“สหภาพรถไฟฯ” บุกกระทรวงคมนาคม ยื่นหนังสือถึง รมว.คมนาคม ตรวจสอบ-ทบทวนย้ายรถไฟทางไกล 52 ขบวน ให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ 19 ม.ค.นี้ จี้เปิดฟังเสียงประชาชนคนใช้บริการจริง
17 ม.ค. 2566 – นายสราวุธ สราญวงศ์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เปิดเผยว่าได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เพื่อขอให้ตรวจสอบ และทบทวนการดำเนินการย้ายขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์(รถไฟทางไกล) 52 ขบวน มาออกต้นทางที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชน โดยมีนางสุขสมรวย วันทนียกุล เลขานุการ รมว.คมนาคม เป็นผู้รับหนังสือแทน
นายสราวุธ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ สร.รฟท. ได้ยื่นหนังสือต่อ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ไปแล้วว่า ไม่เห็นด้วยกับการย้ายรถไฟทางไกลจากเดิมสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) มาที่สถานีกลางฯ เนื่องจากยังไม่มีความพร้อมในด้านการปฏิบัติการ และให้บริการ เช่น รถโดยสารไม่พร้อมบริการ และมีไม่เพียงพอต่อการหมุนเวียนให้บริการ ห้องน้ำรถไฟยังเป็นระบบเปิด อัตรากำลังบุคลากรไม่เพียงพอในการให้บริการ 2 แห่ง และงานเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้จากการสอบถามความเห็นของผู้ใช้บริการจริงพบว่า ประชาชนต้องการให้รถไฟยังคงเข้าถึงสถานีหัวลำโพง ไม่ใช่หยุดแค่สถานีกลางฯ แม้จะมีชัตเติ้ลบัสมาให้บริการ แต่แผนงานดังกล่าวไม่ชัดเจน ประชาชนที่ต้องการลงสถานีสามเสน รพ.รามาธิบดี และยมราช ซึ่งเดิมเป็นสถานีตามเส้นทางรถไฟ ระหว่างบางซื่อ ถึงหัวลำโพง จะใช้บริการไม่ได้ และทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ จึงขอเสนอแนวทางแก้ปัญหาดังนี้ 1.ขอให้สั่งการตรวจสอบ และทบทวนกำหนดการเปิดสถานีกลางฯ และแผนปรับย้ายขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์จากสถานีหัวลำโพง มาสถานีกลางฯ ที่จะดำเนินการในวันที่ 19 ม.ค.66 โดยเร่งด่วน
2.ในระหว่างการตรวจสอบ สำหรับขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์ ขอให้ยังคงสถานีต้นทาง-ปลายทางอยู่ที่สถานีหัวลำโพงไว้ก่อน และ 3.ขอให้ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นโดยเร่งด่วน ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงจากผู้บริโภค และประชาชนทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบที่ใช้บริการ ตามนโยบายของกระทรวง และข้อเสนอแนะขององค์กรของผู้บริโภค เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศอย่างยั่งยืน
ด้านนางสุขสมรวยกล่าวว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงคำถาม และข้อสงสัยไปแล้ว ส่วนข้อเรียกร้องของ สร.รฟท. จะเสนอ รมว.คมนาคมพิจารณาต่อไป แต่อย่างไรก็ตามวันที่ 19 ม.ค.2566 คาดว่าคงไม่สามารถหยุดการเดินรถที่สถานีกลางฯ ได้ เนื่องจากมีการขายตั๋วโดยสาร และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบไปแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รฟท.ขยายเวลาลดค่าบริการจอดรถสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ถึง 15 ก.พ.68
‘การรถไฟฯ’เดินหน้าช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ปรับลดค่าบริการจอดรถชั้นใต้ดินสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ถึง 15 ก.พ.68 ให้จอดฟรี 30 นาที ชั่วโมงที่ 1-2 เริ่ม 15 บาท
'สร.ธกส.' ร่อนหนังสือจี้ 'ผจก.ธกส.' ทำตามข้อเสนอต่อนโยบาย Digital wallet 3 ข้อ
นายประหยัด ธรรมขันธ์ เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำหนังสือที่๑๓๕/ ๒๕๖๗ ลงวันที่ 18 เมษายน 2567 ถึง ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เรื่อง ข้อเสนอต่อการดำเนินนโยบาย Digital wallet
ทีมทนายบิ๊กโจ๊ก ยื่น ‘รรท.ผบ.ตร.’ ขอส่งสำนวนคดีเว็บพนัน สน.เตาปูน ไปป.ป.ช.
ทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผบ.ตร. เข้ายื่นหนังสือถึงพล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
'พ่อตะวัน' เขียนหนังสือร้องศาล หาทางออกหลังไม่ให้ประกันตัวลูกสาว
'พ่อตะวัน' ยื่นหนังสือเขียนลายมือถึงอธิบดีศาลอาญา หาทางออก ‘ตะวัน-เเฟรงค์’ หากตายไปต้องหาคนรับผิดชอบ
'สุริยะ' ตั้งธงศึกษา 'สถานีขนส่งบขส.' ใหม่เสนอครม.ภายในปี67
“สุริยะ” สั่ง รฟท.ทบทวนแผนพัฒนาพื้นที่พหลโยธินใหม่ แนะเกลี่ยพื้นที่ให้ บขส.สร้างรวมสถานีขนส่งผู้โดยสาร”เหนือ-อีสาน-ใต้”แห่งใหม่ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ คาดศึกษา
‘คมนาคม’ เปิดสถานีกลางฯเป็นศูนย์ประสานงานสนับสนุนภารกิจรับแรงงานไทยกลับบ้าน
“สุริยะ” สั่ง “คมนาคม” อำนวยความสะดวกคนไทยกลับจากอิสราเอลสู่ภูมิลำเนา เน้นย้ำ “บขส.-รฟท.” พร้อมช่วยเหลือดูแลจนภารกิจลุล่วง พร้อมเปิดพื้นที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เป็นศูนย์ประสานงานอำนวยความสะดวก