ส่งออกไทยเดี้ยง 6 เดือนติด

“พาณิชย์” กางยอดส่งออกเดือน มี.ค. 66 ติดลบ 4.2% ทรุดต่อเนื่อง 6 เดือนติด ฟุ้งสินค้าเกษตรยังแจ่ม จ่อถกเอกชน-ทูตพาณิชย์เข็นส่งออกทั้งปีโตตามเป้า 1-2% ด้าน “คลัง” การันตีครึ่งปีหลังฟื้นแน่

27 เม.ย. 2566 – นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือนมี.ค.2566 มีมูลค่า 27,654.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.2%หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 นับตั้งแต่ ต.ค. 2565คิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 942,939 ล้านบาท การนำเข้ามีมูลค่า 24,935.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.1% คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 860,535 ล้านบาท รวม 3 เดือนของปี 2566 (ม.ค.-มี.ค.) การส่งออกมีมูลค่า 70,280.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 4.5% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 2,373,189 ล้านบาท นำเข้ามูลค่า 73,324.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 0.5% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 2,508,390 ล้านบาท โดยการส่งออกที่ลดลง มาจากการลดลงของสินค้าอุตสาหกรรม 5.9% ลดต่อเนื่อง 6 เดือนติด ส่วนสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่มขึ้น 4.2% เป็นบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า จะนัดหารือกับภาคเอกชนในเวที กรอ.พาณิชย์ วันที่ 23 พ.ค. นี้ โดยจะประชุมร่วมกับทูตพาณิชย์ทั่วโลก เพื่อจัดทำแผนการขับเคลื่อนการส่งออกระยะที่ 2

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกไตรมาส 2 จะยังติดลบ แต่เริ่มลดลง และจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังเป็นต้นไป โดยตัวเลขทั้งปี ประเมินว่าจะทำได้ตามเป้า 1-2% ซึ่งเป็นตัวเลขสำหรับทำงาน ทั้งเชิงรุกและเชิงลึก โดยแต่ละเดือนจะต้องส่งออกได้ประมาณ 24,500 ล้านเหรียญสหรัฐ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง กล่าวว่า ประเมินว่าในช่วงไตรมาส 2/2566 หรือตั้งแต่กลางปีเป็นต้นไปสถานการณ์ในภาคส่งออกของไทยน่าจะปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกจะยังอยู่ในช่วงชะลอตัว เนื่องจากเชื่อว่าประชาชนจะเริ่มมีการปรับตัวโดยเฉพาะในเรื่องการใช้จ่าย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น อาจมีการปรับไปซื้อสินค้าที่มีคุณภาพรองลงมาในราคาที่เหมาะสมากับกำลังซื้อมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งตรงนี้จะมีส่วนช่วยทำให้กำลังซื้อในตลาดทั่วโลกฟื้นตัวได้ดีขึ้น

“ยังมีปัจจัยที่ต้องจับตาโดยเฉพาะสถานการณ์ในตลาดการเงินโลก จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดทั้งหมดด้วย แต่ถามว่าสถาบันการเงินของไทยเข้มแข็งเพียงพอหรือไม่ เรื่องนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำหน้าที่กำกับดูแล ซึ่งได้รายงานว่าสถาบันการเงินมีการกันสำรองอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง ขณะเดียวกันทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยก็มีเพียงพอ จึงสามารถยืนยันได้ชัดเจนว่าฐานะการเงินและการคลังของไทยยังมีเสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ดี” นายอาคม กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เขื่อนเจ้าพระยา' ลดระบายน้ำต่อเนื่อง พื้นที่ลุ่มต่ำ 4 จ. ท่วมน้อยลง

แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ และแม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี มีปริมาณลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท

ฟ้าหลังฝนสดใส! นครพนมไฟเขียวเรือสำราญล่องน้ำโขง

ระดับน้ำโขงที่ จ.นครพนม ได้ลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 10.97 เมตร ลดจากวานนี้ 13 เซนติเมตร ห่างจากจุดเตือนภัยเฝ้าระวัง ประมาณเมตรเศษ

ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจชัด ปชป. เสียคะแนนนิยมหลังประกาศร่วมรัฐบาล

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความนิยมต่อประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

ต้องจับตา 'เงินเฟ้อ' ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และต่ำสุดในรอบ 33 เดือน

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (เงินเฟ้อ) เดือนพฤศจิกายน 2566 เท่ากับ 107.45 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งเท่ากับ 107.92 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ 0.44 (YoY) ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2

เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 อ่อนแรงโต 1.5% สภาพัฒน์ ประเมิน GDP ปี 66 โต 2.5%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 3/2566 ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวได้ 1.5% ชะลอลงจาก 1.8%