'สภาผู้บริโภค' เสนอตัวเป็นคนกลางแก้ปมสายสีเขียว-ส้ม

“สภาผู้บริโภค”ออกแถลงการณ์เสนอตัวเป็นคนกลางแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว และเสนอยุติการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

19 มี.ค. 2566 – รายงานข่าวจากสภาองค์กรของผู้บริโภค หรือ สอบ. ได้ออกแถลงการณ์กรณีที่เกิดเหตุการณ์สำคัญกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีส้ม โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาบีท้ติ (ปปช.) มีมติแจ้งข้อกล่าวหาต่อ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมถึง บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) และผู้บริหารบริษัทรวม 13 ราย

ทั้งนี้ กรณีการว่าจ้างบริษัท BTSC เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ไปจนถึงปี 2585 ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงและไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 และเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท BTSC เพียงรายเดียว และเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมาผู้บริหารและพนักงานบริษัท BTSC ได้แถลงข่าวทวงถามค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย และค่าจ้างติดตั้งระบบเดินรถและอาณัติสัญญาณ รวมมูลค่ากว่า 50,000 ล้านบาท

ส่วนกรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม คณะรัฐมนตรีได้มีมติถอนเรื่องพิจารณาคัดเลือกเอกชนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มออกจากการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เนื่องจากยังเป็นข้อพิพาทในกระบวนการพิจารณาของศาล จากประเด็นความไม่โปร่งใสการประมูล กรณีการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน และงบประมาณส่วนต่างที่รัฐต้องจ่ายอุดหนุนให้เอกชนผู้ชนะการประมูลสูงถึงกว่า 6.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่ปัญหาสำคัญส่วนหนึ่งเกิดจากการกำหนดรูปแบบการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership : PPP) ที่ทำให้มีเอกชนเข้ามาแข่งขันน้อยรายเกินไป

ทั้งนี้จากเหตุการณ์ดังกล่าว สภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) ในฐานะผู้แทนผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 และได้จัดทำข้อเสนอนโยบายรถไฟฟ้าหลากสีให้ “ขนส่งมวลชนทุกคนขึ้นได้ทุกวัน” ติดตามการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวและการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มมาอย่างต่อเนื่อง เห็นว่า ต้องมีการจัดการปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยมีข้อเสนอต่อรัฐบาลและต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนี้

อย่างไรก็ตามกรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียว 1.ขอให้บริษัท BTSC และกรุงเทพมหานคร ยอมรับและยกเลิกสัญญาจ้างเดินรถส่วนต่อขยาย 1 และส่วนต่อขยาย 2 ที่เกินเลยระยะเวลาสัญญาสัมปทานและราคาแพงเกินจริง 2.สภาผู้บริโภคเสนอตัวเป็นคนกลางในการร่วมเจรจากับรัฐบาล กรุงเทพมหานคร และบริษัท BTSC จัดทำสัญญาใหม่โดยให้สิ้นสุดในปี 2572 ภายใต้ระยะเวลาสัญญาสัมปทานเดิม 3.สภาผู้บริโภค มีความเห็นใจต่อพนักงานบริษัท BTSC และเห็นว่า หากบริษัทยุติการเดินรถหรือเลิกเดินรถเร็วขึ้น จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในวงกว้างท่ามกลางฝุ่นพิษ PM 2.5 และส่งผลต่อสภาพคล่องของบริษัทด้วย หรือหากให้รัฐดำเนินการชำระหนี้ที่มาจากเงินภาษีของประชาชนโดยที่ยังมีข้อที่ต้องวินิจฉัยเรื่องสัญญาว่ายังมีผลตามกฎหมายอยู่หรือไม่ อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดและสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนอย่างใหญ่หลวงได้

สำหรับกรณีรถไฟฟ้าสายสีส้มทั้งตะวันตกและตะวันออก 1.ขอให้ยุติการประมูลสายสีส้มตะวันตกครั้งล่าสุด ที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และมีข้อพิพาทในชั้นศาลหลายคดี 2.ขอให้มีการประมูลสายสีส้มตะวันตกใหม่ โดยจัดให้มีสามส่วนที่สำคัญ คือ 1.ขอให้รัฐเป็นผู้ลงทุนส่วนโครงสร้าง 2.จ้างเอกชนในการเดินรถ สามจ้างเอกชนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โฆษณาเพื่อนำรายได้ลดภาระค่าโดยสารของผู้บริโภค และ3.ขอให้เริ่มการประมูลจ้างเอกชนในการเดินรถสายสีส้มตะวันออก และประมูลจ้างเอกชนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และโฆษณาเพื่อนำรายได้ลดภาระค่าโดยสารของผู้บริโภค

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยุ่งแล้ว! ‘วิรังรอง’ ร้องสภาองค์กรของผู้บริโภค ยับยั้งประมูลข้าวเก่า 10 ปี

กรณีที่รัฐบาล จะเปิดให้มีการประมูลข้าว ๑๐ ปี ในโครงการรับจำนำข้าว เพื่อให้บริษัทเอกชนนำไปจำหน่ายให้ประชาชนบริโภค หรือจะให้กองทัพซื้อให้ทหารรับประทาน

จับตา 17 ม.ค. 'สภากทม.' เคาะเคลียร์หนี้สายสีเขียว

17 ม.ค.นี้ สภา กทม.สางปัญหารถไฟฟ้า จ่อพิจารณาหนี้ติดตั้งระบบส่วนต่อขยาย “สายสีเขียว” กว่า 2.3 หมื่นล้านบาท ด้าน “ชัชชาติ” เสนอขออนุมัติงบศึกษา ลงทุนรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน 1.4 หมื่นล้าน

เด็กเฮ! บีทีเอส-สายสีทอง-บีอาร์ที เปิดให้นั่งฟรีตลอดสาย

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ โดยปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2567 บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด