กสทช. ทำอะไรกับการรวมกิจการได้หรือไม่

24 พ.ย. 2564 นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน) เขียนบทความเกี่ยวกับการควบรวมกิจการของ 2 บริษัทโทรคมคมคม โดยมีเนื้อหาดังนี้

ข่าวการรวมกิจการระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่โทรคมนาคมกำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีความกังวลว่าจะเกิดอะไรขึ้น และใครต้องเข้าไปกำกับการรวมกิจการนี้ ในขณะที่ทั้งสองค่ายซึ่งจะรวมกิจการกันนั้น ต่างยืนยันว่าเป็นเพียงการศึกษาความเป็นไปได้ และอยู่ในขั้นตอนการเจรจา ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปและยังไม่แน่นอนว่าจะเกิดการรวมกิจการกันหรือไม่

ข้อมูลที่ชัดเจนมีเพียงว่า เป็นการเจรจาระหว่างทรูคอร์ปและดีแทค (บริษัทแม่) ไม่ใช่ ทรูมูฟเอชและดีแทคไตรเน็ต (บริษัทลูก) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคม จึงต้องพิจารณาว่า บริษัทแม่มีกิจการและจะรวมกิจการอะไรบ้าง ในส่วนกิจการโทรคมนาคมนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. อย่างแน่นอน แต่หากมีบริษัทลูกที่ประกอบกิจการอื่นและอยู่ในกรอบการเจรจารวมกิจการในครั้งนี้ ก็ต้องพิจารณาตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกฎหมายแข่งขันทางการค้า

ในส่วน กสทช. มีประกาศหลักที่กำกับดูแลในกรณีนี้ คือ ประกาศเรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 (ประกาศแข่งขัน) และประกาศเรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม (ประกาศรวมธุรกิจ)

ประกาศแข่งขัน เน้นหลักการว่า การกระทำหรือพฤติกรรมลักษณะใดเป็นการผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งขัน และกำหนดกระบวนการไต่สวนว่ามีการกระทำลักษณะดังกล่าวหรือไม่ หากมี กสทช. ก็มีอำนาจกำหนดมาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันหรือระงับการกระทำเหล่านั้น ซึ่งประกาศแข่งขันได้กำหนดพฤติกรรมต้องห้าม คือการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน โดยเข้าซื้อหุ้นหรือสินทรัพย์ของผู้ให้บริการรายอื่น เพื่อควบคุมนโยบายหรือการบริหารธุรกิจ ไม่ว่าโดยทางตรง ทางอ้อม หรือผ่านตัวแทน ทั้งหมดนี้ไม่สามารถกระทำได้ (ถือเป็นพฤติกรรมต้องห้าม) ยกเว้นได้รับอนุญาตจาก กสทช.

ส่วนประกาศรวมธุรกิจมุ่งเน้นที่หลักการว่าอะไรคือการรวมธุรกิจตามประกาศนี้ และกระบวนการรวมธุรกิจต้องรายงาน กสทช. อย่างไรบ้าง และหากการรวมธุรกิจส่งผลกระทบต่อการแข่งขัน กสทช. มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น แม้ประกาศนี้จะไม่ได้ให้อำนาจ กสทช. ในการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้รวมกิจการ แต่การที่ข้อ 9 ของประกาศนี้ กำหนดให้การรายงานตามข้อ 5 ถือเป็นการขออนุญาตตามข้อ 8 ของประกาศแข่งขัน ก็เท่ากับเป็นการยืนยันอำนาจการพิจารณาของ กสทช. ที่มีอยู่ตามประกาศแข่งขันนั่นเอง

หากการรวมกิจการของ 2 ยักษ์ใหญ่ในครั้งนี้ เข้าลักษณะตามประกาศแข่งขัน กสทช. ย่อมมีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต

อย่างไรก็ตาม หากมีความกังวลเรื่องความไม่ชัดเจนของประกาศ กฎหมายอย่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับปัจจุบันก็ให้อำนาจ กสทช. ตามมาตรา 27 (11) ในการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

เมื่อแนวคิดการรวมกิจการยังอยู่ในขั้นเจรจาศึกษาความเป็นไปได้ กสทช. ย่อมมีเวลาที่จะปรับปรุงประกาศให้ชัดเจนและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ แต่หากนิ่งเฉยปล่อยให้เวลาเนิ่นนานออกไปจนการรวมกิจการเกิดขึ้นแล้ว สังคมอาจเกิดความสงสัยว่า เจตนาการไม่ปรับปรุงประกาศคือเจตนาการอนุญาตอย่างเงียบๆ หรือไม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประธานกสทช. สั่งบี้ ‘ทรู-ดีแทค’ ต่อเนื่องโต้ ‘ศิริกัญญา’ ยันบอร์ดทำตามกฎหมาย

ประธานกสทช. เดินหน้าขับเคลื่อนแผนคุ้มครองลูกค้าทรู-ดีแทค ทั้งด้านโปรโมชั่นและบริการ รับยังไม่พอใจผลการหารือกับผู้ประกอบการ เร่งสำนักงานกสทช.หาพื้นที่มีปัญหาให้ชัดจะแก้ตรงจุด ตอบโต้ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ย้ำวาระบอร์ดทำตามกระบวนการกฎหมาย กรรมการ 4 คน เสนอมาก็ต้องไม่ลัดขั้นตอนหรือใช้ต่อรองเพื่อเข้าร่วมประชุม

กสทช.ตื่นนัดสื่อแถลงข่าวมาตรการเยียวยาผู้บริโภค กรณีทรู-ดีแทค วันนี้

ผู้สื่อข่าว รายงานข่าวว่า สำนักงาน กสทช. ได้แจ้งสื่อมวลชนว่า ในวันที่ 19 ธ.ค. นี้ จะมีการจัดแถลงข่าวเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาผู้บริโภคในเรื่องอัตราค่าบริการ คุณภาพสัญญาณ

'ทรู' โร่ชี้แจง กสทช. ยันหลังควบรวมดีแทค สัญญาณดีขึ้น - ลูกค้าใช้งานเพิ่ม

ทรู คอร์ปอเรชั่น เข้าชี้แจง กสทช. คลายปมประเด็นคุณภาพสัญญาณ และแพ็กเกจค่าบริการย้ำจุดยืนควบรวมสู่บริษัทโทรคมนาคม - เทคโนโลยีชั้นนำของไทย เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า

ทรู - ดีแทค แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการควบรวมกิจการ

เนื่องจาก ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีหลายฝ่าย อาจมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง แล้วมีการสื่อสารจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการให้บริการของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่ง บริษัทฯ ได้ยึดถือปฏิบัติตามกฎหมายรวมทั้งเงื่อนไขภายหลังการควบรวมของ กสทช. มาโดยตลอด 

ทรู ยืนยันผลคำสั่งศาลปกครองสูงสุดไม่กระทบการควบรวมทรู ดีแทค

ตามที่เมื่อวานนี้ (30 ตุลาคม 2566) ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคำฟ้องในคดีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นฟ้องขอเพิกถอนมติ กสทช. ที่เกี่ยวเนื่องกับการควบรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC ไว้พิจารณาพิพากษาตามรูปคดีต่อไปนั้น

ศาลปกครองสูงสุด สั่งรับพิจารณาคำฟ้องเพิกถอนมติ กทสช. ควบรวมทรู-ดีแทค

ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งกลับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้รับคำฟ้องไว้พิจารณาวินิจฉัย ในคดีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงาน กสทช. กรณีขอให้เพิกถอนมติ