กรมการค้าภายในเผยหมูเนื้อแดงลดต่อเนื่อง ราคาเฉลี่ยทั่วประเทศกิโลกรัมละ 140-145 บาท ไก่ปรับขึ้นเล็กน้อย ผักสดปรับขึ้น หลังเจออากาศร้อน แล้ง ทำผลผลิตลด ย้ำเข้าไปดูแลต้นทุนอาหารสัตว์ให้ผู้เลี้ยงสุกรแล้ว ยันราคาไม่ขึ้น พร้อมหนุนจัดการหมูเถื่อน คาดผักปลายเดือนดีขึ้น มะนาวปกติแน่ปลายเดือนนี้ แจ้งข่าวดี ปุ๋ยเคมี ยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ลงอีกแล้ว
12 พ.ค. 2566 – นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้สำรวจสถานการณ์ราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดประจำสัปดาห์ พบว่า หมูเนื้อแดง ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดราคาเฉลี่ยทั่วประเทศ 140-145 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ซึ่งถือเป็นผลดีต่อผู้บริโภค ที่ค่าครองชีพปรับตัวลดลง ส่วนไก่ปรับขึ้นเล็กน้อย ไก่น่องติดสะโพก 85-90 บาทต่อกก. ไก่เนื้ออก 75-85 บาท/กก. ไข่ไก่ เบอร์ 3 เฉลี่ยฟองละ 3.81 บาท ส่วนผักสด ปรับขึ้นบ้าง เพราะอากาศร้อนและแล้ง ทำให้ผลผลิตโตช้า แต่คาดว่าจะกลับเข้าสู่ปกติในเร็ว ๆ นี้
ส่วนสถานการณ์ต้นทุนอาหารสัตว์ปรับเพิ่มขึ้น และมีผลกระทบต่อต้นทุนการเลี้ยงสุกรมีชีวิต กรมฯ ได้หารือร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เพื่อติดตามสถานการณ์แล้ว และกำลังร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา โดยได้ยืนยันกับผู้เลี้ยงสุกรว่าราคาอาหารสัตว์จะไม่มีการปรับเพิ่มขึ้นราคา ซึ่งกรมฯ ได้ขอความร่วมมือกับผู้ผลิตไปแล้ว เพราะต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารสัตว์ราคาทรงตัว และบางรายการเริ่มปรับลดลง เช่น ถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาทรงตัว มันสำปะหลัง ราคาเพิ่มขึ้น แต่ภาพรวมถือว่าดีขึ้น
“กรมฯ เห็นใจผู้เลี้ยง เพราะต้นทุน ซึ่งขณะนี้กำลังเข้าไปช่วยดูแลในเรื่องต้นทุนอาหารสัตว์อยู่ สถานการณ์กำลังดีขึ้น และได้ขอความร่วมมือห้างค้าส่งค้าปลีก ให้จัดโปรโมชันลดราคาสินค้ากลุ่มอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพรายการอื่น ๆ แทนสินค้าหมูเนื้อแดง ที่ขณะนี้ ราคาถือว่าอยู่ในระดับปกติแล้ว รวมทั้งสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินหน้าสกัดหมูเถื่อน เพราะเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ราคาหมูเป็นลดลง”นายวัฒนศักย์กล่าว
นายกรนิจ โนนจุ้ย รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ได้ติดตามสถานการณ์ราคาผัก โดยทำงานใกล้ชิดกับตลาดกลาง พบว่า ผลผลิตบางรายการปรับลดลงบ้าง จากสภาพอากาศร้อนและแล้ง และพื้นที่เพาะปลูกบางแห่งเจอพายุฤดูร้อน ทำให้ผลผลิตผักออกสู่ตลาดน้อยลง และมีปัญหาเรื่องคุณภาพ แต่ขณะนี้ เริ่มมีฝนแล้ว และคาดว่าสถานการณ์ผักจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติช่วงปลายเดือนพ.ค.2566 เป็นต้นไป
สำหรับสถานการณ์ผักสำคัญ เช่น มะละกอ ราคาทรงตัว แต่ผลผลิตออกช้ากว่าปกติ ผักชี ซึ่งเป็นผักไม่ชอบร้อนจัด แล้งจัด ราคาสูงขึ้น แต่อีก 2 สัปดาห์จะดีขึ้น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ราคาทรงตัว ส่วนมะนาว ขณะนี้ราคาเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และคาดว่าผลผลิตจะเริ่มออกมากตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพ.ค.2566 เป็นต้นไป เพราะผลผลิตไม่ได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน เพราะติดลูกแล้ว ราคาก็น่าจะปรับลดลงต่อเนื่อง
ร.ต.จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ราคาปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นทุนการผลิตที่สำคัญของเกษตรกร ได้รับลดลงต่อเนื่อง โดยแม่ปุ๋ยราคาปรับลดลง 20-49% ได้แก่ แม่ปุ๋ยไนโตรเจน ยูเรีย 46-0-0 ราคาลดลง 49% แอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 ราคาลดลง 41% แม่ปุ๋ยฟอสเฟส (P) ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต 18-46-0 ราคาลดลง 20% และแม่ปุ๋ยโพแทส (K) โพแทสเซียมคลอไรด์ 0-0-60 ราคาลดลง 20% และมีสต็อกคงเหลือ ณ วันที่ 30 เม.ย.2566 อยู่ที่ 1.42 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 30% ส่วนยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น ยาฆ่าหญ้า ไกลโฟเซต ลด 19% ยาฆ่าแมลง อะบาเม็กติน ลด 14% ซึ่งกรมฯ ได้ขอให้ผู้ประกอบการปรับลดราคาให้สอดคล้องกับต้นทุนที่ลดลงแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อธิบดีแจงยิบตรวจ‘ข้าว’ สุทินโอดถูกดรามาด่าฟรี
อธิบดีกรมการค้าภายในออกโรง แจงยิบขั้นตอนตรวจข้าวเก่า 10 ปี
พณ.ปลื้ม'Mobile ธงฟ้าสู่ชุมชน' ลดค่าครองชีพปชช.ช่วยชาวสวน
พาณิชย์ลุย! Mobile ธงฟ้า จัดสินค้าราคาประหยัดสู่ชุมชน รวมไปถึงยังนำสินค้าเกษตร หอมแดง พริกสด มาจำหน่ายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนอย่างต่อเนื่อง
พาณิชย์ไฟเขียวขึ้นราคานมย้ำให้ปรับตามต้นทุนที่สูงขึ้น
กรมการค้าภายในไฟเขียวผู้ประกอบการปรับขึ้นราคานมและผลิตภัณฑ์ เฉพาะตามต้นทุนน้ำนมดิบที่สูงขึ้นเท่านั้น ส่วนต้นทุนอื่น ไม่พิจารณาให้ เหตุต้องดูแลผู้บริโภค ไม่ให้ได้รับผลกระทบมากเกินไป และผู้ผลิตอยู่ได้ เผยในการยื่นขอปรับราคา ต้องแนบหลักฐานการซื้อนมดิบ สัดส่วนการใช้ เพื่อประกอบการพิจารณา ย้ำจะให้ขึ้นไม่เท่ากัน โดยดูสัดส่วนการใช้นมดิบเป็นสำคัญ
‘ภูมิธรรม’ จับมือ 2 สมาคมปุ๋ย ลดราคาต่อเนื่องถึง มี.ค.67
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงประเด็นการดูแลราคาปุ๋ย พร้อมด้วยนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน
'พาณิชย์' ถกตั้งค่าหัวจ่ายน้ำมัน ป้องกันเติมน้ำมันแล้วปริมาณขาด
กรมการค้าภายในถกผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ตกลงร่วมกัน ตั้งค่าหัวจ่ายน้ำมันให้มากกว่า 0 ป้องกันเติมน้ำมันแล้วปริมาณขาด ก่อนเข้าไปตรวจซ้ำ ถ้าพบจ่ายขาดติดต่อกัน 2 ครั้ง แม้อยู่ในค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ก็จะสั่งหยุดใช้หัวจ่าย ต้องแก้ไข และตรวจรับรองใหม่ ส่วนการกำหนดค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1% รอคณะกรรมการชั่งตวงวัดเคาะ จะปรับเกณฑ์หรือไม่
กกร.ออกประกาศเลิกคุมราคาขายปลีกน้ำตาล
กกร.ยกเลิกประกาศฉบับเดิม คุมราคาขายหน้าโรงงานและราคาขายปลีกน้ำตาลทราย หลัง ครม. มีมติให้ปรับขึ้นราคากิโลกรัมละ 2 บาท ออกประกาศใหม่ คุมราคาแค่หน้าโรงงาน น้ำตาลทรายขาว กก.ละ 21 บาท น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กก.ละ 22 บาท ส่วนราคาขายปลีกไม่กำหนด แต่ผู้ค้าต้องขายให้สอดคล้องกับต้นทุน ในห้างกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไม่ควรเกิน กก.ละ 26-27 บาท พร้อมยกเลิกควบคุมส่งออกเกิน 1 พัน กก. ต้องขอ เป็นแค่แจ้งปริมาณส่งออกและสต๊อกคงเหลือ ดีเดย์บังคับใช้ 15 พ.ย.เป็นต้นไป