'ไม้ยางพาราไทย' มีโอกาสสดใส ลุยเปิดตลาด อินเดีย เวียดนาม มาเลเชีย

“ไม้ยางพาราไทย” ไตรมาส 4 มีความหวัง “จีน” ตลาดใหญ่กระตุ้น จีดีพี. 5 เปอร์เซ็นต์ พร้อมเปิดตลาด อินเดีย เวียดนาม มาเลเซีย และยังมีทิศทางขายคาร์บอนด์เครดิต อีกเข้าสู่ FSC ขายได้ในตลาดสภาพยุโรป สหรัฐ

9 เม.ย. 2566 – นายนิกร ลิขิตหวังพาณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชูศักดิ์แอนด์พรรณีลีดเดอร์ จำกัด นายกสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย เปิดเผยว่า ภาวะธุรกิจไม้ยางพาราไทย มีทิศทางที่ดีขึ้นจากที่ประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก ซึ่งไทยส่งออกเป็นตลาดใหญ่ถึง 90 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ เนื่องจากจีนมีนโยบายต้องการที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ได้ จีดีพี. (GDP – Gross Domestic Product) ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ 5 เปอร์เซ็นต์

นายนิกร ยังกล่าวอีกว่า นอกนั้นไม้ยางพารามีโครงการคาร์บอนเครดิต เพื่อขายให้กับตลาดโลก ก็จะมีผลต่อไม้ยางพาราด้วย เช่น ปลายไม้ ปีกไม้ เศษไม้ ก็จะนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์วู๊ดพาเลท (wood palle) พลังงานโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยใช้สำกลุ่มเศษไม้ เมื่อได้รับการส่งเสริมเป็นอุตสาหกรรมวูดพาเลซ ฯลฯ จะเป็น 1.20 บาท / กก. ประมาณ 1,200 บาท / ตันจากราคาประมาณ 800 บาท/ ตัน

นอกจากไม้เกรดที่ได้แปรรูปผลิตไม้ปาติเกิล (Particle Board) ไม้ MDF (Medium-Density Fiberboard) ไม้อัด (Plywood) ฯลฯ แล้ว และยางพารา ยังได้มีการปรับปรุงเข้าเอฟเอสซี FSC (Forest Stewardship Council) ซึ่งต่อไปตลาดสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ที่มีความต้องการไม้ ไม้ยางพาราไทยก็ส่งเข้าตลาดได้ทั้งหมด และรัฐบาลยังได้ส่งเสริมเปิดตลาดไม้ยางพาราไปยังประเทศอินเดีย ประเทศเวียดนาม และประเทศมาเลเซียด้วย

นายนิกร กล่าวอีกว่า แต่ขณะนี้ที่ยังเป็นอุปสรรค เพราะการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ที่สวนยางพาราได้โค่นสงเคราะห์ปลูกทดแทนปีละ 400,000 ไร่ แต่ปัจจุบันโค่นสงเคราะห์ปลูกทดแทนเหลือ 200,000 ไร่ จากที่ไม่มีงบประมาณในการนำเงินไปสงเคราะห์ จึงได้ส่งผลต่อกระทบต่อชาวสวนยางพาราและอุตสาหกรรมไม้ยางพาราไทย ทำให้กำลังการผลิตทั้งระบบต้องชะลอตัวไปมาก ขาดรายได้ไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งปกติไม้ยางพาราที่ผลิตได้ประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร / ปี ทั้งใช้ในประเทศและส่งออกต่างประเทศ

นายนิกร กล่าวอีกว่า และยังมีอุปสรรคสำคัญคือตัวเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน โดยที่จะอยู่ได้ต้อง 38 บาท / เหรียญสหรัฐ แต่ถ้า 34 เหรียญสหรัฐ จะขาดทุนทันที่ 3-4 บาท / ลูกบาศก์เมตรจากที่ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น เพราะการทำไม้ในป่า ภูเขา ฯลฯ ที่ใช้เทคโนโลยีไม่ได้ และที่หนักที่สุดคืออัตราไฟฟ้าที่สูงมาก

“ส่วนทางด้านการตลาดไม้ยางพารา ขณะนี้ราคาไม่ดี ไม้เกรดจาก 1.70 – 1.80 บาท / กก. มาเคลื่อนไหวมาอยู่ที่ 1.50-1.60 บาท / กก. ส่วนกลุ่มเศษไม้ เช่น ไม้ปีก ยอดไม้ กิ่งไม้ สะดือไม้ ราคา 00.80 บาท / กก.”

ทางด้าน ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ทางสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ได้ทำการผลักดันยางพารา โดย 8 พรรคการเมืองได้ตอบรับเป็นนโยบาย และเมื่อได้ตั้งรัฐบาลจะนำไปจัดงบประมาณดำเนินการ

ทั้งนี้เพื่อเพิ่มมูลค่ายางพารา เช่น ผลิตคาร์บอนเครดิตขาย โดยมีสวนยางพาราประมาณ 30 ล้านไร่ทั่วประเทศ ซึ่งทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอสซีจี. จะเข้ามาดำเนินการ และกับการยกเลิกยางพาราในป่าสงวน ป่าชุมชน และวนอุทยาน ตาม พรบ.ถูกตามกฎหมาย โดยให้เช่าพื้นที่ทำกินอยู่กับสวนยางพารา ซึ่งมีอยู่ประมาณ 5 ล้านไร่ ซึ่งขณะนี้ไทยมีสวนยางพาราประมาณ 30 ล้านไร่

“เมื่อมีการยกเลิกยางพาราในป่าสงวน ป่าชุมชน และวนอุทยาน ตาม พรบ. จะส่งผลต่อ SFC ไม้ยางพาราไทย ก็จะได้ออกสู่ตลาดโลกได้ทั้งหมด” ดร.อุทัย กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทรูวิชั่นส์' ชวนเปิดประตูสู่ดินแดนภารตะใน 'ADVENTURE BY ACCIDENT S2'

ความสนุกของการเดินทางกำลังจะเริ่มต้นอีกครั้ง กับรายการท่องเที่ยวแสนโด่งดังจากประเทศเกาหลีใต้ ที่เพิ่งคว้ารางวัลรายการบันเทิงยอดเยี่ยม จากงานประกาศรางวัล The 60th Baeksang Arts Award 2024 ตอนนี้ได้เดินทางมาถึง Season ที่ 2 แล้ว สำหรับ “ADVENTURE BY ACCIDENT S2”