‘ฉัตรชัย’ ประเดิมงานแรกปักธงสางหนี้เสีย ธ.ก.ส.

“ฉัตรชัย” กาง 3 ภารกิจสำคัญขับเคลื่อน ธ.ก.ส. ปักธงสางปมหนี้เสีย เบรกลูกหนี้จ่อตกชั้น ประกาศต้องทำทันที พร้อมเข็นนโยบายพักหนี้อุ้มลูกหนี้เปราะบางตามนโยบายรัฐ ดึงเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

27 มี.ค. 2566 – นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวในโอกาสเข้ารับตำแหน่งวันแรก (27 มี.ค.) ว่า มีภารกิจสำคัญ 3 เรื่อง ที่จะเร่งดำเนินการในปีนี้ ได้แก่ ภารกิจที่ 1. การดูแลลูกค้าเกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งที่ผ่านมาได้มีมาตรการพักหนี้ ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้มีความเปราะบาง แม้ว่าหนี้ที่ไม่ก่อเกิดรายได้ (NPL) จะปรับลดลงมาเหลือ 8-9% จากที่เคยขึ้นไปสูงสุด 12% ในช่วงปลายปีบัญชีที่ผ่านมา รวมถึงต้องติดตามลูกหนี้กลุ่มสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ให้ดี เพราะว่าทุก 90 วันลูกหนี้กลุ่มนี้มีโอกาสที่จะไหลเป็นเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นได้

“นโยบายแก้หนี้ต้องทำทันที โดยสัปดาห์นี้จะมีการเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือแนวทางการแก้หนี้และปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งกลุ่มหนี้เสีย และกลุ่ม SM ซึ่งกลุ่มนี้อาจจะเป็นคลื่นระลอกใหม่ที่จะไหลมากระทบ โดยคาดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ไตรมาส จึงจะเห็นผลในการแก้ไขคุณภาพหนี้ได้ระดับหนึ่ง ส่วนแนวทางการลด NPLลง จะต้องมาตรวจสอบกันอีกทีว่าจะมีการจัดทำมาตรการอะไรบ้าง” นายฉัตรชัย กล่าว

สำหรับภารกิจที่ 2. การเร่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดูแลลูกค้ามากขึ้น เพื่อลดต้นทุนให้กับธนาคาร ซึ่งปัจจุบันลูกค้าของธนาคารมีจำนวนมาก มีปริมาณการทำธุรกรรมสูง แต่สัดส่วนหนี้ต่อรายไม่ได้สูงมาก ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในระยะยาว และช่วยลดต้นทุนด้วย

นายฉัตรชัย กล่าวอีกว่า ภารกิจที่ 3. การบริหารเงินฝากให้มีประสิทธิภาพ โดยจะต้องมีการใช้ประโยชน์จากสภาพคล่องส่วนเกิน บริหารงบดุลไม่ให้มีปัญหาบริหารต้นทุนเงินฝากให้สอดคล้องกับการปล่อยสินเชื่อไม่ให้ ธ.ก.ส. มีต้นทุนมากเกินความจำเป็น

อย่างไรก็ดี ธนาคารพร้อมที่จะใช้นโยบายพักหนี้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร หากเป็นนโยบายของรัฐบาล และเป็นการดูแลเกษตรกรกลุ่มเปราะบางจริง ๆ แต่ถ้าเป็นลูกหนี้ที่ไม่มีปัญหา และยังมีความวามารถในการชำระหนี้ ก็ต้องทำให้เห็นว่าการพักหนี้ไม่มีประโยชน์ เพราะดอกเบี้ยยังเดินอยู่ ขณะที่เงินต้นไม่ลดลง ซึ่งสุดท้ายก็จะกลายเป็นหนี้เสียจริง ๆ โดยเบื้องต้นอาจจะมีแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ เช่น มีน้อยจ่าย จ่ายน้อย มีมาก จ่ายมาก เพื่อรักษาวินัยลูกหนี้ ขณะเดียวกันก็ต้องมีสิทธิประโยชน์สำหรับลูกหนี้ที่ชำระดีด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธปท.คลอดเกณฑ์ส่งเสริมการร่วมลงทุนแก้ไขหนี้เสีย

ธปท.การออกหลักเกณฑ์ส่งเสริมการร่วมลงทุนเพื่อแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและช่วยเหลือลูกหนี้ด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

ธกส. โชว์ยอดเกษตรกรพักหนี้แล้ว 7 แสนราย ปักธง NPL เหลือไม่เกิน 5%

“ธ.ก.ส.” กางยอดเกษตรกรรายย่อยแห่เข้าโครงการพักหนี้แล้ว 7 แสนราย ตกค้างอีกเฉียด 1 ล้านราย ยันเร่งดำเนินการให้จบภายใน 3 เดือน พร้อมแจงเงินฝากยังแข็งแกร่ง เดินหน้าสางหนี้เสีย ปักธงสิ้นปีบัญชี 2567 กดหนี้เน่าเหลือไม่เกิน 5% เด้งรับนโยบายรัฐบาล ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าเพิ่มเติม

'ธ.ก.ส.' โอนเงินค่าบริหารจัดการข้าวเพิ่มกว่า 6,100 ล้านบาทวันนี้

ธ.ก.ส. พร้อมจ่ายเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 รอบที่ 2 วงเงินกว่า 6,100 ล้านบาท ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 20,000 บาท โดยมีเกษตรกรได้รับประโยชน์เพิ่มอีกกว่า 6.8 แสนครัวเรือน เริ่มโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง 18 ธันวาคมนี้