เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกขยายตัวได้ 1.9% หลังปรับปัจจัยฤดูกาล (QOQ_sa) เทียบกับที่หดตัว -1.1% QOQ_sa ในไตรมาสก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง สอดคล้องกับภาคการท่องเที่ยวและบริการที่ฟื้นตัวดีหลังการเปิดประเทศของจีนขณะที่การส่งออกสินค้าและการอุปโภคบริโภคภาครัฐเป็นปัจจัยสำคัญฉุดเศรษฐกิจในไตรมาส 1
หากพิจารณากิจกรรมเศรษฐกิจด้านภาคการผลิต (Production approach) หลายภาคเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง นำโดยภาคบริการที่ขยายตัวสูง จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยแล้วกว่า 6.5 ล้านคนในไตรมาสแรกของปีนี้ กอปรกับภาคเกษตรที่ขยายตัวเร่งขึ้นตามสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก อย่างไรก็ดี ภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัวต่อเนื่องตามการหดตัวของการผลิตเพื่อส่งออก
SCB EIC มองเศรษฐกิจไทยกลับไปเท่า Pre-COVID ได้ช่วงกลางปีนี้ และมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากแรงส่งภาคการท่องเที่ยว
SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีตามการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนและอาเซียน อีกทั้ง การท่องเที่ยวในประเทศเติบโตตามความต้องการท่องเที่ยวที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ภาคบริการในภาพรวมโดยเฉพาะบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และการขนส่ง ปรับตัวดีขึ้น อีกทั้ง การบริโภคภาคเอกชนยังมีแนวโน้มขยายตัวดี โดยเฉพาะไตรมาส 2 ที่มีเม็ดเงินหาเสียงช่วงเลือกตั้งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยเข้าใกล้ระดับก่อนเกิดวิกฤติโควิดและคาดจะกลับสู่ระดับก่อนการระบาดได้ในช่วงกลางปีนี้ อย่างไรก็ดี แม้การส่งออกยังน่าห่วงและมีแนวโน้มหดตัวในครึ่งแรกของปีตามทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ยังไม่สดใสและปัจจัยฐานสูง จนอาจกดดันการลงทุนและการผลิตเพื่อส่งออกได้ แต่การส่งออกมีแนวโน้มทยอยปรับดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีจากอานิสงส์การฟื้นตัวของอุปสงค์ในจีนหลังเปิดประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่จะผ่านจุดต่ำสุดแล้ว
ยังคงต้องจับตาผลการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ต่อเศรษฐกิจ
ผลการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านรัฐบาลเป็นปัจจัยที่ต้องจับตา ซึ่งจะส่งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป โดยในกรณีฐาน SCB EIC มองการเลือกตั้งและการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลจะส่งผลกระทบไม่มากต่อ
เศรษฐกิจไทยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี เนื่องจาก พ.ร.บ. งบประมาณประจำปีงบประมาณ 2023 ได้ครอบคลุมการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐจนถึงสิ้นไตรมาส 3 ของปี 2023 แล้ว หน่วยงานภาครัฐจึงสามารถดำเนินการตามนโยบายและ
โครงการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้แล้วได้เป็นปกติ อีกทั้ง ยังมีการเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณและนำเรื่องเข้ากระบวนการพิจารณาก่อนการยุบสภา อย่างไรก็ดี SCB EIC คาดว่าจะเริ่มเห็นผลกระทบด้านลบชัดเจนขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2023 จากความ
ไม่แน่นอนของระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติ พ.ร.บ. งบประมาณประจำปีงบประมาณ 2024 ส่งผลให้มีเม็ดเงินสนับสนุนเศรษฐกิจจากภาครัฐเพิ่มเติมได้ไม่มากนัก อีกทั้งคาดว่านโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลใหม่จะมีผลกระทบสู่เศรษฐกิจตั้งแต่ปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นายกฯอิ๊งค์' เชื่อเศรษฐกิจไทยปีหน้ามีแนวโน้มดีขึ้น ตั้งเป้าจีดีพีโต 3%
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาทำงานที่มีนโยบายต่างๆสำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้ภาคธุรกิจและประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยในปี 2568 งบประมาณจะเพิ่มขึ้น และมีการขาดดุลการคลังที่ลดลง ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดี
Nvidia บริษัท AI ระดับโลก ไปลงทุนที่ 'เวียดนาม' แล้ว 'ไทยจะทำอย่างไร'
นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือ ดร.เอ้ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ทำไม Nvidia บริษัท AI ระดับโลก ไปลงทุนที่ "เวียดนาม" แล้ว "ไทยจะทำอย่างไร" เมื่อ "เวียดนาม" ขึ้นแท่น "ผู้นำเศรษฐกิจอาเซียน"
หอมกลิ่นความเจริญ! 'ทักษิณ' ประกาศปั้น GDP ประเทศไทยให้ถึง 4-5 %
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี บรรยายพิเศษหัวข้อ อนาคตอีสาน โอกาสประเทศไทย ในงานสัมมนา ISAN NEXT : พลิกเศรษฐกิจไทย ฝ่าวิกฤตโลก ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับเครือมติชน
'สุดารัตน์' ถามนายกฯ เตรียมรับมือเศรษฐกิจปีหน้าหรือยัง ชี้แจกเงินหมื่นไม่ตอบโจทย์
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย กล่าวถึงเศรษฐกิจประเทศไทยภายใต้รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า ในปี 2568 เศรษฐกิจไทยมีปัญหาอยู่แล้ว คือหนี้ภาคครัวเรือนที่มีสูงถึง 92%
‘อนุสรณ์’ วิเคราะห์ ‘ทรัมป์2.0’ ไทยต้องปรับยุทธศาสตร์ ศก. พึ่งพาตัวเองมากขึ้น
ทรัมป์ 2.0 ไทยต้องปรับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจหันพึ่งพาตัวเองมากขึ้น สินค้านอกข้อตกลงเอฟทีเอกระทบรุนแรง สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯรอบใหม่อาจนำไปสู่สงครามเย็นรอบใหม่ในไม่ช้า