‘สภาพัฒน์’คาดจีดีพีไทยปี 66 ขยายตัว 3.2%

‘สภาพัฒน์’ เผยจีดีพีไทยปี 4/65 ขยายตัว 1.4% ขณะที่จีดีพีปี 65 ขยายตัวแค่ 2.6% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ 3.2% ปรับจีดีพีปี 66 เหลือ3.2% สั่งจับตาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว พร้อมเสนอแนะ 8เรื่องให้ความสำคัญในปี66

17 ก.พ.2566-นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยถึงรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่4ของปี 2565 และแนวโน้มปี 2566 ว่า การขยายตัวเศรษฐกิจไตรมาส 4/2565 ขยายตัว 1.4% จีดีพีทั้งปี 2565 ขยายตัว 2.6% จากที่สภาพัฒน์เคยคาดไว้ที่ 3.2% เนื่องจากยังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวไม่ได้ตามเป้าหมายเนื่องจากภาคการส่งออกที่ปรับลดลงมากในไตรมาสสุดท้ายที่ภาคการส่งออกติดลบลงกว่า 10.5% จากผล กระทบของเศรษฐกิจโลก การบริโภคยังไม่ขยายตัวมากนัก ค่าตอบแทนแรงงานติดลบ -1.4%

ทั้งนี้คาดการณ์ว่า จีดีพีไทยในปี 2566 ขยายตัวช่วง 2.7-3.7% หรือเฉลี่ย 3.2% มีปัจจัยหลักจาก การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 3.2% การลงทุนขยายตัว 2.2%การส่งออกติดลบ -1.6 อัตราเงินเฟ้อ 2.5-3.5% นับว่าภาคการท่องเที่ยวยังเป็นตัวสนับสนุนหลักคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติไหลเข้าไทย 28.5 ล้านคน จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างรายได้เข้าประเทศ การขยายตัวของการลงทุนภารรัฐและเอกชน การบริโภคของประชาชน เริ่มสูงขึ้น

สำหรับการลงทุนภาครัฐกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส 1.5% ปรับตัวดีขึ้นจารการลดลง 6.8 %ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการรขยายตัวของการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 10.3 %ขณะที่การลงทุน รัฐบาลลลดลง 2.2 %สสำอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ 18.6 %(ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่าย21.2 %ในไตรมานก่อนหน้าแต่สูงกว่า 17.2%ในช่วงเดียวกันของปีก่อน)

นายดนุชา กล่าวว่าแนะนำให้จับตาการชะลอตัวเศรษฐกิจโลก และความผันผวนทางการเงินโลก ภาระหนี้สินภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ ท่ามกลางแนวโน้มดอกเบี้ยสูงขึ้น การเข้าสู่บรรยากาศ การเลือกตั้ง ต้องล้มรัฐบาลหลังเลือกตั้งรัฐบาลใหม่จะมีนโยบายฟื้นเศรษฐกิจไทยอย่างไร การเติมเงินในบัตรสวัสดิการฯ จะเป็นการเพิ่มแรงซื้อให้เศรษฐกิจ โดยขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังตรวจสอบและอนุมัติผู้มีสิทธิ์ เพื่อเตรียมโอนเงินรอบใหม่ให้หลังเสนอคณะรับมนตรี(ครม.)พิจารณา รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาภาระหนี้สินภาคครัวเรือน เดินหน้าส่งเสริมการลงทุนเอกชน การส่งทำตลาดส่งออกในเชิงรุก ทดแทนในบางประเทศมีปัญหาเศรษฐกิจ

สำหรับการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2566 ควรให้ความสำคัญกับ 8 เรื่อง ได้แก่ 1.การดูแลแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกหนี้รายย่อย ทั้งหนี้สินในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)2.การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดยการเตรียมมาตรการรองรับผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาด การสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่การผลิตของภาคการเกษตร การปรับโครงสร้างการผลิตและการขยายผลการทำเกษตรยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์

3.การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้าโดยการอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก การส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดี และการสร้างตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง การพัฒนาสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า

4.การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง โดยการแก้ไขปัญหาและเตรียมความพร้อมให้ภาคการท่องเที่ยวรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมทั้งการพิจารณามาตรการสินเชื่อและ มาตรการสนับสนุนอื่น ๆ ให้ผู้ประกอบการสามารถกลับมาประกอบธุรกิจได้ การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูงและยั่งยืน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง และการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ

5.การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดยการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2563 – 2565 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะโครงการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย การแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างประเทศเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานใน ภาคการผลิต การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญ และ การพัฒนากำลังแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้มข้น

6.การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐควบคู่ไปกับการเพิ่มพื้นที่ทางการคลังเพื่อรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนในระยะปานกลางและเพิ่มศักยภาพการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ 7. การติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก และ 8. การรักษาบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘อนุสรณ์’ วิเคราะห์ ‘ทรัมป์2.0’ ไทยต้องปรับยุทธศาสตร์ ศก. พึ่งพาตัวเองมากขึ้น

ทรัมป์ 2.0 ไทยต้องปรับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจหันพึ่งพาตัวเองมากขึ้น สินค้านอกข้อตกลงเอฟทีเอกระทบรุนแรง สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯรอบใหม่อาจนำไปสู่สงครามเย็นรอบใหม่ในไม่ช้า

เศรษฐกิจไทย ทำไมยังไม่ไปไหนเสียที

ก่อนหน้าที่ดิฉันจะเข้าทำงานที่องค์การสหประชาชาติเมื่อเกือบ 8 ปีก่อน ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยได้ชื่นชมประเทศไทยมากนัก เพราะรถติดมากแทบทุกวัน

ไทยพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% เริ่ม 1 พ.ย.

ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

สภาพัฒน์ เตรียมชงครม.อุ๊งอิ๊ง จัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงการเดินหน้า โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท โดยจะต้องดูว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร หากรัฐบาลดำเนินมาตรการนี้ต่อก็จะต้องดูว่ามีการปรับเปลี่ยนมากน้อยแค่ไหน จากเดิมที่มีข้อเสนอสำคัญไป 2 เรื่อง คือ แหล่งที่มาของเงิน จากงบประมาณปี 67 ที่มีการใช้จ่ายแล้ว และงบประมาณปี 68 ที่จะเข้ามาวันที่ 1 ตุลาคมนี้