ชธ.ปลื้ม เปลี่ยนผ่านแหล่งก๊าซบงกชราบรื่น เดินหน้าระบบแบ่งปันผลผลิตเต็มกำลัง ลั่นผลิตก๊าซธรรมชาติเกินเป้า เพื่อรองรับความต้องการใช้ในประเทศ เผยครม.ไฟเขียว 2 ยักษ์ใหญ่คว้าสิทธิประมูลแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย หวังทำเงินจากการลงทุนให้ไทยกว่า 640 ล้านบาท
8 มี.ค. 2566 – นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ(ชธ.) เปิดเผยว่า การดำเนินงานช่วงเปลี่ยนผ่านของแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช (แปลง G2/61) ในวันที่ 7 – 8 มี.ค. 2566 จากระบบสัมปทานสู่ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (ปตท.สผ. อีดี) สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องทันทีทุกขั้นตอนแบบไร้รอยต่อ และปัญหาใด ๆ และคาดว่าจะสามารถเร่งผลิตก๊าซธรรมชาติให้มากกว่าเป้าหมายของภาครัฐที่ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพื่อชดเชยปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติที่ลดลงของแปลง G1/61 (แหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณเดิม)
ทั้งนี้ กรมฯได้เตรียมความพร้อม รองรับการดำเนินงานช่วงเปลี่ยนผ่านของแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช (แปลง G2/6) โดยได้มีการตรวจติดตามสภาพความแข็งแรง ปลอดภัยของสิ่งติดตั้งและทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมของแปลง G2/61 รวมทั้งได้จัดตั้งวอร์รูม (War Room) เพื่อรองรับการบริหารจัดการสถานการณ์ช่วงเปลี่ยนผ่านในลักษณะบูรณาการ ร่วมกับผู้รับสัมปทานรายเดิม ผู้รับสัญญารายใหม่ และผู้รับซื้อปิโตรเลียม โดยมีผู้บริหารของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติบัญชาการที่ห้องวอร์รูม รวมทั้งมีทีมเฉพาะกิจภาคสนาม จำนวน 3 ทีม คอยติดตาม ควบคุมสถานการณ์อย่างใกล้ชิดบนแท่นผลิตในทะเลอ่าวไทย โดยประจำที่แท่นผลิตกลางบงกชใต้ แท่นผลิตกลางบงกชเหนือ และเรือกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวปทุมพาหะ เพื่อตรวจสอบปริมาณการผลิตปิโตรเลียมรอบสุดท้ายในช่วงเวลาก่อนหมดอายุสัมปทาน รวมทั้งวัดปริมาณปิโตรเลียมที่คงค้างในเรือกักเก็บ ก่อนที่จะมีการส่งมอบให้กับผู้รับสัญญารายใหม่อย่างเป็นทางการ
“ในวันที่ 8 มี.ค. 2566 ถือเป็นอีกวันหนึ่งในประวัติศาสตร์พลังงานของประเทศไทย ที่จะมีการใช้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตในกิจการปิโตรเลียม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงาน ได้มีการเตรียมความพร้อมทุกด้าน และเตรียมแผนรับมือในทุก ๆ จุดที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่น ไร้รอยต่อ เพื่อทำให้กระบวนการผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสามารถสนับสนุนปริมาณก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมเพื่อทดแทนการผลิตที่ลดลงจากแหล่งอื่น ๆ ได้ด้วย
ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตจะทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติที่ได้จากแปลง G2/61 ปรับลดลงประมาณ 107-152 บาทต่อล้านบีทียู (ปรับจาก 279 – 324 บาทต่อล้านบีทียู ลดลงเหลือ 172 บาทต่อล้านบีทียู) คิดเป็นมูลค่าประมาณกว่า 20,000 ล้านบาท (ตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค. – ธ.ค. 2566) ช่วยสร้างเสถียรภาพของราคา
ก๊าซธรรมชาติที่จะนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า ลดต้นทุนราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า และลดผลกระทบเกี่ยวกับราคาค่าไฟฟ้าของประชาชนได้ด้วย” นายสราวุธ กล่าว
อย่างไรก็ตามแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช เป็นหนึ่งในแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย ได้สร้างรายได้ให้แก่รัฐในรูปแบบค่าภาคหลวงปิโตรเลียม และรายได้อื่น ๆ (ค่าตอบแทนการต่อระยะเวลาผลิต) เป็นมูลค่ากว่า 230,000 ล้านบาท และจะยังคงสร้างรายได้ และความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศอย่างต่อเนื่องภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต
นายสราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติอนุมัติให้บริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (ปตท.สผ.อีดี) และ บริษัท เชฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูลในการยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย ครั้งที่ 24 โดยบริษัท ปตท.สผ. อีดี เป็นผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตสำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/65 และ G3/65 ขนาดพื้นที่รวม 19,515.42 ตารางกิโลเมตร และอนุมัติให้บริษัท เชฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตสำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/65 ขนาดพื้นที่ 15,030.14 ตารางกิโลเมตร
“กรมฯ ได้พิจารณาคำขอสิทธิสำหรับแปลงสำรวจปิโตรเลียมดังกล่าว โดยยึดหลักความโปร่งใสและผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ ทั้งจากคุณสมบัติของผู้ขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ข้อเสนอทางด้านเทคนิคและผลประโยชน์ตอบแทนรัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ที่มีศักยภาพ เกิดการสร้างงาน การสร้างรายได้แก่ท้องถิ่น รวมทั้งช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม โดยจะก่อให้เกิดการลงทุนสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมภายในประเทศตลอดช่วงระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม 6 ปี เป็นเงินไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านบาท รวมทั้งได้รับผลประโยชน์พิเศษในรูปแบบของค่าตอบแทนการลงนาม เงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาปิโตรเลียมในประเทศไทย และอื่น ๆ เป็นเงินประมาณ 640 ล้านบาท และหากสามารถพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมได้ ในเชิงพาณิชย์ ในแปลงสำรวจปิโตรเลียมดังกล่าวก็จะสามารถสร้างรายได้ให้แก่รัฐในรูปแบบของค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และส่วนแบ่งจากปิโตรเลียมที่เป็นกำไรด้วย”นายสราวุธ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปตท.สผ. เผยผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือน ปี 2567
ปตท.สผ. เผยผลการการดำเนินงานรอบ 9 เดือน ปี 2567 การขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมีความก้าวหน้าขึ้นมาก
ปตท.สผ. โชว์ 9 เดือน ส่งรายได้เข้ารัฐ 43,300 ล้านบาท
ปตท.สผ. เผยผลการการดำเนินงานรอบ 9 เดือน ปี 2567 การขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมีความก้าวหน้าขึ้นมาก ซึ่งจะช่วยขยายขีดความสามารถด้านต่าง ๆ ของบริษัททั้งปัจจุบันและอนาคต สำหรับ 9 เดือนแรกนี้ บริษัทสามารถนำส่งรายได้จากการดำเนินธุรกิจให้กับรัฐประมาณ 43,300 ล้านบาท เพื่อการพัฒนาประเทศ
ปตท.สผ. คว้ารางวัล Best CEO และ Best IR จาก IAA Awards for Listed Companies 2024
นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. รับรางวัล Best CEO
ปตท.สผ. จัดงาน PTTEP KM Week 2024 แบ่งปันองค์ความรู้ ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. และ น.ส.คณิตา ศาศวัตายุ (ขวา)
เชฟรอนสานต่อ “ค่ายเยาวชนคนดูดาว เท้าติดทะเล” สร้างแรงบันดาลใจนักดาราศาสตร์รุ่นเยาว์ปีที่6
ตลอดระยะเวลามากกว่า 6 ปี บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้เข้ามาสนับสนุนหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งการสนับสนุนการก่อสร้าง พ
ปตท.สผ. เผยผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนแรกของปี 2567 พร้อมจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 4.50 บาทต่อหุ้น
ปตท.สผ. เผยความคืบหน้าการดำเนินงานครึ่งแรกปี 2567 ประสบความสำเร็จในการขยายฐานการลงทุนในตะวันออกกลาง