'กรุงไทย' ออกมาตรการพิเศษช่วยเหลือลูกค้าแก้หนี้ ทั้งลดดอก - ลดค่างวด - พักชำระ

“กรุงไทย” ขานรับธปท. เร่งช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ออกมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน พักชำระหนี้เงินต้น-ลดดอกเบี้ย-ลดเงินต้น-เปลี่ยนประเภทหนี้ หรือมาตรการอื่นๆ ช่วยลดภาระการเงินให้ลูกค้าธุรกิจ และลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ

23 พ.ย. 2564 นายเอกชัย เตชะวิริยะกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธนาคารกรุงไทยในฐานะธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ตระหนักถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในวงกว้าง จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วน ในการช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่ม จึงได้ออกมาตรการพิเศษสำหรับลูกค้าธุรกิจและรายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ขาดสภาพคล่อง ต้องการลดค่าใช้จ่าย และบริหารจัดการแก้หนี้อย่างมีระบบ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยให้สอดคล้องกับประมาณการความสามารถการชำระหนี้ของลูกหนี้ที่ธนาคารจะพิจารณา ซึ่งแนวทางการช่วยเหลือเป็นไปตามมาตรการเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ได้อย่างยั่งยืนของธนาคารกรุงไทย

สำหรับมาตรการพิเศษนี้ ธนาคารจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกค้าครอบคลุมทั้ง ลดอัตราดอกเบี้ย, ลดค่างวดการชำระหนี้แบบ Step Up พักชำระเงินต้นและชำระเฉพาะดอกเบี้ย เปลี่ยนประเภทหนี้ วงเงินกู้หมุนเวียน (Revolving Loan) เป็นวงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ผ่อนสบายๆ แบบมีกำหนดระยะเวลา หรือ มาตรการอื่นๆ เช่น การขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยการโอนทรัพย์ชำระหนี้ การแปลงหนี้เป็นทุน การเพิ่มสภาพคล่อง หรือ การขยายระยะเวลาผ่อนชำระ เป็นต้น ทั้งนี้ การพิจารณาลูกค้าแต่ละรายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด โดยธนาคารจะเสนอแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ที่เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้และความเสี่ยงของลูกค้า ลูกค้าที่สนใจเข้าร่วมมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ Krungthai Contact Center 02 -1111111 และเว็บไซต์ https://krungthai.com/th/personal/loan/personal-loan/523

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เอ็ดดี้' ชำแหละ! แผนรัฐบาลคุม 'แบงก์ชาติ' บรรลุ 6 เป้าหลัก

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์" ในหัวข้อ "อะไรคือจุดประสงค์ของการแทรกแซงแบงก์ชาติจากฝ่ายการเมือง"