ดีป้า ผลักดันแอปฯ KASSETTRACK ยกระดับมาตรฐานการผลิตทุเรียนไทย

ดีป้า ร่วมส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานการผลิตทุเรียนไทยคุณภาพแก่เครือข่ายเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี – ระยอง 2,000 ราย

2 พฤษภาคม 2566 – นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การสร้างรายได้แก่ชุมชน พัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่ และสร้างมาตรฐานการผลิตทุเรียนคุณภาพ ภายใต้แพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน KASETTRACK ระหว่าง บริษัท วีเดฟซอฟท์ จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน KASETTRACK กับ กลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียน อำเภอนายายอาม

ทั้งนี้ ดีป้า มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ยกระดับภาคเกษตรกรรมไทย โดยแอปพลิเคชัน KASSETTRACK คือหนึ่งในเทคโนโลยีดิจิทัลที่ ดีป้า ให้การสนับสนุนผ่านมาตรการคูปองดิจิทัล เพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล โดยเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาด้านการผลิต ช่วยวางแผนต้นทุนการผลิตในแต่ละฤดูกาลเป็นรายแปลง รายช่วงอายุในแต่ละสายพันธุ์ พร้อมอำนวยความสะดวกให้การตรวจสอบรับรองคุณภาพผลผลิตทุเรียนเป็นไปตามมาตรฐาน GAP เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการส่งออกผลผลิตไปยังประเทศผู้นำเข้า โดยเฉพาะประเทศจีน ผู้นำเข้าทุเรียนอันดับหนึ่งของไทยที่มีความเข้มงวดในการตรวจสอบคุณภาพและศัตรูพืชต้องห้ามแก่เครือข่ายเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยอง จำนวน 2,000 ราย

“เกษตรกรจะได้รับการอำนวยความสะดวกด้านกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ซึ่งระบบจะสร้างขั้นตอนการผลิตทุเรียนที่เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน GAP โดยอัตโนมัติ ดังนั้นเกษตรกรสามารถบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา วิเคราะห์ความก้าวหน้ากิจกรรมการผลิต และการดูแลรักษาในทุกระยะการเติบโต ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานในการตรวจรับรองมาตรฐาน GAP และเป็นข้อมูลสำหรับพัฒนาการผลิตในปีต่อไป รวมถึงการวางแผนการตลาดและการสร้างแบรนด์ ขณะเดียวกัน ภาครัฐจะได้รับข้อมูลปริมาณผลผลิต กระบวนการผลิต ปริมาณการซื้อขายที่ถูกต้องชัดเจน เพื่อตรวจสอบย้อนกลับการผลิตและใบรับรอง GAP / GMP สามารถนำข้อมูลการผลิตในพื้นที่มาใช้พิจารณาการวิจัย พัฒนา และสร้างฐานข้อมูลเมืองอัจฉริยะ อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุเรียนคุณภาพของไทย อันจะนำไปสู่การผ่อนคลายความเข้มงวดของมาตรการการนำเข้าของจีน ทั้งหมดถือเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตทุเรียนคุณภาพและภาคการเกษตรของประเทศ ช่วยสร้างรายได้แก่ชุมชนไปพร้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

สำหรับการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ KASETTRACK จะเป็นผู้จัดหาตลาด ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อรองรับผลผลิตทุเรียนของกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนอำเภอนายายอาม และเครือข่ายสมาชิกของชาวสวนทุเรียนจังหวัดจันทบุรีให้มีราคาดี รับซื้อผลผลิตผ่านแพลตฟอร์ม ซึ่งจะคัดสรรตลาดที่เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐานการคัดทุเรียน โดยยึดหลักการคัดคุณภาพอย่างเป็นธรรม พร้อมกันนี้จะแจ้งราคาตลาดที่รับซื้อ (ณ วันที่รับซื้อ) แต่ละเกรดคุณภาพ ราคาทุเรียนที่มีคุณภาพต่ำจากเกณฑ์คุณภาพการส่งออก จำนวนผลผลิตหรือปริมาณน้ำหนักที่ต้องการรับซื้อในแต่ละวัน รวมไปถึงข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร

นอกจากนี้จะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญร่วมให้ความรู้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อแนะแนวทางการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ พัฒนามาตรฐาน หาแหล่งเงินทุน และจัดทำฐานข้อมูลต่อไร่ให้มีดัชนีชี้วัดการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพการผลิตพืชปลอดภัย ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรทุกรายที่อยู่ในแพลตฟอร์มที่ได้บันทึกกิจกรรมการผลิตในแอปพลิเคชันใช้แนบเป็นหลักฐานการขอรับรองมาตรฐาน GAP ต่อไป

ปัจจุบันมีเกษตรกรใช้งานแอปพลิเคชัน KASETTRACK แล้วกว่า 1,000 รายใน 8 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ระยอง ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ยะลา สุโขทัย โดยประเมินว่า ความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานส่งเสริมเกษตรจังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง ชุมพร รวมถึงจังหวัดที่มีพื้นที่ผลิตทุเรียนจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้มีปริมาณผลผลิตทุเรียนในปีการผลิต 2566 มากกว่า 20,000 ตัน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรโดยภาพรวมกว่า 3,000 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้าหมายว่า KASETTRACK จะดูแลการผลิตทุเรียนไทยคุณภาพได้กว่า 1 แสนตัน และสร้างเกษตรกรคุณภาพที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ไม่น้อยกว่า 10,000 รายในปี 2569

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดีป้า' เปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล ยกระดับเกษตรกรชาวสวนทุเรียน

ดีป้า ส่งเสริมเกษตรกรไทยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต เดินหน้าเปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล) ขับเคลื่อนการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันภาคการเกษตรสำหรับบันทึก จัดเก็บข้อมูล ติดตามย้อนกลับการเพาะปลูก สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูงสู่ตลาดโลก พร้อมพัฒนาทักษะและศักยภาพเกษตรกรไทยสู่เกษตรอัจฉริยะอย่างยั่งยืน

'ดีป้า' แถลงผลสำเร็จ ยกระดับทักษะโค้ดดิ้ง สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย คือโครงการในแผนงาน

'ดีป้า' เตรียมจัดแข่งทักษะโค้ดดิ้ง รอบชิงชนะเลิศ เฟ้น 10 สุดยอดผลงานนวัตกรรมดิจิทัล

ดีป้า เตรียมจัดการแข่งขัน Coding War รอบชิงชนะเลิศ สมรภูมิไอเดียด้านโค้ดดิ้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หา 10 สุดยอดผลงานนวัตกรรมดิจิทัลจากเด็กไทยทั่วประเทศ

'ดีป้า' ติวเข้มทักษะโค้ดดิ้ง 'ครู-นักเรียน' 100 ทีม ต่อยอดสู่เวทีนานาชาติ

ดีป้า จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเข้มข้น ครู - นักเรียน จำนวน 100 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มข้นจากทั่วประเทศ เข้าคอร์สติวเข้มทักษะโค้ดดิ้ง จากผู้เชี่ยวชาญ

ดีป้า เปิดแผนการดำเนินงานปี 2568 ชูแนวคิด Perform Better, Think Faster and Live Better ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล

ดีป้า เผยแผนการดำเนินงาน ประจำปี 2568 ในงาน ‘depa Digital Intelligence’ ภายใต้แนวคิด Perform Better, Think Faster and Live Better

'ดีป้า' ประกาศผล 100 ทีมเข้ารอบสุดท้าย เวทีแข่งขันทักษะโค้ดดิ้งระดับประเทศ

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามจากกิจกรรม Coding Bootcamp ใน 8 ภูมิภาค กิจกรรมภายใต้โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย พร้อมประกาศผล 100 ทีม