GC ลุยเทงบลงทุนปี 66 เกิน 10,000 ล้านบาท ลั่นแนวโน้มธุรกิจการกลั่น-ปิโตรเคมีกลับมาเติบโต สะท้อนจีนเปิดประเทศ ด้านอุตยานยนต์ สิ่งทอฟื้น ช่วยหนุนกำลังการผลิตรวมโต 15% ในปีนี้ พร้อมตั้งเป้า EBITDA ขยายตัว 4% ต่อปี
21 ก.พ.2566 -นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ประกาศทิศทางการดำเนินงานของบริษัทฯ ในปี 2566 ว่าบริษัทเตรียมแผนลงทุนรวมในปีนี้ที่ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในธุรกิจเดิมที่กำลังพัฒนาอยู่ และในกลุ่มโครงการที่จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (เน็ต ซีโร่) ลง เนื่องจากมองว่าตั้งแต่ปีนี้ไปสถานการณ์ของเศรษฐกิจก็จะเริ่มเติบโตดีขึ้น จากการเปิดประเทศของจีน และธุรกิจยานยนต์ สิ่งทอ บรรจุภัณฑ์กำลังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้การใช้อะโรเมติกส์ ที่เป็นวัตถุดิบหลักมีการใช้เพิ่มขึ้น และจะส่งผลไปยังกำลังการผลิตในภาพรวมเติบโตขึ้น 15% ในปีนี้
“รายได้ในปีนี้เรายังไม่สามรถตั้งเป้าได้ เนื่องจากต้องติดตามราคาผลิตภัณฑ์ และอัตราการแลกเปลี่ยนในปีนี้ต่อเนื่อง แต่บริษัทตั้งเป้าว่าในปี 66 จะมีแนวการเติบโตของกำไร ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) ขึ้นที่ 4% ต่อปีตามแผนที่บริษัทตั้งเป้าไว้ สะท้อนมาจากการขยายตัวของโรงกลั่นและปิโตรเคมีหลายตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มาร์จิ้นดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเรายังมีแผนรองรับวิกฤติ และเสริมความเสริมความเข้มแข็งอยู่ด้วย ขณะเดียวกันบริษัทยังวางเป้าหมายการลงทุนในโครงการ Net Zero ที่ 5,000 ล้านบาท กระจายลงทุนตั้งแต่ปี 2565 – 2573″นายคงกระพัน
ขณะที่ความก้าวหน้าโครงการในปี 2566 ประกอบด้วย โครงการปรับปรุงโรงโอเลฟินส์หน่วยที่ 2 (Olefins 2 Modification Project) ซึ่งจะทำให้โรงโอเลฟินส์หน่วยที่ 2 สามารถใช้โพรเพนเป็นวัตถุดิบในการผลิตได้เพิ่มขึ้น โครงการดังกล่าวสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของ GC ในการเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้วัตถุดิบและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว คาดว่าเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาส 1/2566 , โครงการขยายกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกโพลิโพรพิลีนสายการผลิตที่ 4 (HMC PP Line 4) ของบริษัท HMC Polymers กำลังการผลิต 250,000 ตันต่อปี เดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์เมื่อธันวาคม 2565
โครงการก่อสร้างโรงงานไบโอพลาสติก PLA แห่งที่ 2 กำลังการผลิต 75,000 ตันต่อปี ของบริษัท NatureWorks ที่จังหวัดนครสวรรค์ คาดว่าจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2567 และโครงการผลิตพลาสติกวิศวกรรมชั้นสูง ของบริษัท Kuraray GC Advanced Material (KGC) ที่ GC ร่วมทุนกับ บริษัท Kuraray และ บริษัท Sumitomo ของประเทศญี่ปุ่น เริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาส 1/2566 เพื่อผลิต High Heat Resistant Polyamide-9T (PA-9T) จำนวน 13,000 ตันต่อปี และ Hydrogenated Styrenic Block Copolymer (HSBC) จำนวน 16,000 ตันต่อปี
นายคงกระพัน กล่าวว่า จากความสำเร็จของการออกและเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินบาท ในปี 2565 แสดงถึงความเข้มแข็งทางด้านการเงินของบริษัท ทำให้ในปีนี้หากบริษัทมีความต้องการที่จะลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจที่มีศักยภาพ ก็ยังสามารถที่จะออกหุ้นกู้ได้อีก โดยมองไปที่โครงการไม่ใหญ่มาก มีความใกล้ชิดกับกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภค รวมถึงการแข่งขันต่ำ ก็เป็นโครงการที่น่าสนใจ ขณะที่ความคืบหน้าของการหาพันธมิตรโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังอยู่ในขั้นตอนการตัดสินใจ ยอมรับว่าไม่ได้เร่งรีบแต่ต้องมองถึงจุดคุ้มทุน แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีในสหรัฐอเมริกา ก็ถือว่าคุ้มค่าเนื่องจากมีต้นทุนที่ถูก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปตท.โกยกำไรครึ่งปี 6.4 หมื่นล้านบาท โต 34%
ปตท.โกยกำไรครึ่งปี 6.4 หมื่นล้านบาท โต 34% สะท้อนกลุ่มปิโตรเคมี-การกลั่นน้ำมันโต จับตาปรับแผนธุรกิจ ส่งอินโนบิก หาพาทเนอร์ร่วมทุน พร้อมเขย่ากลุ่มอีวี มุ่งเน้นการพัฒนาสถานีชาร์จเป็นหลัก ลั่นสิ้นปีนี้เห็นเงินลงทุน 5 ปี
สุดยอด คลังขายพันธบัตรออมทรัพย์ 10,000 ล้านบาท หมดภายใน 29 วินาที
กระทรวงการคลังขอขอบคุณประชาชนที่ให้การตอบรับพันธบัตรออมทรัพย์บนวอลเล็ต สบม. วงเงิน 10,000 ล้านบาท เป็นอย่างมาก พบกันอีกครั้ง 19 - 21 สิงหาคม 2567 อีก 25,000 ล้านบาท ผ่าน 6 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย
GC โชว์กำไร 999 ล้านบาท โตทะลุ 111%
นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC
'คงกระพัน อินทรแจ้ง' ขึ้นแท่น CEO ปตท. คนที่ 11
รายงานข่าวจากคณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ บอร์ด ปตท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 67 ได้ประชุมวาระการสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.คนที่ 11
ธุรกิจพลังงานอ่วมขาดทุนอื้อชี้ราคาน้ำมันดิบฉุดยอดขาย
ธุรกิจพลังงานอ่วม ปิโตรเคมี-โรงกลั่นราคาตก ตามสภาวะเศรษฐกิจ ฉุดกำไรลด ขาดทุนอื้อทะลุ 5.5 พันล้านบาท ลุ้นครึ่งปีหลังแนวโน้มดี