31 มีนาคม 2566 Whoscall ผู้นำด้านแอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก และป้องกันสแปม สำหรับสมาร์ทโฟน ชี้ถึงปัญหาที่เพิ่มขึ้นของการหลอกลวงทางโทรศัพท์และข้อความ MS จากรายงานประจำปีพบว่า มีการหลอกลวงทั้งจากสายโทรเข้าและข้อความ SMS รวม 405.4 ล้านครั้ง ทั่วโลก แม้ว่าตัวเลขโดยรวมจะลดลง จากปีที่แล้ว แต่สำหรับประเทศไทยการหลอกลวงยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง คนไทยยังต้องรับสายจากมิจฉาชีพเพิ่มขึ้น 165% หรือ 17 ล้านครั้ง ในปี 2565
รายงานยังเผยสถิติสำคัญครั้งแรก ถึงจำนวนการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทยกว่า 45% หรือ 13.5 ล้านเบอร์ การรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์เป็น ปัญหาสำคัญทั่วโลก รวมถึงการหลอกลวงทางข้อความ SMS ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง
แมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ Gogolook กล่าวว่า “ภัยคุกคามจากการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมต่อต้านการทุจริต (Anti-Fraud Prevention) จากข้อมูลของ Fortune Business Insight อุตสาหกรรมนี้คาดว่า จะมีมูลค่าถึง 129.2 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2572 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปีที่ 22.8% จากการเพิ่มขึ้นของ เอไอแบบรู้สร้าง (Generative AI) และช่องโหว่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลขององค์กร คาดว่าจะมีการใช้เทคโนโลยี เพื่อหลอกลวง และเกิดผลเสียทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต เพื่อต่อสู้กับการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้น Gogolook กำลังร่วมมือ กับพันธมิตรหลายแห่งในประเทศไทยและทั่วโลก พัฒนาโซลูชันส์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อจัดการกับภัยคุกคามเหล่านี้ โดยมี เป้าหมายเพื่อป้องกันการหลอกลวงอย่างครอบคลุมและมอบความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ Whoscall”
ฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท Gogolook ได้กล่าวเตือนภัยมิจฉาชีพที่แพร่หลาย และเน้นถึงความจำเป็นในการใช้มาตรการต่อต้านการหลอกลวงที่มีประสิทธิภาพ พร้อมเผยสถิติที่น่าตกใจว่า 7 ใน 10 ครั้งของข้อความ SMS ที่คนไทยได้รับเป็นข้อความสแปมและข้อความหลอกลวง หรือคิดเป็น 73%ของข้อความที่ได้รับทั้งหมด ในส่วนของยอดสายโทรศัพท์หลอกลวงพุ่งขึ้น 165% จาก 6.4 ล้านครั้งในปี 2564 เป็น 17 ล้านครั้งในปี 2565 ภัยเหล่านี้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง Whoscall จึงมุ่งมั่นสร้างความตระหนักรู้ให้คนไทย เห็นความสำคัญของการป้องกันการถูกหลอกลวง การรู้ทันทั้งกลอุบายของมิจฉาชีพและรู้ทันว่าใครโทรมาจะสามารถช่วยให้ คนไทยป้องกันตนเองจากการหลอกลวงได้มิจฉาชีพนิยมส่งข้อความหลอกลวงเนื่องจากสามารถเข้าถึงเหยื่อจำนวนมากด้วยต้นทุนต่ำ ข้อความ SMS ถูกใช้เป็น เครื่องมือเพื่อ “ติดต่อครั้งแรก” โดยหลอกให้เหยื่อกดลิงก์ฟิชชิ่งเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว เพิ่มบัญชีไลน์เพื่อหลอกให้ส่งข้อมูลหรือ โอนเงินให้ กลอุบายที่พบบ่อยได้แก่ การเสนอเงินกู้โดยมักอ้างรัฐบาลหรือธนาคาร และการให้สิทธิ์เข้าตรงเว็บพนันออนไลน์ ที่ผิดกฎหมาย คีย์เวิร์ดของข้อความหลอกลวงที่ถูกรายงานที่พบบ่อยที่สุดเช่น “รับสิทธิ์ยื่นกู้” “เครดิตฟรี” “เว็บตรง” “คุณได้รับสิทธิ์” “คุณได้รับทุนสำรองโครงการประชารัฐ” “คุณได้รับสิทธิ์สินเชื่อ” และ “คุณคือผู้โชคดี”
รูปแบบและประเด็นการหลอกลวงถูกปรับเปลี่ยนไปตาม บริบทของแต่ละประเทศ จากการค้นหาและระบุการหลอกลวง (รวมการโทรและข้อความ) ต่อผู้ใช้ Whoscall 1 คน ประเทศไทยอยู่ในอันดับต้น ๆ ที่มีข้อความและสายโทรเข้าหลอกลวง เฉลี่ย 33.2 ครั้งต่อปี (เพิ่มขึ้น 7%) ขณะที่ไต้หวันมี 17.5 ครั้ง (ลดลง 20%) และมาเลเซีย 16.5 ครั้ง (เพิ่มขึ้น 15%) ตัวเลข ดังกล่าวตอกย้ำว่าการหลอกลวงนั้นยังคงแพร่หลายไปยังหลายประเทศ
กลหลอกลวงใหม่ๆ ในประเทศไทยมักเกิดขึ้นตามความสนใจและเทรนด์ต่างๆ ขณะนี้ข้อความ SMS และสายหลอกลวง ที่เกี่ยวกับการปล่อยเงินกู้ หลอกส่งพัสดุเพื่อเก็บเงินปลายทาง หลอกเป็นกรมทางหลวง หลอกให้คลิกไปเล่นพนันออนไลน์ หลอกว่ามีงาน part time หลอกว่าได้รางวัลจาก TikTokและแพลตฟอร์มต่างๆ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
เพื่อต่อสู้กับการหลอกลวงอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลประเทศต่างๆ ได้ร่างนโยบายต่อต้านการหลอกลวง และจัดตั้ง หน่วยงานพิเศษเพื่อรับมือ รวมทั้งร่วมมือกับบริษัทเอกชนและคนดังเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับกลโกงและการหลอกลวง ซึ่งในประเทศไทยได้มีการร่วมมือระหว่างภาครัฐ (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงาน กสทช.) และภาคเอกชน (Whoscall ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น) เช่นกัน
ข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหลมักเป็นด่านแรกที่มิจฉาชีพใช้เข้าถึงรายละเอียดการติดต่อเพื่อหลอกลวงเหยื่อ การรั่วไหลอาจเกิดขึ้นจาก ฐานข้อมูลขององค์กรหรือรัฐบาลถูกโจมตีทางไซเบอร์ หรือเมื่อผู้ใช้กรอกแบบสำรวจ แบบทดสอบทางจิตวิทยา หรือแบบฟอร์มในเว็บไซต์ฟิชชิ่ง เพื่อลดภัยคุกคามตั้งแต่เริ่มต้น Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall และ Constella Intelligence ผู้ให้บริการป้องกันความเสี่ยงทางดิจิทัลระหว่างประเทศ ร่วมกันวิเคราะห์การรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ในหลาย ประเทศ พบว่า ในประเทศไทยมีการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ 45% ทั้งนี้ รหัสผ่าน เบอร์โทรศัพท์ และชื่อ เป็นข้อมูลส่วนตัว ที่มีการรั่วไหลมากที่สุด ตามด้วยสัญชาติ อีเมล ที่อยู่ และวันเกิด
ข้อมูลที่รั่วไหลแต่ละประเภทอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น บัญชีธนาคารออนไลน์หรือบัญชีโซเชียลเน็ตเวิร์ก อาจถูกขโมยได้หากรหัสผ่านรั่วไหล หรือในกรณีที่มิจฉาชีพได้ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ แม้แต่บันทึกการชำระเงินและการซื้อของ ก็จะสามารถใช้หลอกลวงทางโทรศัพท์และข้อความ SMS ได้อย่างง่ายดาย เพื่อป้องกันภัยจากมิจฉาชีพเราจึงควร ใช้การยืนยันตัวตนแบบสองขั้น (Two-Factors Authentication) เมื่อใช้บริการออนไลน์ เปลี่ยนรหัสผ่านที่รัดกุมเป็นประจำ และใช้ Whoscall เพื่อระบุสายโทรเข้าและข้อความ SMS ที่ไม่รู้จัก
บริการออนไลน์ได้รับความนิยมมากขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การหลอกลวงจึงเพิ่มขึ้น โดยไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัวลง Whoscall ขอแนะนำให้คนไทยปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้เพื่อป้องกันตนเองจากเหล่ามิจฉาชีพ:
– อย่าคลิก: หากคุณได้รับลิงก์ใน SMS อย่าคลิกลิงก์นั้น โดยเฉพาะข้อความที่มาจากธนาคารหรือหมายเลขที่ไม่รู้จัก เนื่องจาก ปัจจุบัน มีข้อห้ามไม่ให้ธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศไทยส่งลิงก์ทาง SMS ให้กับลูกค้าโดยตรง
– อย่ากรอก: หากได้รับ SMS เพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลหรือขออัปเดตชื่อผู้ใช้/รหัสผ่าน หรือข้อมูลทางการเงินที่มีลิงก์ไปยัง เว็บไซต์ ที่น่าสงสัย อย่าให้ข้อมูลส่วนบุคคลใดๆเด็ดขาด
– อย่าเพิกเฉย: ผู้ใช้สามารถช่วยกันต่อต้านกลโกงและหลอกลวงทางโทรศัพท์ โดยการรายงานเบอร์โทรศัพท์ที่น่าสงสัย หรือหลอกลวง ทางแอปพลิเคชัน Whoscall เพื่อป้องกันและช่วยส่งคำเตือนไปยังกลุ่มผู้ใช้รายอื่น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลเร่งพัฒนาแพลตฟอร์ม สกัดมิจฉาชีพโทร-ส่งข้อความหลอกลวง คาดพร้อมใช้ต้นปี 68
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน
'นายกฯอิ๊งค์' อวยพรคนไทย สุขสันต์ 'วันลอยกระทง' ฉลองปลอดภัย
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ส่งคำอวยพร และเชิญชวนคนไทยร่วมลอยกระทงว่า “สวัสดีพี่น้องประชาชนคนไทยทุกท่าน สวัสดีจากประเทศเปรู
คุก! ศาลไม่ให้ประกัน 'เมียตั้ม ษิทรา' หวั่นหลบหนี
ที่ ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พนักงานสอบสวนกองปราบปรามนำตัวนายษิทธา เบี้ยบังเกิด หรือทนายตั้ม อายุ 44 ปี ผู้ต้องหาที่ 1 ข้อหา ฉ้
เผยแจ้งความออนไลน์ 1 มี.ค 65 - 31 ต.ค. 67 เฉลี่ยเสียหายวันละ 7.7 ล้านบาท
'รองโฆษกรัฐบาล' เผยสถิติแจ้งความออนไลน์ ตั้งแต่ 1 มี.ค 65 – 31 ต.ค.67 มูลค่าความเสียหายรวม 7.48 หมื่นล้านบาท เฉลี่ย 77 ล้านบาทต่อวัน
'ทนายตั้ม' โผล่ฉายหนังคนละม้วน อ้างปมเงิน 39 ล้านค่าศิลปินจีน เป็นมิจฉาชีพหลอก 'เจ๊อ้อย'
ที่กองบังคับการปราบปราม นายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ "ทนายตั้ม" เข้าพบพนักงานสอบสวน ที่ถูกน.ส.จตุพร อุบลเลิศ หรือ เ
ตำรวจสอบสวนกลาง CIB ผสานพลัง AIS ยกระดับเดินหน้าภารกิจปกป้องประชาชน เปิดบริการ *1185# แจ้งอุ่นใจ ตัดสายโจร กดแจ้งเบอร์โทรมิจฉาชีพได้ทันที หลังวางสาย
ตำรวจสอบสวนกลาง CIB จับมือ AIS ยกระดับการปกป้องลูกค้า และ ประชาชน จากมิจฉาชีพต่อเนื่องไปอีกขั้น เปิดตัวบริการ *1185# แจ้งอุ่นใจ ตัดสายโจร