ชัดเจนหน่วยงานรัฐเบิกจ่ายและใช้เงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้แบบ 100%

2 เมษายน 2566 – นายเวทางค์  พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าร่วมประชุม เรื่องแนวทางการดำเนินการตามพระราชบัญญัติ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ณ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยมีนายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ร้อยตำรวจโทหญิงศรัณย์กร เลิศโอภาส ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและระเบียบการคลัง กรมบัญชีกลาง  ผู้แทนจากหน่วยงาน  ทั้ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา  สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)  สำนักงาน ก.พ.ร.  สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)  สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ร่วมหารือ

ที่ประชุมได้หารือประเด็นข้อกฎหมายและแนวปฏิบัติ การเบิกจ่าย การใช้จ่าย การเก็บหลักฐานทางการเงิน ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ ของหน่วยงานของรัฐ ซึ่ง ตาม พรบ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565    ได้รองรับวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการเบิกจ่าย การใช้จ่ายเงิน และตาม พ.รบ.ฯ หาก กรมบัญชีกลาง หรือ หน่วยงานมีกฎหมาย ระเบียบ ที่เป็นอุปสรรค ก็ต้องเร่งแก้ไขปรับปรุงไม่ให้เป็นอุปสรรค 

พ.รบ. ดังกล่าว มีเจตนาต้องการให้ การเบิกจ่าย การใช้จ่ายเงิน  การทำธุรกรรมทางการเงิน ตลอดจนการเก็บหลักฐานทางการเงินทำได้ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินการทางการเงินดังกล่าวของหน่วยงานรัฐ ผู้แทนกรมบัญชีกลางได้กล่าวว่า จะเร่งทำ หนังสือซักซ้อมความเข้าใจเรื่อง การเบิกจ่าย การใช้จ่ายเงิน การทำธุรกรรมทางการเงิน ตลอดจนการเก็บหลักฐานทางการเงิน ที่สามารถทำ ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้หน่วยงานรัฐ สามารถยึดเป็นแนวทางทำงานต่อไป

นายเวทางค์ กล่าวว่า “ต้องขอขอบคุณ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และกรมบัญชีกลาง ที่ส่งเสริมการใช้วิธีทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเงิน การเงินจ่าย ของหน่วยงานของรัฐ และเชื่อว่า หนังสือซักซ้อมความเข้าใจเรื่องการเบิกจ่าย การใช้จ่ายเงิน ของกรมบัญชีกลาง จะช่วยยกระดับการใช้วิธีทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเงิน   การจ่ายเงินภาครัฐ อย่างก้าวกระโดด”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซูเปอร์โพล เผยคนไทยกังวลรัฐทุ่มงบประมาณกับแรงงานต่างด้าว

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความเห็น ต่อ สิทธิแรงงานต่างชาติ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น

เปิดผลสำรวจกลุ่มเปราะบางรับเงินหมื่น พบเอามาต่อยอดลงทุนน้อย

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นต่อนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ระหว่างวันที่ 1-4 ตุลาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเปราะบางผู้ได้รับเงินแล้ว จำนวน 845 คน