“กรมราง” เตรียมพร้อมออกใบขับขี่ให้คนขับ “รถไฟ-รถไฟฟ้า-รถไฟไฮสปีด” ครั้งแรกของไทย ลุยศึกษาแนวทางในประเทศที่ก้าวหน้าระบบราง หวังกำกับดูแลให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล
15 พ.ค. 2566 – นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ขร. ได้ดำเนินโครงการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล (e-license R) ซึ่งเป็นโครงการที่จะดำเนินการออกใบอนุญาตผู้ประกอบกิจการขนส่งทางราง ใบอนุญาตพนักงานขับรถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง และผู้ประจำหน้าที่ ตลอดจนการจดทะเบียนรถขนส่งทางรางครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องตามร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ.
ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการดำเนินการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล ขร. จึงได้ศึกษารูปแบบการกำกับดูแลระบบรางของประเทศต่างๆ เพื่อนำมาเป็นองค์ความรู้ และเป็นแนวทางในการนำมาปรับใช้กับระบบขนส่งทางรางของไทย โดยได้นำคณะเจ้าหน้าที่ร่วมศึกษาระบบขนส่งทางรางของไต้หวัน พบว่า ไต้หวัน แบ่งประเภทหน่วยงานกำกับดูแลเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย
1.ระบบขนส่งทางรางระหว่างเมือง ซึ่งมีผู้ให้บริการ 2 ราย ประกอบด้วย รถไฟระหว่างเมือง (TRA) และรถไฟความเร็วสูง (THSR) ซึ่งมีการกำกับดูแลโดย Railway Bureau (กรมการขนส่งทางรางของไต้หวัน) โดยในไต้หวัน เจ้าหน้าที่ขับรถไฟ ต้องมีอายุขั้นต่ำ 18 ปี ผ่านการฝึกอบรมอย่างน้อย 2 ปี สำหรับรถไฟระหว่างเมือง และ 8 เดือน สำหรับรถไฟความเร็วสูง จากนั้นจึงเข้ารับการทดสอบข้อเขียน และภาคปฏิบัติจาก Railway Bureau เพื่อขอรับใบอนุญาต
ทั้งนี้เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ใบอนุญาตมีอายุ 6 ปี และทบทวนความรู้อย่างน้อย 1 ครั้งใน 3 ปี และต้องสอบใหม่หากใบอนุญาตหมดอายุมากกว่า 6 เดือน ในส่วนของการบำรุงรักษารถขนส่งทางราง ผู้ให้บริการเมื่อสั่งซื้อรถมาแล้ว จะมีการขออนุมัติแผนการบำรุงรักษาจาก Railway Bureau และ Railway Bureau จะมีการสุ่มตรวจสอบการบำรุงรักษารถอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ
นอกจากนี้ไต้หวันได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินรถ เช่น การติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับปริมาณของผู้โดยสารภายในขบวนรถ และแสดงข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเพิ่มขบวนรถเสริมในช่วงเวลาเร่งด่วน มีการใช้ระบบ AI เพื่อทำนายสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์ภายในขบวนรถ อุปกรณ์ภายในสถานี ฯลฯ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการซ่อมบำรุง ส่งผลให้รถไฟมีความตรงเวลาสูงถึง 99.99% และมีความพึงพอใจของผู้ใช้บริการมากกว่า 95%
ทั้งนี้ โครงการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล (e-license R) จะทำการศึกษาแนวทางการกำกับดูแลในต่างประเทศที่มีความก้าวหน้าในระบบราง และระบบกำกับดูแล เพื่อนำมาประกอบการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้ปลอดภัย สะดวก รวดเร็ว ตรงเวลา เทียบเท่ามาตรฐานของสากล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดีเดย์ 28 ก.ค.นี้ เปิดเดินรถไฟผ่านอุโมงค์ผาเสด็จ อุโมงค์ที่ยาวสุดในไทย
พร้อมแล้ว 28 ก.ค. นี้ เปิดใช้รถไฟทางคู่ สายอีสาน ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร และช่วงบันไดม้า-คลองขนานจิตร วิ่งลอดผ่านอุโมงค์ผาเสด็จ และอุโมงค์หินลับอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศ มั่นใจสะดวก และปลอดภัย
ขร. เล็งดึงสายสีเหลือง-ชมพู เข้านโยบาย 20 บาทตลอดสาย
“กรมรางฯ” แย้มข่าวดี จ่อประกาศเก็บค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายเพิ่ม 2 เส้นทาง “สีเหลือง-ชมพู” ภายในปี 67 คาดได้ข้อสรุปภายใน ม.ค.นี้ เผยผู้โดยสารยังน้อย ส่งผลให้รัฐชดเชยการสูญเสียรายได้ให้เอกชนไม่มากนัก ส่วนยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง-ม่วง ช่วง ต.ค. 66 – ปัจจุบัน เพิ่มขึ้น 25% หลังได้รับอานิสงค์จากมาตรการ 20 บาทตลอดสาย เล็งเสนอ “คมนาคม” ชง ครม. ขยายอายุมาตรการต่อไป
'กรมราง' ผุดโมเดลเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าเริ่มต้น 20 บาท
“กรมราง” กางแผนโมเดลกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าใหม่ เล็งเสนอเก็บตามพื้นที่ สตาร์ทราคา 20 บาท คาดศึกษาแล้วเสร็จ ก.พ.67
ขร.เด้งรับนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท เปิดผลการศึกษาพร้อมจำนวนเงินอุดหนุน
“กรมรางฯ” เปิดแผนค่าโดยสารรถไฟฟ้า “20 บาทตลอดสาย” สนองนโยบายรัฐบาลใหม่ จ่อชงเคาะไฟเขียว จ่อประเดิม “ผู้ถือบัตรสวัสดิการรัฐ” คาดมีผู้ใช้บริการวันละ 3.4 หมื่นคน รัฐอุดหนุน 307 ล้าน/ปี ชี้ “ระบบ-อุปกรณ์-งบ” พร้อมดำเนินการได้ทันที
หยุดยาว 2 วันแห่ผู้โดยสารใช้บริการขนส่งทางรางรวม 1.9 ล้านคน
‘กรมราง’ เปิดตัวเลขหยุดยาวฉัตรมงคล รวม 2 วัน ผู้โดยสารใช้บริการรถไฟ-รถไฟฟ้า 1.9 ล้านคน สูงกว่าคาด 2.5% สายใต้ผู้โดยสารใช้บริการสูงสุด
หยุดยาววันแรกคนแห่ใช้บริการระบบราง 6.72 แสนคน
‘กรมราง’เปิดตัวเลขผู้โดยสารหยุดยาววันแรกใช้บริการรถไฟ-รถไฟฟ้า 6.72 แสนคน เพิ่มขึ้นจากวันแรกของเทศกาลสงกรานต์ โดยรถไฟ เพิ่มขึ้นถึง 50% สายใต้แห่เดินทางมากสุด 2.39 หมื่นคน