กกพ. เคาะเก็บค่าไฟฟ้างวด พ.ค.-ส.ค. จ่ายอัตราเดียวที่ 4.77 บาทต่อหน่วย

กกพ. เคาะขึ้นค่าเอฟที 98.27 สตางค์/หน่วย เหลือเก็บค่าไฟฟ้าอัตราเดียวทั้งประชาชนและภาคธุรกิจ จ่ายที่ 4.77 บาทต่อหน่วย มีผลงวด พ.ค. – ส.ค. 66 ย้ำฟังเสียงประชาชน พร้อมได้พิจารณาหนังสือยืนยันจาก กฟผ. ถึงความเหมาะสมของอัตราค่าไฟเรียบร้อยแล้ว

23 มี.ค. 2566 – นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า จากการประชุม กกพ. ครั้งที่ 12/2566 (ครั้งที่ 840) เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2566 ได้มีมติให้สำนักงาน กกพ. นำค่าเอฟทีประมาณการงวดเดือน พ.ค. – ส.ค. 2566 และแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นทั้ง 3 กรณี ได้แก่ กรณีที่ 1 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 293.60 สตางค์มต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 6.72 บาทต่อหน่วย , กรณีที่ 2 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 105.25 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 4.84 บาทต่อหน่วย

และกรณีที่ 3 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 4.77 บาทต่อหน่วย ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ไปตั้งแต่วันที่ 10 – 20 มี.ค. 2566 นั้น ซึ่งสำนักงาน กกพ. ได้รวบรวมและสรุปประเด็นความคิดเห็นต่อการปรับค่าเอฟทีครั้งนี้ ได้ดังนี้ เห็นด้วยกับกรณีศึกษาที่ 1 (ค่าเอฟที 293.60 สต.ต่อหน่วย) 15% , เห็นด้วยกับกรณีศึกษาที่ 2 (ค่าเอฟที 105.25 สต.ต่อหน่วย) 10% , เห็นด้วยกับกรณีศึกษาที่ 3 (ค่าเอฟที 98.27 สต.ต่อหน่วย) 30% , ให้คงค่าเอฟที เท่ากับ 93.43 สต.ต่อหน่วย 10% , ความคิดเห็นอื่น ๆ 25% และเป็นคำถาม 10%

ทั้งนี้จากการเปิดรับฟังความคิดเห็นนั้นการประชุมกกพ. ครั้งที่ 15/2566 (ครั้งที่ 843) เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2566 มีมติรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟที และได้พิจารณากรณีศึกษาการปรับค่าเอฟทีขายปลีก สำหรับเรียกเก็บในงวด พ.ค. – ส.ค. 2566 โดยมีมติเห็นชอบค่าเอฟทีเป็นอัตราเดียวกันสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยและผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เท่ากับ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้นจากงวดก่อนที่เรียกเก็บอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย

“กกพ. ได้พิจารณาหนังสือยืนยันจาก กฟผ. ถึงความเหมาะสมของอัตราค่าไฟฟ้า 4.77 บาทต่อหน่วย ประกอบแล้วด้วย ซึ่งในการพิจารณาค่าเอฟทีในงวดเดือน พ.ค. – ส.ค. 2566 เป็นการประมาณการค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นโดยอ้างอิงจากข้อมูลจริงเฉลี่ยในเดือน ม.ค. 2566 หากการดำเนินการจริงมีการเปลี่ยนแปลงไปจากค่าประมาณการดังกล่าว กกพ. จะนำส่วนต่างค่าใช้จ่ายมาปรับปรุงการคิดค่าเอฟที ในรอบต่อ ๆ ไป ตามหลักเกณฑ์การคำนวณค่าเอฟที” นายคมกฤช กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกพ.ชี้การทำงานยากขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานใหม่

กกพ.ชี้การกำกับพลังงานยากขึ้น ย้ำไทยยังต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ ชี้พลังงานหมุนเวียนยังพึ่งพาไม่ได้ 100% พร้อมเผยความท้าทายใหม่ ทั้งการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานใหม่ และความพร้อมของโครงข่ายไฟฟ้ารับการซื้อขายในอนาคต

กกพ.ประกาศลดค่าไฟฟ้าเหลือ 3.99 บาท/หน่วย อย่างเป็นทางการ

กกพ.ประกาศ ลดค่าไฟฟ้าเหลือ 3.99 บาท/หน่วย ตามมติ ครม. มีผลตั้งแต่ ก.ย. 66 โดยที่จ่ายค่าไฟฟ้าไปแล้ว จะได้รับการหักส่วนลดค่าไฟฟ้าดังกล่าวในรอบบิลเดือนต.ค.นี้ต่อไป

กกพ.เคาะค่าเอฟทีงวดใหม่ ชง 3 สูตร ค่าไฟต่ำสุด 4.45 บาท

กกพ.เปิดรับฟังความเห็น 7 - 21 ก.ค. นี้ ก่อนเคาะค่าเอฟที งวดก.ย. - ธ.ค. 66 เผย 3 กรณี ยึดการคืนหนี้ กฟผ. เป็นหลัก ส่งผลทางเลือกค่าเอฟทีต่ำสุดที่ 66.89 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นค่าไฟฟ้า 4.45 บาท หรือใช้กรณีจ่ายหนี้คืนทั้งหมด หนุนค่าไฟแพงสุด 6.28 บาทต่อหน่วย

จับตาบอร์ด กกพ. เคาะค่าเอฟที งวดพ.ค.-ส.ค.66 ลั่นข่าวดีต้นทุนต่างๆปรับตัวลง

กกพ. ชี้จับตาประชุมบอร์ด 8 มี.ค. เคาะค่าเอฟที งวดพ.ค.-ส.ค.66 ลั่นข่าวดีต้นทุนต่าง ๆ ปรับตัวลง ฉุดค่าไฟเฉลี่ยลดต่ำกว่า 5 บาทต่อหน่วยแน่นอน มีลุ้นเหลืออัตราเดียวเท่ากับบ้านที่อยู่อาศัย 4.72 บาทต่อหน่วย

ต้องลุ้น กกพ. ชี้แนวโน้มค่าไฟ พ.ค.- ส.ค. ครัวเรือนจ่ายเพิ่มแตะ 5.24 บาทต่อหน่วย

กกพ.เปิดแนวโน้มไฟฟ้างวดต่อไป พ.ค.-ส.ค. 66 ภาคครัวเรือนจ่ายเพิ่มแตะ 5.24 บาทต่อหน่วย หากรัฐไม่กำหนดให้แยก 2 ราคาเหมือนปัจจุบัน ลุ้นก๊าซอ่าวไทยเข้าตามแผน แอลเอ็นจีตลาดโลกราคาลดลง ค่าไฟมีโอกาสลดลงช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปี 67