“สุพัฒนพงษ์” รับเศรษฐกิจโลกชะลอ ทุบส่งออกไทยอ่วม “สภาพัฒน์” ชี้ปีนี้มีโอกาสโตติดลบ หวังท่องเที่ยว-ลงทุนช่วยหนุน เศรษฐกิจปี 2566 โตได้ตามเป้าหมายที่ 3.2% ด้าน “อาคม” ยันฐานะการคลังประเทศยังแข็งแกร่ง ทุนสำรอง 2 แสนล้านบาท พร้อมเล็งออกมาตรการภาษีหนุนจ้างงานผู้สูงอายุ
9 มี.ค. 2566 - นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน กล่าวในงาน IBussiness Forum 2023 THE NEXT THAILAND’S FUTRUE : จุดเปลี่ยนประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ว่า ต้องยอมรับว่าภาคการส่งออกของไทยกำลังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ตรงนี้สร้างแรงกดดันและทำให้สภาวะเศรษฐกิจโลกมีการชะลอตัวลง
อย่างไรก็ดี รัฐบาลตระหนักดีถึงปัญหาเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่หยุดชะงักมานานหลายปี รัฐบาลเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องทำเงินจำนวนมหาศษลเพื่อซ่อมและสร้าง ซึ่งจะช่วยดึงดูดอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มด้วย ทั้งอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ใหม่ ๆ นี่คือสิ่งที่รัฐบาลได้รุกและรับตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอาจส่งผลให้หนี้สาธารณะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่อยากให้มองว่เาป็นเรื่องธรรมดา เพราะประเทศไม่ได้มีการลงทุนก่อสร้างมานาน ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวไม่ได้ไปไหน แต่เป็นการสนับสนุนและเสริมขีดความสามารถของประเทศให้เพิ่มมากขึ้น
“รัฐบาลเร่งดำเนินการเพื่อการเติบโตของประเทศที่ยั่งยืน ภายใต้เสถียรภาพทาางการเงินและวินัยการคลังที่ดีและเป็นที่ชอบรับ ประเทศไทยไม่ได้บอบช้ำเหมือนที่หลาย ๆ คนกลัในช่วงแรก ๆ และขณะนี้สถานการณ์ต่าง ๆ กำลังกลับเข้าสู่ระดับปกติ อยากให้ทุกคนมั่นใจและมีความหวังว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยหลังจากนี้จะมีแต่ความมั่นคง โดยสิ่งที่รัฐบาลปัจจุบันได้ทำนั้น พร้อมจะส่งมอบประเทศที่มีความเข้มแข็งและมีความพร้อมเดินหน้าเศรษฐกิจไปด้วยความยั่งยืน ให้กับรัฐบาลชุดใหม่ไม่ว่าใครจะมาเป็นต่อจากนี้ก็ตาม” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง กล่าวว่า ความยั่งยืนของเศรษฐกิจไทยมี 3 เรื่องสำคัญ คือ ความยั่งยืนของเศรษฐกิจ ที่ผ่านมามักมีคำถามว่าไทยเติบโตช้ากว่าภูมิภาค แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของเศรษฐกิจไทยค่อย ๆ ปรับระดับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนจะพีคเมื่อไหร่ยังไม่สามารถตอบได้ แต่มีการวางแผนไว้ว่าการเติบโตในระดับที่มีศักยภาพและเหมาะสมกับประเทศไทย อยู่ที่ 4-5% ขณะที่ปัจจุบันคลังยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวอยู่ที่ระดับ 3.8% โดยหลังจากนี้จะต้องดูข้อมูลเศรษฐกิจในช่วงเดือน มี.ค. และ เม.ย. ก่อนจะมีการปรับประมาณการใหม่อีกครั้ง
นอกจากนี้ ยังต้องดูเรื่องเสถียรภาพของเศรษฐกิจ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มชะลอตัวลง และคาดว่าจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ระดับ 1-3% จากความพยายามของรัฐบาลในการใช้มาตรการ โดยเฉพาะด้านการคลังในการดูแลราคาพลังงาน ที่เป็นต้นทุสำคัญด้านโลจิสติกส์ และการตรึงราคาน้ำมันดีเซล ด้วยการลดอัตราภาษี พร้อมทั้งการขยายเพดานราคาน้ำมันดีเซลเป็น 35 บาท ถือเป็นระดับที่เหมาะสม ทุนสำรองระหว่างประเทศ หนี้สาธารณะ และหนี้ครัวเรือน
“ปกติเรื่องเงินเฟ้อต้องใช้นโยบายด้านการเงินในการควบคุมดูแล ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นเรื่องของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งจะต้องดูในหลายปัจจัย โดยเฉพาะต้องดูเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนและต่อเนื่อง ไม่เหมือนสหรัฐฯ ที่ต้องใช้นโยบายการเงินเพื่อดูแลไม่ให้เงินเฟ้อจากการบริโภคสูงเกินไป” นายอาคม กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการจ้างงาน แม้ว่าปัจจุบันจะปรับตัวดีขึ้นจากช่วงปี 2563-2564 แต่ต้องยอมรับว่าไทยยังเจอปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะซึ่งเป็นแรงงานที่ตลาดต้องการในอนาคต ขณะเดียวกันรัฐบาลต้องเร่งหามาตรการเพื่อมาดูแลสังคมผู้สูงวัย โดยเฉพาะผู้ที่เกษียณอายุการทำงาน 60 ปี ให้มีรายได้อยู่ได้ โดยต้องทำ 2 ทาง คือ ทำให้เกิดการจ้างงานผู้สูงอายุ ซึ่งคลังกำลังพิจารณาว่าจะมีมาตรการด้านภาษีเพื่อสนับสนุนเรื่องดังกล่าวอย่างไร และอีกด้านคือ การสร้างหลักประกันที่มั่นคงในชีวิตสำหรับผู้สูงวัย
สำหรับสถานการณ์ด้านการคลัง และฐานะการคลังในปัจจุบันยังไม่มีปัญหาอะไร โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะตอนนี้อยู่ที่ 61.26% ที่ปรับเพิ่มขึ้นเพราะตัวเลขเศรษฐกิจที่ขยายตัวขึ้น และจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ซึ่งปีงบประมาณ 2566 อยู่ที่ 6.59 แสนล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า ถือเป็นการส่งสัญญาณว่าไทยกำลังจะเข้าสู่ความยั่งยืนดานะการคลัง ทุนสำรองประเทศอยู่ที่ระดับ 2 แสนล้านบาท ขณะที่ปีงบประมาณ 2567 รัฐบาลได้มีการเพิ่มวงเงินงบประมาณรายจ่ายอีก 1.65 แสนล้านบาท มากกว่าในอดีต 2 เท่า ซึ่งทำให้รัฐบาลมีงบในการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยหลัก ๆ ราว 20% ของงบประมาณดังกล่าว เป็นเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า ปีนี้สัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกค่อนข้างชัดเจนและเร็วกว่าที่คิดไว้ โดยปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงกับภาคการส่งออกและการผลิตของภาคอุตสาหกรรมของไทยค่อนข้างมาก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 3% โดยมองว่าจะเริ่มเห็นแนวโน้มการชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีนี้เป็นต้นไป
“ปีนี้คาดการณ์ว่าการส่งออกมีโอกาสที่จะขยายตัวติดลบ แต่จะได้การลงทุนจากภาคเอกชนเข้ามาช่วยพยุงให้เศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังสามารถเติบโตได้ที่ระดับ 3.2% โดยมีค่ากลางที่ 2.7-3.7% ส่วนการจัดทำงบประมาณปี 2567 ที่อาจจะล่าช้าออกไป อาจทำให้เป็นปัญหาได้ ดังนั้นหากได้รัฐบาลใหม่เร็วก็อาจจะใช้งบประมาณพลางไปก่อนราวเดือนครึ่ง หรือถ้าช้าสุดก็น่าจะไม่เกิน 3 เดือน โดยคาดว่างบประมาณปี 2567 น่าจะเริ่มใช้ได้อย่างเป็นทางการในช่วงเดือน ม.ค. 2567 ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความท้าทายอย่างมาก” นายอนุชา กล่าว
สำหรับปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้ ได้แก่ ภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวของการลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน ส่วนข้อจำกัดหรือปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและความผันผวนของระบบเศรษฐกิจการเงินโลก ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง ท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของภาระดอกเบี้ย การลดลงของแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายของภาครัฐ
อย่างไรก็ดี การเดินหน้าประเทศตั้งแต่ปี 2566 และระยะต่อไป ต้องเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในสาขาที่มีศักยภาพเพื่อยกระดับเชิงโครงสร้าง เช่น การเพิ่มขีดความสามารถในการพัมนานวัตกรรมและารรองรับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมายในอนาคต การส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน การส่งเสริมบริการทางการแพทย์และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องทางสุขภาพ เป็นต้น
——-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นายกฯอิ๊งค์' เชื่อเศรษฐกิจไทยปีหน้ามีแนวโน้มดีขึ้น ตั้งเป้าจีดีพีโต 3%
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาทำงานที่มีนโยบายต่างๆสำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้ภาคธุรกิจและประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยในปี 2568 งบประมาณจะเพิ่มขึ้น และมีการขาดดุลการคลังที่ลดลง ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดี
Nvidia บริษัท AI ระดับโลก ไปลงทุนที่ 'เวียดนาม' แล้ว 'ไทยจะทำอย่างไร'
นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือ ดร.เอ้ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ทำไม Nvidia บริษัท AI ระดับโลก ไปลงทุนที่ "เวียดนาม" แล้ว "ไทยจะทำอย่างไร" เมื่อ "เวียดนาม" ขึ้นแท่น "ผู้นำเศรษฐกิจอาเซียน"
หอมกลิ่นความเจริญ! 'ทักษิณ' ประกาศปั้น GDP ประเทศไทยให้ถึง 4-5 %
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี บรรยายพิเศษหัวข้อ อนาคตอีสาน โอกาสประเทศไทย ในงานสัมมนา ISAN NEXT : พลิกเศรษฐกิจไทย ฝ่าวิกฤตโลก ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับเครือมติชน
'สุดารัตน์' ถามนายกฯ เตรียมรับมือเศรษฐกิจปีหน้าหรือยัง ชี้แจกเงินหมื่นไม่ตอบโจทย์
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย กล่าวถึงเศรษฐกิจประเทศไทยภายใต้รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า ในปี 2568 เศรษฐกิจไทยมีปัญหาอยู่แล้ว คือหนี้ภาคครัวเรือนที่มีสูงถึง 92%