กรุงไทยคาด กนง.ขึ้นดอกเบี้ยอีกรอบมาจบที่ 2%

30 มี.ค. 2566 – Krungthai COMPASS ระบุว่า จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วานนี้ (29 มี.ค.) ที่มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี สู่ระดับ 1.75% ต่อปี โดยเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันเป็นครั้งที่ 5 นั้น เนื่องจาก กนง. มองว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มลดลง และเริ่มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี แต่ยังมีความเสี่ยงที่จะอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด จากการส่งผ่านต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้น และแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ Krungthai COMPASS ประเมินว่า กนง. มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง ในการประชุมครั้งถัดไป ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยขาขึ้นรอบนี้ จะแตะระดับ 2.0% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการที่ กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง และอัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงที่อาจสูงนานกว่าคาด จากการส่งผ่านต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้น ท่ามกลางอุปสงค์ที่ฟื้นตัว อีกทั้งเสถียรภาพของสถาบันการเงินไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี

นอกจากนี้ สถาบันการเงินไทยยังมีเสถียรภาพดี สามารถรับมือกับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นจากปัญหาของสถาบันการเงินในต่างประเทศได้ แม้ว่าวิกฤตสถาบันการเงินโดยเฉพาะกรณี Silicon Valley Bank (SVB) และ Credit Suisse จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และสร้างความกังวลว่าเหตุการณ์ดังกล่าวอาจบานปลาย แต่การเข้ายุติปัญหาอย่างฉับพลันของทางการ สามารถป้องกันการลุกลาม ทั้งยังเสริมสร้างความมั่นใจต่อระบบการเงิน ซึ่งอาจช่วยลดโอกาสที่โลกจะเผชิญวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ได้

Krungthai COMPASS มองว่า ระบบการเงินของทั้งสหรัฐฯ และยุโรปโดยภาพรวมยังมีความเข้มแข็ง ทั้งในแง่เงินทุนเพื่อรับมือกับความเสี่ยงด้านเครดิต ความเพียงพอของสภาพคล่อง และสัดส่วนหนี้ NPL ในระดับต่ำ ส่วนไทยและประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียนั้นอยู่ในสถานะที่ดีกว่าชาติตะวันตก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความพยายามป้องกันมิให้เกิดปัญหาซ้ำรอยวิกฤตการเงินเมื่อปี 2540 ขึ้นอีก

ในกรณีของไทย มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital adequacy ratio) ถึง 19.4% และมีอัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องรองรับกระแสเงินไหลออกที่เพียงพอ (Liquidity coverage ratio) ณ ระดับ 197.3% ถือเป็นอันดับ 2 ในกลุ่ม ASEAN-5 รองจากอินโดนีเซีย

ด้านคุณภาพสินทรัพย์ ไทยมีอัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อยอดหนี้รวมอยู่ที่ 2.7% เป็นไปตามเกณฑ์สากลที่กำหนดไว้ไม่ควรเกิน 5% ฐานะของสถาบันการเงินไทยที่มีเสถียรภาพดี ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่หนุนให้ ธปท. เดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ต่อไป

“ดังนั้น จึงคาดว่า กนง. อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง ในการประชุมครั้งถัดไป ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับ 2.0%” บทวิเคราะห์ ระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

SCB EIC คาด กนง. จะเริ่มลดดอกเบี้ยในไตรมาส 4

กนง. มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 6 ต่อ 1 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% โดย 1 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เช่นเดียวกับการประชุมครั้งที่แล้ว โดยเศรษฐกิจไทยในภาพรวมขยายตัวสอดคล้องกับที่ กนง. ประเมินไว้

เศรษฐกิจจีน ส่งผลดึงมูลค่าส่งออกเดือนมิถุนายนหดตัวในรอบ 3 เดือน

มูลค่าส่งออกเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 24,796.6 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวเล็กน้อย 0.3%YoY กลับมาติดลบอีกครั้งในรอบ 3 เดือน จากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่หดตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการส่งออกที่เร่งตัวเมื่อเดือน พ.ค.

กรุงไทยขยับลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ช่วยลูกค้าเปราะบาง 3 แสนบัญชี

“กรุงไทย” ขานรับมาตรการภาครัฐ ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ MRR MLR และ MOR 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME รายย่อย ลดภาระทางการเงิน เป็นเวลา 6 เดือน มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค.-15 พ.ย.67 ให้กับลูกค้ากลุ่มเปราะบางกว่า 3 แสนบัญชี วงเงินสินเชื่อรวมกว่า 2 แสนล้านบาท ให้มีโอกาสปรับตัวและฟื้นตัว

จะเอาให้ได้! 'เศรษฐา' เรียก 4 แบงก์ยักษเข้าทำเนียบฯ คุยลดดอกเบี้ย หลังธปท.ไม่เล่นด้วย

ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ได้เรียก 4 ธนาคารเข้าพบ