“พาณิชย์”เผยสถิติจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา 3 ปี โควิด-19 พบยื่นคำขอพุ่งทะลุปีละกว่า 6 หมื่นคำขอ ลดลงจากช่วงก่อนโควิด-19 เล็กน้อย ยกเว้นการยื่นจดสิทธิบัตรยา เวชภัณฑ์ สินค้าป้องกันโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น ตอกย้ำไทยให้ความสำคัญกับการปกป้อง คุ้มครอง และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญา ระบุ WIPO ยังจัดอันดับไทยอยู่ที่ 43 ของโลก ในฐานะประเทศมีความสามารถด้านนวัตกรรม
7 มี.ค. 2566 – ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2563-65 ที่เป็นช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 คนในแวดวงเศรษฐกิจ และนักประดิษฐ์ ยังคงคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมีการยื่นคำขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภทกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อขอรับความคุ้มครอง เฉลี่ยมากกว่าปีละ 60,000 คำขอ ลดลงจากช่วงก่อนโควิด-19 เล็กน้อยเท่านั้น ยกเว้นคำขอสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ และสินค้าป้องกันโควิด-19 ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในระยะยาว
สำหรับการยื่นคำขอในปี 2563 พบว่า ยื่นคำขอรวม 66,580 คำขอ เพิ่มขึ้น 2.21% จากปี 2562 ที่มี 65,143 คำขอ แบ่งเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 7,813 คำขอ เพิ่ม 0.79% สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 5,430 คำขอ เพิ่ม 9.50% อนุสิทธิบัตร 4,186 คำขอ เพิ่ม 37.25% เครื่องหมายการค้า 49,151 คำขอ ลด 0.47%
ปี 2564 ยื่นทั้งหมด 61,984 คำขอ ลด 6.90% จากปี 2563 แบ่งเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 7,903 คำขอ เพิ่ม 1.15% สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 5,452 คำขอ เพิ่ม 0.41% อนุสิทธิบัตร 3,644 คำขอ ลด 12.95% เครื่องหมายการค้า 44,985 คำขอ ลด 8.48%
ปี 2565 ยื่นทั้งหมด 60,082 คำขอ ลดลง 3.07% จากปี 2564 แบ่งเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 8,431 คำขอ เพิ่ม 6.68% สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 5,231 คำขอ ลด 4.05% อนุสิทธิบัตร 3,324 คำขอ ลด 8.78% เครื่องหมายการค้า 43,096 คำขอ ลด 4.20%
ทั้งนี้ ผลจากการยื่นจดทะเบียนจำนวนมาก ชี้ให้เห็นว่าคนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และนำมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์มากขึ้น ส่งผลให้ในปี 2565 องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) จัดให้ไทยอยู่อันดับ 43 ของโลกประเทศที่มีความสามารถด้านนวัตกรรม จาก 130 ประเทศทั่วโลก ถือเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน โดยมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาที่ลงทุนโดยภาคธุรกิจมากเป็นอันดับ 1 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3
ขณะเดียวกัน การยื่นคำขอจำนวนมากของไทย ยังสอดคล้องกับรายงานดัชนีทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Indicators) ปี 2565 โดย WIPO ที่เผยแพร่ช่วงปลายปี 2565 ระบุว่า ปี 2564 การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของโลก ทั้งสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ แม้อยู่ในช่วงโควิด-19 โดยยื่นคำขอจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ มากถึง 3.4 ล้านคำขอ เป็นคำขอจากเอเชียมากที่สุด นำโดยจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย และสิทธิบัตรการออกแบบ 5.3 ล้านคำขอ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เริ่มแล้ว!! มหกรรมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย สุดยอดสินค้า GI ทั่วไทยถึงมือผู้บริโภคใจกลางกรุง ในงาน GI MARKET 2024 ที่เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์
เริ่มแล้ววันนี้ มหกรรมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย GI ทุกภูมิภาค ทั่วประเทศไทย รวมไว้ในงานเดียว ส่งมอบเอกลักษณ์ท้องถิ่นถึงมือผู้บริโภคใจกลางกรุง ในงาน GI MARKET 2024 จัดโดย ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
'พาณิชย์' บุกทลาย แหล่งอะไหล่เครื่องยนต์และแชมพูปลอมระบาด
กรมทรัพย์สินทางปัญญา บุกทลาย แหล่งอะไหล่เครื่องยนต์และแชมพูปลอมระบาดเสี่ยงอันตรายต่อผู้บริโภคได้
ชาวพังงาเฮ 'ปลิงทะเลเกาะยาว' ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ตัวใหม่แล้ว
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศ ขึ้นทะเบียน “ปลิงทะเลเกาะยาว” เป็นสินค้า GI ลำดับ 4 ของจังหวัดพังงาต่อจากทุเรียนสาลิกาพังงา ข้าวไร่ดอกข่าพังงา และมังคุดทิพย์พังงา ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ 3.3 ล้านบาทต่อปี
พาณิชย์ชี้ช่องผู้ออกแบบลายกางเกงลายไทยยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
กรมทรัพย์สินทางปัญญาชวนผู้ผลิต ผู้ออกแบบลายกางเกง ที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ที่สำคัญของแต่ละท้องถิ่น ยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานของการสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์ทางการค้า เผยยื่นจดง่ายผ่านออนไลน์ หรือที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ แนะต่อไป ควรพัฒนาไปถึงขั้นสร้างเครื่องหมายการค้าเป็นของตัวเอง