ตะลึง ‘ดีอีเอส’ พบ ‘เฟคนิวส์’ บนโลกออนไลน์สูงถึง 3.4 ล้านข้อความต่อสัปดาห์

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สรุปสถานการณ์ข่าวปลอมสัปดาห์ล่าสุด  พบข่าวปลอมนโยบายรัฐบาลยังนำโด่ง โดยข่าวปลอมที่ประชาชนสนใจมากที่สุด ได้แก่ ธกส.สนับสนุนค่าตอบแทนผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีละ 893 ล้านบาท วอนอย่าหลงเชื่อ หยุดแชร์ หยุดส่งในโลกออนไลน์   

30 ม.ค. 2566 – นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส)         เผยถึงผลสรุปการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมช่วงสัปดาห์นี้ (20 – 26  มกราคม 2566 ) พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,397,995 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 257 ข้อความ แบ่งเป็นข้อความที่มาจาก Social listening จำนวน 236 ข้อความ และข้อความที่มาจาก Line Official จำนวน 21 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 124 เรื่อง  ทั้งนี้ ดีอีเอสได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 :  นโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรม  อันดี และความมั่นคงภายในประเทศจำนวน 71 เรื่อง

กลุ่มที่ 2:   ผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 29 เรื่อง

กลุ่มที่ 3 :  ภัยพิบัติ จำนวน 7 เรื่อง

กลุ่มที่ 4 :  เศรษฐกิจ จำนวน 17 เรื่อง  

สำหรับข่าวปลอมทั้ง 4 กลุ่มมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องโควิค-19 จำนวน 2 เรื่อง

นางสาวนพวรรณ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจลำดับต้น ๆ ในสัปดาห์ล่าสุดนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นข่าวปลอมด้านนโยบายรัฐบาล และสุขภาพ สำหรับข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับ ระหว่างวันที่ 20 – 26  มกราคม 2566  ได้แก่

อันดับที่ 1 : ธกส. สนับสนุนค่าตอบแทนผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีละ 893 ล้านบาท

อันดับที่ 2 :  ดื่มน้ำต้มตะไคร้ มะตูมแห้งและเกสรบัวหลวงก่อนนอนช่วยความจำ

อันดับที่ 3  : ป้องกันการปวดหัว โดยใช้น้ำตบท้ายทอยเบา ๆ สัก 2 – 3 ครั้ง ทุกวันตอนเช้า

อันดับที่ 4 :  สูตรเครื่องดื่มธัญพืชหรือน้ำอาร์ซี สามารถรักษาโรคมะเร็งได้

อันดับที่ 5 :  รัฐบาลเตรียมสั่งทุบวัดในเขตอุทยาน 6,000 แห่งทั่วประเทศ

อันดับที่ 6 :  ธนาคารออมสิน ส่ง SMS ให้กดรับสิทธิ์กู้เงิน

อันดับที่ 7 :  Mistletoe ยาฆ่าเซลล์มะเร็งทางเลือกใหม่ที่ไม่ทำลายเม็ดเลือดขาว

อันดับที่ 8 :  ออมสินเปิดสินเชื่อให้ยืม เพื่อทำธุรกิจต้องการเงินลงทุนผ่านเพจเฟซบุ๊ก

อันดับที่ 9 :  รัฐบาลเล็งเตรียมเก็บภาษีรถเก่าอายุ 10 ปี กระตุ้นเศรษฐกิจป้ายแดง

อันดับที่ 10 : รับประทานผักกาดขาวเป็นประจำ ช่วยรักษาอาการตับอักเสบ

พร้อมกันนี้ นางสาวนพวรรณ ยังขอความร่วมมือประชาชน เมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลผ่านโซเชียล ควรตรวจสอบให้รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกแชร์ เพื่อความปลอดภัยและรู้เท่าทัน โดยทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ติดตามความเคลื่อนไหวข้อความที่ผิดปกติในทุกช่องทางและได้มีการติดตามการกระทำผิดอย่างต่อเนื่องเพื่อปกป้องประชาชนจากมิจฉาชีพในทุกรูปแบบ หากท่านได้รับการแจ้งข้อมูลที่ผิดปกติ ผ่านเอสเอ็มเอส หรือทางโทรศัพท์ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น สามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือนข่าวปลอม! ธนาคารกรุงไทย เปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นรอบใหม่

นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ

ดีอี ระวังข่าวปลอม 'PEA' ส่ง SMS ให้ตรวจสอบสิทธิรับเงินคืนประกัน

ดีอี เตือน ข่าวปลอม “PEA ส่ง SMS ให้ตรวจสอบสิทธิรับเงินคืนประกันที่ www.การไฟฟ้าสำนักงานใหญ่.com” ขออย่าเชื่อ-แชร์ หวั่นสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล

เตือนระวังข่าวปลอม ลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ดีอี เตือน อย่าเชื่อ-แชร์ ข่าวปลอม “เปิดลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ผ่านเพจ หน่วยงานคุ้มครองสิทธิ์อาชญากรรมทางออนไลน์” หวั่นปชช.สูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล

ดีอี เตือนอย่าเชื่อข่าว รัฐยกเลิกการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

ดีอี เตือน อย่าเชื่อ-แชร์ ข่าวปลอม “ประกาศยกเลิกการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท” หวั่นสร้างความเข้าใจผิดให้สังคม

ดีอี เตือน ข่าวปลอม โรงพยาบาลดังเปิดให้ลงทุนหุ้น อย่าเขื่อเสี่ยงสูญเงิน

ดีอี เตือน ข่าวปลอม “โรงพยาบาลดังเปิดให้ลงทุนหุ้น กำกับดูแลโดย ก.ล.ต.” อย่าเชื่อ-แชร์ เสี่ยงสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล

'ดีอี' เตือน ข่าวปลอม 'ปปง.' เปิดเพจแจ้งความรับเงินคืนจากคดีออนไลน์

ดีอี เตือน ข่าวปลอม “ปปง. เปิดเพจแจ้งความ รับเงินคืนจากคดีออนไลน์” พบ “โจรออนไลน์” ใช้เป็นช่องทางหลอกลวงข้อมูล-หลอกโอนเงิน