‘อาคม’ การันตีไม่เลื่อนเก็บภาษีขายหุ้น

“อาคม” การันตีไม่มีเลื่อนเก็บภาษีขายหุ้น ยันทุกอย่างเดินหน้าตามขั้นตอนเต็มสูบ ส่วนจะประกาศเมื่อไหร่ยังบอกไม่ได้

2 ก.พ. 2566 – นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง กล่าวว่า ยืนยันว่าไม่มีการเลื่อนการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกา และรอทูลเกล้าฯ แต่บอกไม่ได้ว่าจะประกาศเมื่อไหร่

“ตอนนี้ยังรออยู่ ทุกอย่างยังอยู่ในขึ้นตอนของกฤษฎีกาพิจารณา ยืนยันว่าไม่มีการเลื่อนแน่นอน ส่วนจะประกาศเมื่อไหร่ยังบอกไม่ได้” นายอาคม ระบุ

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติหลักการยกเลิกการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนที่ 4 ถัดจากเดือนที่พระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษา (Grace Period ประมาณ 90 วัน) นั้น ความคืบหน้าขณะนี้ได้เดินหน้ากฎหมายตามขั้นตอนโดยได้เตรียมเสนอร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าและรอการโปรดเกล้า เพื่อลงในประกาศราชกิจจานุเบกษา ซึ่งระยะเวลาในการจัดเก็บภาษีเป็นไปตามขั้นตอนตามกฎหมายไว้ระบุไว้ทุกอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง

“กรมสรรพากรคาดว่า ร่างกฎหมายจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ในเดือน ม.ค. 2566 และเริ่มเก็บภาษีได้ในวันที่ 1 ของเดือนที่ 4 ถัดไป ก็น่าจะเป็นวันที่ 1 พ.ค. 2566 การเว้นช่วงเวลา โดยไม่เก็บภาษีทันทีที่กฎหมายมีผลบังคับใช้นั้น เพราะต้องการให้โบรกเกอร์และผู้เกี่ยวข้องมีเวลาเตรียมระบบในการซื้อขายและการหักภาษี เพื่อนำส่งให้กรมสรรพากร โดยกรมสรรพากรเชื่อมั่นว่า ตลาดหลักทรัพย์จะปรับตัวได้ในไม่ช้า ไม่น่าเป็นห่วงอย่างที่นักลงทุนกังวลมากเกินไป” นายลวรณ กล่าว

สำหรับการจัดเก็บภาษีขายหุ้นนั้น แบ่งการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเป็น 2 ช่วง ในอัตรา ดังนี้ ช่วงที่ 1 จัดเก็บในอัตรา 0.05% (0.055% เมื่อรวมกับภาษีท้องถิ่น) ตั้งแต่วันที่ พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2566ช่วงที่ 2 จัดเก็บในอัตรา 0.1% (0.11% เมื่อรวมกับภาษีท้องถิ่น) ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ยังคงการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้แก่ 1.ผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เฉพาะการขายหลักทรัพย์ที่บุคคลนั้นได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องของหลักทรัพย์นั้น 2.สำนักงานประกันสังคม3.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 4.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 5.กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน 6.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ 7.กองทุนการออมแห่งชาติ และ 8.กองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมแก่สำนักงานประกันสังคมหรือกองทุนตามข้อ 3 – 7 เท่านั้น

โดยในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีนี้ กฎหมายได้กำหนดให้สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ (Broker) ที่เป็นตัวแทนของผู้ขายมีหน้าที่หักภาษีธุรกิจเฉพาะจากเงินที่ขายและยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษีในนามตนเองแทนผู้ขาย โดยผู้ขายไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีก

โดยประเทศไทยได้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีดังกล่าวมามากกว่า 30 ปี ซึ่งการยกเลิกการยกเว้นการจัดเก็บภาษีในครั้งนี้ อาจส่งผลให้ต้นทุนการทำธุรกรรมในตลาดหลักทรัพย์ ของไทยสูงขึ้น จาก 0.17% เป็น 0.22% แต่ยังอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ โดยต่ำกว่าของมาเลเซีย ซึ่งอยู่ที่ 0.29% และของฮ่องกงซึ่งอยู่ที่ 0.38% แต่อาจสูงกว่าของสิงคโปร์ซึ่งอยู่ที่ 0.20% เล็กน้อย

อย่างไรก็ดี ในปีแรกของการจัดเก็บภาษีที่มีการลดอัตราภาษีเหลือ 0.055% ต้นทุนดังกล่าวจะอยู่ที่ 0.195% ซึ่งใกล้เคียงกับของสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีดังกล่าวนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่อง ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในระยะยาว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กฤษฎีกาตีตก! 'กิตติรัตน์' ไม่ผ่านคุณสมบัติประธานบอร์ดแบงก์ชาติ เพราะเป็นที่ปรึกษานายกฯ

นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่านายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ไม่ผ่านคุ

Virtual Bank ..ธนาคารในโลกดิจิทัล มุมมอง..ผ่านวิสัยทัศน์ 'ผยง ศรีวนิช'

ตั้งแต่กระทรวงการคลัง ประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจ Virtual Bank หรือ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ..จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคุณสมบัติ ศักยภาพ และความสามารถของผู้ขออนุญาต  โดยคาดว่าจะสามารถประกาศรายชื่อได้ภายในช่วงกลางปี 2568 โดยผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถเปิดดำเนินธุรกิจได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ

'ปลัดคลัง' ชี้ข้อห่วงใยผู้ว่าแบงก์ชาติ ไม่ทำให้ 'ดิจิทัลวอลเล็ต' สะดุด

นายลวรณ​ แสงสนิท​ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการเข้าพบ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง โดยให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่​นายเศรษฐพุฒิ​ สุทธิวาทนฤพุฒิ​ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ส่งหนังสือถึงคณะรัฐมนตรี(ครม.)

เดินหน้าแจกดิจิทัลวอลเล็ต หลังเพิ่มทางเลือกแหล่งเงิน

หลังเมื่อวันจันทร์ที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา “จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.การคลัง” เปิดแถลงข่าวไทม์ไลน์นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต โดยยืนยันว่ารัฐบาลจะเดินหน้านโยบายดังกล่าวต่อไป และจะสามารถแจกเงินให้ประชาชน 10,000 บาท ได้ภายในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ คือประมาณ ตุลาคม-ธันวาคม 2567