GPSC โชว์คว้าประมูลโครงการโซลาร์ ขนาด 560 เมกะวัตต์ ดันกำลังการผลิตในประเทศอินเดียทะยานต่อเนื่อง หนุนสู่เป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานสะอาดมากกว่า 50% ในปี 2573
19 เม.ย. 2566 -นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เปิดเผยว่า บริษัท อวาด้า เอนเนอร์ยี่ ไพรเวท จำกัด ในกลุ่มอวาด้า ผู้ดำเนินธุรกิจพลังงานหมุนเวียนชั้นนำในประเทศอินเดีย ซึ่ง GPSC ถือหุ้นในสัดส่วน 42.93% ผ่านบริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล ซินเนอร์ยี่ จำกัด (GRSC) ล่าสุดประสบความสำเร็จรอบ 2 ของเดือนนี้ โดยชนะประมูลโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์กำลังการผลิต 560 เมกะวัตต์ ซึ่งเปิดประมูลโดย Maharashtra State Electricity Distribution หรือ MSEDCL เพื่อพัฒนาโครงการพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับการเติบโตตามความต้องการใช้พลังงานในอินเดียที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรที่สูงขึ้น
“นับเป็นอีกก้าวที่สำคัญเพื่อตอกย้ำถึงศักยภาพของกลุ่ม Avaada และ GPSC ที่จะร่วมกันในการขยายกำลังการผลิต เพื่อตอบโจทย์ความต้องการพลังงานหมุนเวียนในประเทศอินเดียอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจตามเป้าหมายการขยายกำลังผลิตไฟฟ้าสู่ตลาดอินเดีย ที่เป็นโอกาสของผู้ประกอบด้านพลังงาน ดังนั้นการที่ GPSC ร่วมมือกับ Avaada เป็นการนำจุดแข็งของทั้งสองฝ่าย ร่วมสร้างพลังในการขับเคลื่อนธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มระดับความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น” นายวรวัฒน์กล่าว
ทั้งสององค์กรต่างให้ความสำคัญในการแสวงหาเทคโนโลยี และพัฒนาพลังงานสะอาดในประเทศอินเดียและสังคมโลก พร้อมกับการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนและสอดคล้องกับเป้าหมายของ GPSC ในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนของบริษัทฯ ให้มากกว่า 50% ภายในปี 2573 ซึ่งตลาดพลังงานในอินเดีย มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลอินเดียต้องการเปลี่ยนมาผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น ด้วยเป้าหมายในทิศทางเดียวกันที่จะเดินหน้าไปสู่สังคมสีเขียว พัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อส่งต่อสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับคนรุ่นใหม่ต่อไป
อย่างไรก็ตามการชนะประมูลในครั้งนี้ ผ่านการคัดเลือกจากการเสนอราคาในรูปแบบ e-Reverse auction ซึ่งอวาด้าเสนอราคาที่ 2.88 รูปีอินเดีย/กิโลวัตต์ชั่วโมง (~0.035 เหรียญสหรัฐฯ) ตามเงื่อนไขการประมูล ซึ่งจะมีการลงนามซื้อขายไฟฟ้าหรือ PPA ที่มีอายุสัญญารับซื้อเป็นเวลา 25 ปี โดยแผนการดำเนินโครงการต้องให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือน คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 951 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ซึ่งจะช่วยลดการปล่อย CO2 เทียบเท่าได้ประมาณ 0.9 ล้านตันต่อปี โครงการพลังงานแสงอาทิตย์สามารถให้พลังงานแก่ครัวเรือนประมาณ 0.7 ล้านครัวเรือนด้วยพลังงานสีเขียว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
GPSC แข็งแกร่งรับการสนับสนุนเงินกู้ระยะยาว จาก 3 แบงค์รัฐ-เอกชน มูลค่า 7 พัน ลบ. รุกพลังงานสะอาด ตอบโจทย์ Net Zero รองรับแผนพัฒนาพลังงานชาติ
GPSC ลงนามในสัญญาเงินกู้กับธนาคารทีเอ็มบีธนชาต ธนาคารเกียรตินาคินภัทร และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย วงเงินรวม 7,000 ลบ. มุ่งธุรกิจพัฒนาพลังงานหมุนเวียนทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงาน สอดรับกลยุทธ์องค์กรจากบทบาทในการ Decarbonization ให้กับกลุ่ม ปตท. เดินหน้ามุ่งสู่แผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
GPSC ร่วมกับ กนอ. มาบตาพุด เก็บขยะชายหาดระยอง สร้างจิตสำนึกรักษาความสะอาดในวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล จ.ระยอง ปี 67
นายพีรพล อำไพวิทย์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสกลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม
GPSC ร่วมกับกลุ่ม ปตท. มอบถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ จัดถุงยาสามัญ - น้ำดื่ม ส่งกำลังใจให้ประชาชนพ้นวิกฤต
นายทิติพงษ์ จุลพรศิริดี (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน และนางปริญดา มาอิ่มใจ (ที่ 4 จากขวา)
'กีฬาบริดจ์'ได้'ธ.กรุงเทพ-GPSC'หนุน ตามนโยบายส่งเสริมกีฬา ให้เป็น'Soft Power'ของรัฐฯ
"ธ.กรุงเทพ-GPSC" ร่วมหนุน "ส.กีฬาบริดจ์" ตามนโยบายส่งเสริมการกีฬาให้เป็น Soft Power ของรัฐบาล "ชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์" นายกสมาคมกีฬาบริดจ์ไทย วางแผนเชิงรุก ลุยหน้าพัฒนาและเพิ่มประชากรนักกีฬาบริดจ์ ในทุกกลุ่มอายุ ให้เกิน 1 ล้านคนให้ได้ ระบุ ที่ผ่านมา นักกีฬาบริดจ์ทีมชาติไทย ทำผลงานและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศได้ประจักษ์ชัดเจน คว้าเหรียญทั้งในซีเกมส์และเอเชียนเกมส์ มาอย่างต่อเนื่อง แต่แปลกใจทำไม ศึกซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ที่ไทย กำลังจะเป็นเจ้าภาพในปีหน้า "กีฬาบริดจ์" กลับยังไม่ได้รับการบรรจุเข้าชิงเหรียญทอง แต่อย่างใด