จับตา 13 เอกชนไทย-เทศ 13 รายแห่ซื้อซองประมูลทางด่วน ’กะทู้ - ป่าตอง’ วงเงิน 1.4 หมื่นล้าน

‘การทางพิเศษฯ’ เปิดรายชื่อเอกชนไทย-เทศ 13 ราย แห่ซื้อชอบชิงประมูลชิงสัมปทานทางด่วน ’กะทู้ – ป่าตอง’วงเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท ปักหมุดนัดยื่นซอง 7 เม.ย.

26 ม.ค. 2566 – รายงานข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า จากที่ กทพ.ได้ออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ระยะทางรวม 3.98 กิโลเมตร โดยขายเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชน (RFP) ตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค. 2565 ถึงวันที่ 25 ม.ค. 2566 นั้น

ล่าสุดพบว่ามีเอกชนที่ซื้อเอกสาร RFP ทั้ง 13 ราย แบ่งเป็นบริษัทไทย 9 บริษัท และบริษัทต่างชาติ 4 บริษัท ประกอบด้วย  1.บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) 2.บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) 3.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)4.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน) 5.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม

6.บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 7.บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด(มหาชน) 8.บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) 9.บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด (มหาชน) 10.บริษัท ไชน่า ฮาเบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด11.บริษัท ไชน่า เรลเวย์ 20 บิวโร กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด12.SRBG Bridge Engineering จากประเทศจีน และ13.บริษัท Egis จากประเทศฝรั่งเศส

ทั้งนี้ กทพ.กำหนดให้เวลาในการจัดทำข้อเสนอประมาณ 3 เดือน โดยกำหนดรับซองเอกสารข้อเสนอในวันที่ 7 เม.ย. 2566 เวลา 09.00-15.00 น. เบื้องต้นจะเริ่มเปิดซองที่ 1 ในวันที่ 28 เม.ย. 2566 เวลา 09.00 น. และคาดหมายว่าจะได้ตัวผู้รับงานในปลายปี 2566 เพื่อดำเนินการก่อสร้างรวม 5 ปี และเปิดให้บริการปี 2570 ตามแผน เพื่อรองรับการจัดงาน World Specialised Expo 2028 ที่จังหวัดภูเก็ต  

สำหรับโครงการทางด่วนสายกะทู้-ป่าตอง วงเงินลงทุนรวม 14,670 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 5,792.24 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง (รวมค่าควบคุมงาน) 8,878.34 ล้านบาท ซึ่งเป็นลักษณะโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในรูปแบบ PPP Net Cost โดย กทพ.รับผิดชอบการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และผู้ร่วมลงทุนรับผิดชอบการออกแบบรายละเอียดและการก่อสร้าง (รวมถึงคู่ควบคุมงาน) และการดำเนินงานบริหารจัดการและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance: O&M) โดยผู้ร่วมลงทุนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รายได้ค่าผ่านทาง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้เชี่ยวชาญ เตือนสถานการณ์เลวร้ายที่สุด อาจเกิดขึ้นเสมอจากสภาพอากาศรุนแรง

ารเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้สภาพอากาศแปรปรวนมากขึ้น โดยที่องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีขีดจำกัดในการคาดการณ์

ฝนตกหนัก ภูเก็ตน้ำท่วม เครื่องบินลงไม่ได้ 14 เที่ยวบิน

นายมนต์ชัย ตะโหนด ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต กล่าวว่า "จากการเกิดฝนตกหนัก ตั้งแต่ช่วงเช้า เป็นต้นมา ท่าอากาศยานภูเก็ต ไม่เกิดน้ำท่วม แต่ปัญหา