“สรรพากร” แจงปีนี้ถือไม้เรียวพร้อมขึงเกณฑ์ความเสี่ยง ลุยตรวจเข้มข้นขอคืนภาษี รับ 2-3 ปีที่ผ่านมาเจอทุจริตอื้อ เดินเครื่องแก้หลักเกณฑ์เพิ่มผู้เล่นธุรกิจ Service Provider หนุนเปิดโซลูชั่นช่วยยื่นภาษี อุ้มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพเข้าระบบมากขึ้น
10 ก.พ. 2566 – นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ปีนี้การคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะมีการตรวจสอบรายละเอียดมากขึ้น โดยจะมีการเพิ่มเกณฑ์ในการตรวจสอบเอกสารในการขอคืนภาษีมากขึ้นสำหรับกลุ่มที่มีสัญญาณความเสี่ยง เนื่องจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตในการยื่นขอคืนภาษีจำนวนหนึ่ง ซึ่งก็ได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว
“ปีนี้มีการเพิ่มเกณฑ์สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการขอคืนภาษีเข้าไป เพราะก่อนหน้านี้มีการตรวจเจอแล้ว และจับได้แล้วว่ามีการทุจริตในการยื่นขอคืนภาษี เนื่องจากที่ผ่านมามีกระบวนการในการยื่นและคืนภาษีค่อนข้างเร็ว ทำให้มีการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น แต่คงบอกไม่ได้ว่าเป็นการทุจริตแบบใด ดังนั้นปีนี้หากผู้ที่ยื่นขอคืนภาษีแล้ว 7 วันยังไม่ได้คืนภาษี ก็แปลว่าอาจจะมีสัญญาณอะไรในตัวผู้ยื่น จากปกติที่ยื่นภาษีแล้วจะได้คืนภาษีภายใน 3 วัน โดยปัจจุบันมีผู้อยู่ในฐานภาษี 11 ล้านราย เป็นผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ 4 ล้านราย โดยในจำนวนนี้กว่า 90% เป็นการยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์” นายลวรณ กล่าว
นอกจากนี้ กรมสรรพากรอยู่ระหว่างเตรียมแก้หลักเกณฑ์เพื่อเปิดทางให้สถาบันการเงินและสตาร์ทอัพซอฟท์แวร์เฮ้าส์ ที่เชี่ยวชาญระบบบัญชีและภาษีสามารถเป็นผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลระบบบัญชีและภาษีรวมถึงสามารถยื่นภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Tax Service Provider) ได้ เพื่อให้มีผู้เล่นในตลาดเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันมีผู้ให้บริการ Service Provider ที่ได้รับใบอนุญาติจากกรมสรรพากรแล้ว ประมาณ 20 ราย โดยคาดว่าภายในเดือน มี.ค. 2566 น่าจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว
ทั้งนี้ เนื่องจากในปีนี้กรมฯ มีการปรับกลยุทธ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษี และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น และอยากทำให้เรื่องภาษีเป็นเรื่องง่ายสำหรับทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจตั้งใหม่ที่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการด้านภาษีอย่างมาก ดังนั้นการอัพเกรดบริการ Service Provider ให้มีบริการ Tax Service Provider ให้สามารถใช้ซอฟท์แวร์ด้านภาษีและบัญชีมาบริการลูกค้าในกลุ่มดังกล่าว เพื่อจะได้ไม่ต้องกังวลในเรื่องการชำระภาษีให้ถูกต้อง
“ปัจจุบันสถาบันการเงินยังไม่สามารถทำตรงนี้ได้ เราก็จะแก้เกณฑ์ให้สามารถทำได้ โดยจะขยายบทบาทให้ทำได้ตั้งแต่ทำบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ ทำเพย์เม้น ไปจนถึงกระบวนการยื่นภาษีต่าง ๆ โดยกรมสรรพากรอย่างเห็นภาพว่าบริษัทตั้งใหม่ หรือบริษัทสตาร์ทอัพที่พัฒนาซอฟท์แวร์ด้านบัญชีและภาษี มีการยกระดับธุรกิจซอฟท์แวร์เฮ้า พัฒนาตนเองมาให้บริการในส่วนนี้ ก็จะเป็นการต่อยอดการให้บริการลูกค้าไปในตัวด้วย ขณะที่ผู้ให้บริการปัจจุบัน 20 ราย ก็ต้องปรับตัว เพื่อตอบโจทย์การให้บริการลูกค้าให้อยากมาเข้าระบบภาษีมากขึ้น” นายลวรณ กล่าว
อย่างไรก็ดี ในส่วนของความคืบหน้าเกี่ยวกับภาษีการขายหุ้นนั้น ขณะนี้กฤษฎีกาได้มีการตรวจร่างกฎหมายเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างรอนำขึ้นทูลเกล้าฯ ส่วนจะเป็นเมื่อไหร่คงต้องดูความเหมาะสมในหลาย ๆ เรื่อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กฤษฎีกาตีตก! 'กิตติรัตน์' ไม่ผ่านคุณสมบัติประธานบอร์ดแบงก์ชาติ เพราะเป็นที่ปรึกษานายกฯ
นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่านายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ไม่ผ่านคุ
Virtual Bank ..ธนาคารในโลกดิจิทัล มุมมอง..ผ่านวิสัยทัศน์ 'ผยง ศรีวนิช'
ตั้งแต่กระทรวงการคลัง ประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจ Virtual Bank หรือ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ..จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคุณสมบัติ ศักยภาพ และความสามารถของผู้ขออนุญาต โดยคาดว่าจะสามารถประกาศรายชื่อได้ภายในช่วงกลางปี 2568 โดยผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถเปิดดำเนินธุรกิจได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
'ปลัดคลัง' ชี้ข้อห่วงใยผู้ว่าแบงก์ชาติ ไม่ทำให้ 'ดิจิทัลวอลเล็ต' สะดุด
นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการเข้าพบ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง โดยให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ส่งหนังสือถึงคณะรัฐมนตรี(ครม.)
เดินหน้าแจกดิจิทัลวอลเล็ต หลังเพิ่มทางเลือกแหล่งเงิน
หลังเมื่อวันจันทร์ที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา “จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.การคลัง” เปิดแถลงข่าวไทม์ไลน์นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต โดยยืนยันว่ารัฐบาลจะเดินหน้านโยบายดังกล่าวต่อไป และจะสามารถแจกเงินให้ประชาชน 10,000 บาท ได้ภายในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ คือประมาณ ตุลาคม-ธันวาคม 2567
รัฐจัดหนัก 'ลดภาษีสุราชุมชน - สถานบันเทิง' หนุนไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว
มาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่าย
คลังจ่อชงครม.ลดภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พร้อมเล็งยกเลิกดิวตี้ฟรีขาเข้า
“คลัง” เตรียมชง ครม. ลดภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุราชุมชนเฮด้วย หวังกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว ชี้ราคาต้องเหมาะสม-จับต้องได้ คาดบังคับใช้ภาษีใหม่ได้ ม.ค. 2567 พร้อมเล็งยกเลิกดิวตี้ฟรีขาเข้า ช่วยบูมการใช้จ่ายในประเทศ มองร้านค้ารับอานิสงส์เต็มสูบ