“คลัง” หั่นจีดีพีปี 66 เหลือ 3.6% ส่งออกสู่ขิตติดลบ 0.5% เซ่นพิษเศรษฐกิจโลก ฮึมพรรคการเมืองปูดนโยบายใช้เงินมือเติบหลายแสนล้าน หวั่นแหกคอกกู้กลายเป็นภาระลูกหลาน พร้อมกางแผนการคลังระยะปานกลางเข้าสู้ ชูทยอยลดขาดดุลต่อเนื่อง
25 เม.ย. 2566 - นายพรชัย ธีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ปี 2566 ลงเหลือ 3.6% โดยมีช่วงคาดการณ์ 3.1-4.1% จากเดิมที่ 3.8% เนื่องจากภาคการส่งออกที่คาดว่าจะติดลบ 0.5% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวเป็นบวกเล็กน้อยที่ 0.4% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ทำให้การค้าโลกมีข้อจำกัด รวมถึงทิศทางอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดและปัญหาสถาบันการเงินในประเทศเศรษฐกิจหลัก แต่ยังมีแรงสนับสนุนจากการบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวในปีนี้ที่ 29.5 ล้านคน
ทั้งนี้ ปัจจัยหนุนที่ยังต้องติดตาม ซึ่งมีโอกาสที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัวได้มากกว่า 3.6% ได้แก่ 1.ภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น 2.สถานการณ์เงินเฟ้อที่ลดลงเร็วกว่าที่คาดไว้ โดยปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 2.6% ส่งผลบวกต่อการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม ได้แก่ 1.ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของตลาดการเงินโลก และ 2.ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อความมั่นคงระหว่างประเทศและปัจจัยการผลิตต่าง ๆ
อย่างไรก็ดี นายพรชัย กล่าวถึงกรณีที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ออกนโยบายหาเสียงและมีการใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ว่า มาตรการต่าง ๆ คงไม่สามารถดำเนินการภายใต้งบประมาณปี 2566 ได้ทัน และหากมีความต้องการใช้งบประมาณ ก็จะเหลือช่องว่างให้ใช้ได้อยู่อีกไม่มาก เช่น งบกลาง ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 มีอยู่ 9.24 หมื่นล้านบาท ขณะที่ปีงบประมาณ 2567 อยู่ที่ 9.3 หมื่นล้านบาท โดยในความเห็นของคลังยังสามารถนำมาใช้ แต่ที่ผ่านมาการใช้งบส่วนนี้จะใช้กับเหตุฉุกเฉิน กรณีภัยพิบัติ กรณีความเสียหายที่ไม่อาจคาดเดาได้เท่านั้น รวมถึงความจำเป็นของการใช้งบในอนาคตอีกส่วนหนึ่งด้วย
ทั้งนี้ เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ สิ่งแรกคือการทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 จากการหารือกับสำนักงบประมาณ ตามแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบ66-70) มีการกำหนดงบรายจ่ายประจำปี 2567 ไว้ที่ 3.35 ล้านล้านบาท ซึ่งมีการกำหนดสัดส่วนการใช้จ่าย ทั้งงบรายจ่ายประจำ งบลงทุน ไว้หมดแล้ว เท่าที่ติดตามข่าวนโยบายพรรคการเมือง มีหลายโครงการซึ่งใช้งบประมาณอยู่หลายแสนล้านบาท ค่อนข้างจะเกินจากรายจ่ายที่กำหนดเอาไว้ ดังนั้นจะต้องดูว่ารัฐบาลที่เข้ามาใหม่เมื่อมีการแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร จะต้องดูว่าจะใช้งบประมาณจากแหล่งใด และอาจต้องมีการปรับแผนการคลังหรือไม่
สำหรับแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบ66-70) นั้น มีหลักการที่สำคัญคือ 1.ต้องการลดการขาดดุลงบประมาณต่อจีดีพี ซึ่งปีงบประมาณ 2567 ตั้งกู้ชดเชยการขาดดุลที่ 3% เป็นตัวเลขที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับหลายประเทศ ที่มีภาระด้านการคลังเหมือนไทยหลังสถานการณ์โควิด-19 และหลังจากปีงบ 2567 ก็จะทยอยลดลงต่ำกว่า 3% เรื่อย ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คลังตั้งหลักไว้ ณ ปัจจุบัน เป็นกติกาที่ทำไว้ให้เกิดวินัยด้านการคลัง ควบคุมการใช้จ่าย ลดภาระรัฐบาล
2.เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการคลังในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย การจัดเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงประสิทธิภาพในการจัดการหนี้สาธารณะเพื่อให้มีการบริหารพื้นที่ทางการคลังให้เหมาะสม และ 3. การมุ่งสู่ภาคการคลั่งที่ยั่งยืน มีศักยภาพในการรับความเสี่ยงของประเทศที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการมุ่งทำงบประมาณสมดุลในอนาคตตามแผนการคลังระยะปานกลาง
นอกจากนี้ ในส่วนของสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ซึ่งมีเพดานอยู่ที่ 70% จากปัจจุบันสัดส่วนหนี้อยู่ที่ราว 60% ซึ่งจำนวนเงินก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่การจะกู้ได้ต้องมีเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ในช่วงโควิด-19มีการออก พ.ร.ก.กู้เงินรวม 1.5 ล้านล้านบาท เพื่อบรรเทา เยียวยาผลกระทบ เติมเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งงบที่ออกมาจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ซื้อวัคซีน ทำโครงการจ้างงาน เพื่อให้ประชาชนมีรายได้ประทังในช่วงที่เกิดโควิด-19 ดังนั้น การกู้เงินต่าง ๆ จะต้องดูในเรื่องของผลกลับคืนมาให้กับประเทศ
“ในด้านวินัยการคลังมองว่าถ้ากู้มาแล้วก็ควรจะนำมาลงทุนเพื่อให้เกิดการจ้างงาน เกิดการหมุนเวียนกลับมาสู่การขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็ง รวมถึงสาธารณูปโภค พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ถ้ากู้มาแล้วควรจะมีผลิตภาพที่มากขึ้น ดังนั้นวงเงินกู้ที่มีก็ไม่จำเป็นที่จะใช้เต็มวงเงินก็ได้ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นภาระของลูกหลานของเรา ที่ต้องมาหารายได้ชำระคืนเงินกู้รวมทั้งการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ จะมองว่าเรามีการใช้จ่ายที่ไม่สมเหตุสมผล ดังนั้นก็ต้องไปดูวิธีการและโครงการที่จะนำเงินมาใช้จริง ๆ” นายพรชัย กล่าว
อย่างไรก็ดี ในส่วนของสถานการณ์ค่าไฟฟ้านั้น ได้มีการศึกษาพบว่าเงินเฟ้อในส่วนของค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา มีสัดส่วนเพียง 5.5% ของตระกร้าเงินเฟ้อทั้งหมด โดยต้องยอมรับว่าในความรู้สึกของประชาชนมองว่าค่าไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ก็ต้องไปดูภาพรวมการใช้จ่ายในครัวเรือนด้วย แต่ในเรื่องนี้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะมีแนวทางในการดูแลอยู่ ขณะที่ภาพใหญ่ของตระกร้าเงินเฟ้อคือราคาสินค้า โดยเฉพาะราคาพลังงานมีการปรับตัวลดลง จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าภาพรวมอัตราเงินเฟ้อในปี 2566 มีแนวโน้มลดลงเหลือ 2.6%
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ศิริกัญญา' งง รอมา 2 เดือน นโยบายกระตุ้นศก.ไม่มีอะไรชัดเจน ย้อนถามแจกเงินหมื่นช่วยอะไรได้
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาชน โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า
กลัวครหา! อนุทิน ไม่ลงช่วยผู้สมัคร นายกอบจ.สุรินทร์ หาเสียง แค่ส่งกำลังใจ
'อนุทิน' แจง ไม่ลงไปช่วยผู้สมัครนายกอบจ.สุรินทร์ ได้แต่ส่งกำลังใจ หวั่นมีข้อครหาเยอะ กำชับ ปลัดมท.สั่งข้าราชการฝ่ายปกครอง ต้องทำตัวเป็นกลาง บอกติดตลก เลือกตั้งครั้งหน้าทุกพรรคกวาดเก้าอี้เกิน200 เสียง คงมีสส.ในสภาฯ 2000 คน
ยากจะหาใครรับมือ! ซูฮก 'ทักษิณ' สำเร็จเคล็ดวิชาขั้นสูง 'มือถือสากปากถือศีล'
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นักกฎหมาย อดีตสส.จังหวัดพัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "คุณทักษิณ ชินวัตร สำเร็จเคล็ดวิชาขั้นสูงแล้ว" ระบุว่าจะว่ามมไม่เงี่ยหูฟังคุณทักษิณ ชินวัตร ปราศรัยที่จ.อุดรธานี เสียเลยก็ไม่
'อนุทิน' ไม่หวั่น 'ทักษิณ' โวกวาด 200 เสียง ยัน 'รมต.-สส.' ภท. ขยันทำงาน
'อนุทิน' ชี้ 'ทักษิณ' โวเลือกตั้งครั้งหน้ากวาด 200 เสียง มีสิทธิตั้งเป้า ยัน ภท. ไม่เงียบ 'รมต.-สส.' ลงพื้นที่ทำงานขึ้นเหลือล่องใต้ ปัดส่งผู้สมัครชิง นายก อบจ. ในนามพรรค
ถึงคิว 'พิธา' ยกทัพตรึงอุดรฯ ร่วมงานลอยกระทง ขึ้นปราศรัย 3 เวทีใหญ่
ถึงคิว 'พิธา' ยกทัพตรึงอุดรธานี หลังโดน 'ทักษิณ-พท.' แย่งเรตติ้งสองวันติด ร่วมงานลอยกระทง ก่อนขึ้นเวทีปราศรัยใหญ่สามจุดวันเสาร์