‘สศช’ เผยภาวะสังคมไตรมาส 4  การจ้างงานปรับตัวดีขึ้นขยายตัว 1.5%

‘สภาพัฒน์’แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาส4/65  การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น ขยายตัว 1.5% การว่างงานลดลง 1.15% ขณะที่หนี้สินครัวเรือนไตรมาส 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแต่สินเชื่อยังคงทรงตัว สั่งเฝ้าระวังสินเชื่อยานยนต์ 

2 มี.ค.2566 – นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาส 4/ 2565 ว่า สถานการณ์การจ้างงานปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ขยายตัว 1.5% จากการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคเกษตรกรรมยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่3ติดต่อกัน

สำหรับอัตราการว่างงานปรับตัวใกล้เคียงกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยอัตราการว่างงานไตรมาส4ปี 2565 อยู่ที่ 1.15 %ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกัน หรือคิดเป็นผู้ว่างงานจำนวน4.6 แสนคน ลดลงทั้งจำนวนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนและไม่เคยทำงานมาก่อนที่ 41.4 %และ 13.1ตามลำดับ 

สำหรับผู้ว่างงานระยะยาวมีจำนวนทั้งสิ้น 1.1 แสนคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.7%ขณะที่การว่างงานตามระดับการศึกษายังคงลดลงในทุกระดับ สอดคล้องกับสถานการณ์การว่างงานในระบบ

ที่ปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกัน โดยผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในไตรมาส4/2565 มีจำนวน 1.96 แสนคนหรือคิดเป็นอัตราการว่างงานในระบบที่ 1.69%ลดลงจาก 2.27 %ในช่วงไตรมาสสี่ ปี 2564

ส่วนภาพรวมสถานการณ์ด้านแรงงาน ปี 2565 อัตราการมีงานทำปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับ

เดียวกับช่วงก่อนมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ 98.3 %เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีสัดส่วนอยู่ที่

97.5 %โดยผู้มีงานทำมีจำนวน 39.2 ล้านคน ขยายตัว 1.0 %เป็นผลจากการจ้างงานนอก

ภาคเกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากที่ประเทศไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงการส่งออกทั้งปีที่ขยายตัว 5.5%เมื่อเทียบกับปี 2564 และการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง

สำหรับหนี้สินครัวเรือนไตรมาส3/2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.9%คิดเป็นสัดส่วน 86.5%ต่อ GDP ขณะที่คุณภาพสินเชื่อทรงตัว แต่ยังต้องเฝ้าระวังสินเชื่อยานยนต์ และลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19ที่ยังมีจำนวนมาก ดังนั้น จึงต้องติดตามคุณภาพสินเชื่อ ความคืบหน้า การปรับโครงสร้างหนี้ และการมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เฉพาะกลุ่ม

ส่วนการเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น 308.4%เป็นการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ ภาพรวมปี 2565 เพิ่มขึ้น 134.9%และการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ลดลง ขณะที่ผู้ป่วย

ด้วยโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายมีอัตราเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ขณะที่การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้น 3.7% ตามภาวะเศรษฐกิจและภาคท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัว นอกจากนี้จำเป็นต้องเร่งปราบปรามบุหรี่หนีภาษีที่กำลังแพร่ระบาดบนโลกออนไลน์อย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันการเข้าถึงบุหรี่ของเด็กและเยาวชน

ส่วนคดีอาญาโดยรวมลดลง 5.9 %โดยยาเสพติดลดลง 7.0% คดีชีวิต ร่างกาย และเพศ ลดลง 1.9%และคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ เพิ่มขึ้น 1.8 %

ขณะที่ภัยจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีการปรับกลยุทธ์กลโกงในหลายรูปแบบ ซึ่งประชาชน

จำเป็นต้องตระหนักและรู้เท่าทันการรับแจ้งอุบัติเหตุผู้ประสบภัยสะสมและจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น

1.1% และ 3.6 ตามลำดับ ซึ่งรถจักรยานยนต์เกิดอุบัติเหตุสูงสุด และเพื่อให้สามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตลง จำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด การออกแบบถนนที่คำนึงถึงความปลอดภัยและเสริมสร้างวินัยจราจรแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน

ส่วนหนี้สินครัวเรือนขยายตัวในทุกประเภทสินเชื่อ โดยสินเชื่อที่มีการขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่ สินเชื่อ

บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่ขยายตัวถึง 11.8 %และ 21.4 %ขณะที่สินเชื่อที่ขยายตัวในอัตราต่ำ ได้แก่ สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ขยายตัว 4.1 %สินเชื่อยานยนต์ขยายตัว 1.2 %และ

สินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจขยายตัว 3.4 %

ทั้งนี้ การขยายตัวของสินเชื่อบัตรเครดิตเป็นผลมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนที่ลดการใช้เงินสดมากขึ้นขณะที่การขยายตัวของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ซึ่งเป็นสินเชื่อที่เข้าถึงได้ง่าย มีเงื่อนไขการสมัครไม่มากวงพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม

สำหรับแนวโน้มตลาดแรงงาน ปี 2566 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจาก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่คลี่คลายลง โดยเฉพาะในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่ประเทศไทยมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ 

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ 1.การจ้างงานในอุตสาหกรรมส่งออกและโอกาสการหางานของเด็กจบใหม่ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งมีสาเหตุจากทั้งการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้การส่งออกเริ่มหดตัวมาตั้งแต่เดือนต.ค.2565 และอาจส่งผลต่อการจ้างงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการหางานของเด็กจบใหม่เนื่องจากผู้ประกอบการอาจชะลอการจ้างงานเพิ่มและเลือกที่จะเพิ่มชั่วโมงการทำงานหรือเพิ่มหน้าที่ให้แก่

แรงงานเดิม 

ทั้งนี้ ในไตรมาส4 ปี 2565 ผู้ว่างงานที่เป็นเด็กจบใหม่มีจำนวน 2.3 แสนคน โดยในจำนวนนี้ 64.5%

ระบุสาเหตุที่ว่างงานว่า หางานแล้วแต่ยังไม่ได้งาน สะท้อนให้เห็นการหางานที่ยากขึ้น

2.ภาระค่าครองชีพของแรงงานจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

ทั่วประเทศในช่วงที่ผ่านมาจะส่งผลให้อำนาจซื้อของแรงงานปรับตัวดีขึ้นบ้าง แต่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเดือนมกราคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ 5.02 และมีแนวโน้มที่จะยังคงสูงกว่าระดับปกติที่อยู่ในช่วง 1 – 2%เนื่องจากอิทธิพลจากภาวะเศรษฐกิจโลกและสงครามระหว่างประเทศ

3.ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการท่องเที่ยว ซึ่งจากผลสำรวจของกระทรวงแรงงาน พบว่า

ปัจจุบันกิจการประเภทโรงแรม ที่พัก ภัตตาคาร และร้านค้า ยังมีความต้องการแรงงานประมาณ 1 หมื่นตำแหน่งใน 60 จังหวัด ขณะที่ปี 2566 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยกว่า 28ล้านคน หรือคิดเป็นประมาณ 70%ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2562 ซึ่งภาครัฐยังคงต้องมีบทบาทในการจับคู่แรงงานกับสถานประกอบการ รวมถึงพัฒนาทักษะให้แก่แรงงานให้ตอบโจทย์ตำแหน่งงานต่าง ๆอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สภาพัฒน์' สั่งจับตาหนี้เสีย แนะแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้

‘สภาพัฒน์’เผยหนี้เสียยังเพิ่มขึ้นมาที่ 2.99% เร่งแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้ แนะจับตาประเด็นการกู้เงินนอกระบบบนโซเชียลมีเดีย ส่วนอัตราว่างงานไตรมาส 2/67 อยู่ที่ 1.07% เพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังฟื้นตัวจากโควิด

สภาพัฒน์ เตรียมชงครม.อุ๊งอิ๊ง จัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงการเดินหน้า โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท โดยจะต้องดูว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร หากรัฐบาลดำเนินมาตรการนี้ต่อก็จะต้องดูว่ามีการปรับเปลี่ยนมากน้อยแค่ไหน จากเดิมที่มีข้อเสนอสำคัญไป 2 เรื่อง คือ แหล่งที่มาของเงิน จากงบประมาณปี 67 ที่มีการใช้จ่ายแล้ว และงบประมาณปี 68 ที่จะเข้ามาวันที่ 1 ตุลาคมนี้