23 เม.ย. 2566 – นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจ Digital Marketing และ Digital Economy แรงกระตุ้นเศรษฐกิจหลังเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการสำรวจพฤติกรรมการรับรู้และทัศนคติของประชาชนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล จำนวน 1,227 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่ามูลค่าการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มปี 66 คาดจะอยู่ที่ 894,564 ล้านบาท จากจำนวนคนที่คาดจะซื้อทางออนไลน์ 50.2 ล้านคน โดยแต่ละคน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย1,485 บาท/ครั้ง/เดือน
สำหรับกลุ่มคนที่ซื้อสินค้าหรือบริการผ่านดิจิทัล แพลตฟอร์มมากที่สุด คือ Gen Z อายุ 10-24 ปี สัดส่วนสูงถึง 92.0% ตามด้วยกลุ่ม Gen Y อายุ 25-39 ปี สัดส่วน 78.6%, กลุ่ม Gen X อายุ 40-54 ปี สัดส่วน 66.7% และกลุ่ม Baby Boomer อายุ 55-72 ปี สัดส่วน 24.4% สาเหตุที่เลือกซื้อของทางออนไลน์ เพราะมีสินค้าและบริการให้เลือกหลากหลาย ความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์ม มีระบบป้องกันและรักษาข้อมูลของผู้ซื้อ มีโปรโมชันและส่งเสริมการขาย เป็นต้น
ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยมีมูลค่าประมาณ 2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 13% ของ GDP ที่มีมูลค่าประมาณ 16 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ เป็นมูลค่าตลาดของดิจิทัล แพลตฟอร์มถึง 900,000 ล้านบาท ถือว่า มูลค่าตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้น ยังมีโอกาสเป็นสตาร์ หรือขยายตัวได้อีกมากในอนาคต เพียงแต่ปัจจุบัน นโยบายของรัฐในส่งเสริม และผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลยังไม่มากนัก ถ้ามีมากกว่านี้ จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลไทยโดดเด่นมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สสว.ยกระดับผู้ประกอบการ เสริมศักยภาพด้าน Digital Marketing เท่าทันเศรษฐกิจปรับตัว
สสว.เดินหน้าเสริมศักยภาพด้าน Digital Marketing ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี หลังพบผู้ประกอบร้อยละ 8.3 เริ่มยกระดับ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจในด้านการพัฒนาทักษะแรงงานในการใช้เครื่องจักร/
จัดตั้งรัฐบาลล่าช้าฉุดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงครั้งแรกในรอบ 14 เดือน
หอการค้าเผยคนห่วงตั้งรัฐบาลล่าช่า ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ก.ค. ลดลงครั้งแรกในรอบ 14 เดือน แตะระดับ 55.6
หอการค้าชี้ 'หนี้ครัวเรือน' ไทยพุ่งมากที่สุดในรอบ 15 ปี
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยสถานภาพ "หนี้ครัวเรือน" ไทยปี 2566 พบว่า ภาระ "หนี้ครัวเรือน" เพิ่มสูงขึ้น มากที่สุดในรอบ 15 ปี