นับหนึ่ง พาณิชย์เดินหน้าเจรจา FTA ไทย-อียู

“จุรินทร์”บันทึกประวัติศาสตร์ ประกาศเจตจำนงร่วมกันกับสหภาพยุโรป (อียู) เริ่มต้นให้แต่ละฝ่ายดำเนินกระบวนการภายใน เพื่อนำไปสู่การเปิดเจรจา FTA ไทย-อียู เผยในส่วนของไทย เตรียมเสนอ ครม. ให้ความเห็นชอบ ส่วนอียู ขอคำรับรองจาก 27 สมาชิก คาดเสร็จในไตรมาสแรกปีนี้ ระบุจะช่วยสร้างแต้มต่อให้กับไทยในตลาดใหม่ 27 ประเทศ ช่วยเพิ่มรายได้ และทำอนาคตดีขึ้น

26 ม.ค. 2566 – นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการหารือทวิภาคีกับนายวัลดิส โดมโบรฟสกิส รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปด้านเศรษฐกิจและกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า หรือรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของสหภาพยุโรป เมื่อช่วงเเย็นวันที่ 25 ม.ค.2566 ตามเวลาท้องถิ่น ที่ Le Berlaymont กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม ว่า วันนี้ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของไทยกับสหภาพยุโรป ได้มีการเจรจาทำ FTA ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป เป็นการเจรจาที่มีผลสัมฤทธิ์ที่ฝ่ายการเมืองของทั้ง 2 ฝ่าย มีข้อสรุปแสดงเจตจำนงร่วมกันในการเริ่มต้นให้แต่ละฝ่ายดำเนินกระบวนการภายใน เพื่อนำไปสู่การจัดทำ FTA ระหว่าง 2 ฝ่ายต่อไปโดยเร็ว 

“ถือเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายการเมืองทั้ง 2 ฝ่าย ประชุมและแสดงเจตจำนงร่วมกัน โดยในส่วนของประเทศไทย ผมจะนำเข้าหารือเดินหน้าสู่การนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบในการจัดทำ FTA ไทย-อียู ส่วนรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีการค้าของสหภาพยุโรป จะนำผลการหารือไปดำเนินการภายในของสหภาพยุโรป ขอคำรับรองจากสมาชิก 27 ประเทศ ตั้งเป้าจะดำเนินการตามกระบวนการภายในให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด เพื่อประกาศนับหนึ่งการเริ่มต้นเจรจา FTA ไทยกับสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการต่อไป โดยทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าว่าจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปีนี้”นายจุรินทร์กล่าว

ทั้งนี้ ไทยได้ใช้ความพยายามในการเจรจาทำ FTA กับสหภาพยุโรปมาเกือบ 10 ปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถนับหนึ่งในลักษณะนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม จนมาประสบความสำเร็จในครั้งนี้ และหากทำสำเร็จ ไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ในอาเซียน ที่มี FTA กับอียู คือ เวียดนาม สิงคโปร์ และไทย ทำให้ประเทศไทยจะมีตลาดการค้าที่ได้ได้เปรียบคู่แข่งขันจากประเทศอื่นเพิ่มขึ้น 27 ประเทศ เป็นแต้มต่อสำหรับประเทศไทยทั้งในเรื่องการค้า การค้ายริการ การลงทุน และอื่น ๆ ในอนาคต เป็นการสร้างเงิน สร้างอนาคตให้กับประเทศต่อไป

สำหรับสหภาพยุโรป เป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ของไทยรองจากจีน สหรัฐฯ  และญี่ปุ่น การค้าระหว่างไทยกับอียู ปี 2565 มีมูลค่า 41,038 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.87% สัดส่วนการค้าที่ไทยค้ากับสหภาพยุโรป ประมาณ 7% ของการค้ากับโลก ถือว่าเป็นคู่ค้าที่มีความสำคัญ และไทยส่งออกไปอียูปี 2565 คิดเป็น 22,794 ล้านเหรียญสหรัฐ (843,378 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 5.17% สินค้าที่ไทยส่งออกไปอียูส่วนใหญ่ คือ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รถยนต์และอุปกรณ์ แอร์และอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ยางพารา อัญมณีและเครื่องประดับ ไก่แปรรูป เป็นต้น สินค้าที่นำเข้าจากอียูสำคัญ เช่น เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และย า เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นายกฯอิ๊งค์' สวมผ้าไหมไทย ถก 'ปธน.เปรู' ผลักดัน FTA ให้เสร็จปี 68

นายกฯ สวมผ้าไหมไทยศูนย์ศิลปาชีพ ถก 'ประธานาธิบดีเปรู' ผลักดันการเจรจา FTA ให้เสร็จภายในปี 68 ปลี้ม Softpower หนังไทย เพลงไทย ฮิตในเปรู

‘จุรินทร์’ จี้ ‘ทวี’ เคลียร์ให้ชัดระเบียบขังนอกคุกเอื้อ ‘ยิ่งลักษณ์’ หรือไม่

“จุรินทร์”จี้“ทวี”เคลียร์ให้ชัดระเบียบขังนอกคุก เอื้อ “เจ๊ปู”หรือไม่ สงสัยรวมคดีโกง-ม.157 หวั่นเกิดนักโทษเทวดารายใหม่  

พรรคร่วมรัฐบาลขอเขย่า ไม่ตกเป็น'หมูในอวย'พท.

แม้ว่าพรรคร่วมรัฐบาล นำโดยพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ ฯลฯ จะยอมผ่านเรือธงของพรรคเพื่อไทย โครงการดิจิทัลวอลเล็ต แจกเงิน 1 หมื่นบาทให้แก่ประชาชนจำนวน 50 ล้านคน

แจกเงินดิจิทัล1หมื่นบาท ปิดปาก 'ปุ๋ย คนละครึ่ง'?

รัฐบาลเพื่อไทยนำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ผนึกกำลัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ

ก.ก.แตะ'ทักษิณ'แค่ผิว ปชป.ติดหล่มร่วมรัฐบาล

การอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ระหว่างวันที่ 3-4 เม.ย. ถือเป็นเวทีของฝ่ายค้าน นำโดย พรรคก้าวไกล และ พรรคประชาธิปัตย์ สังคมคาดหวังจะมีการเปิดแผลให้รัฐบาลก่อนปิดสมัยประชุม 9 เม.ย.นี้