‘คมนาคม’ เดินหน้าทดสอบใช้งานรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ รถต้นแบบคันแรกในในไทย ตั้งเป้าจัดหา 50 คันภายในปี66 มั่นใจช่วยลดต้นทุน 40-60%
12 ม.ค.2575-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายเป็นประธานพิธีทดสอบการใช้งานรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ รถต้นแบบคันแรกในการพัฒนารถไฟระบบ EV on Train ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และบริษัท พลังงานบริสุทธ์ จำกัด (มหาชน) ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ว่า นโยบายของรัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการใช้งานยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือ EV เพื่อให้ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ 20 – 25% ภายในปี 2573 และมุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในระบบขนส่งของประเทศ รวมถึงผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมได้มีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการศึกษาการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (EV on Train) โดยการประกอบหัวรถจักรที่ติดตั้งระบบแบตเตอรี่และสามารถขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าได้เอง ซึ่งเป็นความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และหน่วยงานเอกชนของไทย ตามนโยบาย Thai First จนเกิดเป็นหัวรถจักร EV ต้นแบบคันแรกของประเทศไทย
ทั้งนี้รถไฟต้นแบบดังกล่าวได้ดำเนินการพัฒนาแล้วเสร็จเมื่อปี 2565 และพร้อมสำหรับการทดสอบการใช้งานในการลากจูงขบวนรถโดยสารขึ้นมาบนสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ในวันนี้ และภายในปี 2566 จะดำเนินการประกอบหัวรถจักรเพิ่มเติมอีกจำนวน 3 คัน รวมหัวรถจักรทั้งสิ้น 4 คัน โดยหัวรถจักรดังกล่าวหากชาร์จแบตเตอรี่เต็ม 1 ครั้ง จะมีสรรถนะในการลากจูงขบวนรถโดยสารได้ในระยะทาง 150 – 200 กิโลเมตร”ตอนนี้เรามีรถต้นแบบที่อยู่ระหว่างการทดสอบ 1 คัน ซึ่งจะต้องทดสอบให้ครอบคลุมถึงความปลอดภัยทุกด้าน ทั้งระบบเบรก และแรงปะทะในกรณีที่เกิดเหตุต่างๆ โดยเบื้องต้นกระทรวงฯ มีแผนว่าหากการทดสอบรถต้นแบบนี้ได้ผลสำเร็จ ก็จะจัดหาหัวรถจักร EV มาให้บริการ 50 คันภายในปีนี้ เพื่อเป็นการยกระดับบริการรถไฟแก่ประชาชน ลดมลพิษทางอากาศ อีกทั้งหัวรถจักรไฟฟ้ายังลดต้นทุนได้สูง 40-60% หากเทียบกับหัวรถจักรดีเซลในปัจจุบัน”นายศักดิ์สยาม กล่าว
นอกจากนี้ ปัจจุบัน รฟท. ได้ดำเนินโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Locomotive) จำนวน 50 คัน โดยได้ดำเนินการส่งมอบรถจักรแล้วจำนวน 20 คัน เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2565 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบเพื่อตรวจรับขบวนรถ และจะได้มีการส่งมอบในส่วนที่เหลืออีกจำนวน 30 คัน ภายในปี 2566 ต่อไป ทั้งนี้ ขอมอบนโยบายให้กรมการขนส่งทางราง รฟท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานและขั้นตอนในการนำรถไฟ EV on Train มาใช้ในประเทศไทยให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
การรถไฟฯ โชว์เอกสารยืนยันที่ดิน ‘เขากระโดง’ เป็นกรรมสิทธิของตัวเอง
"การรถไฟฯ" แถลงการณ์ยืนยัน ที่ดิน "เขากระโดง" เป็นกรรมสิทธิของ รฟท. ย้ำมีเอกสาร-ข้อมูล พร้อมยืนยัน ลั่นจะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้ที่ดินดังกล่าว กลับมาเป็นของ รฟท. เพื่อรักษาสมบัติของแผ่นดิน
'จุลพงศ์' อัด 'กรมที่ดิน-รฟท.' ยื้อปม 'เขากระโดง' ให้วนเวียนเอื้อประโยชน์นักการเมือง
'จุลพงศ์' ยันคำพิพากษา 'เขากระโดง' เป็นกรรมสิทธิ์รฟท.สามารถใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้ อัด'กรมที่ดิน' ใหญ่กว่าศาลเลือกปฏิบัติเพิกถอนสิทธิ์บางแปลงแต่บางแปลงตั้งกก.สอบสวน เอื้อนักการเมือง ข้องใจ 'รฟท.' ไม่เลือกวิธีฟ้องกรมที่ดินให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ทำให้วนเวียนล่าช้า
เขากระโดงลาม! กมธ.ทหารข้องใจ มทบ.26 ก่อสร้างผิดจุดที่ขออนุญาต
'กมธ.ทหาร'แฉกองทัพ สร้างค่ายทหารผิดจุดจากที่ขออนุญาต เลี่ยงพื้นที่เขากระโดงที่ครอบครองโดย 'ตระกูลใหญ่บุรีรัมย์' เรียก รฟท., ผบ.มทบ.26, มท. แจง 28 พ.ย.นี้ 'วิโรจน์' เหน็บมีอิทธิพลขนาดค่ายทหารยังย้ายหนี
'ภูมิใจไทย' เฮส่อรอดยุบพรรค
ภูมิใจไทย เตรียมเฮ ส่อรอดยุบพรรค "แสวง" ชี้ คดีศักดิ์สยาม ไม่เป็นเหตุยุบพรรค ซ้ำคำวินิจฉัยศาลฎีกา "ทำงานให้หลวงต้องได้เงิน" คาดจบใน 1 เดือน ส่วนเรื่อง "ฮั้ว" ต้องแยกคดี พ้อแค่เป็นคนบุรีรัมย์ถูกด่าฟรี 1 ปี เผยสั่งยุติคดียุบ "พปชร." หลังพิสูจน์ไม่ได้ว่า "เงินบริจาคตู้ห่าว" เป็นเงินไม่ชอบด้วยกฎหมาย