กทพ. ชง 'สศช.' เคาะสร้างทางด่วนใหม่ สายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี

กทพ.เดินหน้าโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR 10) เตรียมเสนอ สศช.ไฟเขียวลงทุน 3.3หมื่นล้านบาท หวังแก้ปัญหาการจราจรติดขัดเชื่อม MR6 กาญจนบุรีในอนาคต

11 ม.ค. 2566 – นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า กทพ. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 งานศึกษาและจัดทำรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษ(ทางด่วน) สายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ระยะแรก (เฟส) ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR 10) ระยะทาง 19.25 กิโลเมตร(กม.)

อย่างไรก็ดี ภายหลังรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ กทพ.มีกรอบดำเนินงานเบื้องต้นจะเสนอผลการศึกษาไปยังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในวันที่ 11 ม.ค.นี้ หลังจากนั้นหากไม่มีความเห็นเพิ่มเติมก็คาดว่าจะสามารถเสนอโครงการดังกล่าวไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือน ม.ค.นี้ เพื่อเดินหน้าขั้นตอนขออนุมัติร่างพ.ร.ฎ.เพื่อจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ระยะเวลาดำเนินงานประมาณ 1 เดือน และตรา พ.ร.ฎ.เพื่อจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ระยะเวลาดำเนินงานประมาณ 6 เดือน จึงคาดว่าจะเริ่มจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในโครงการนี้ ช่วงปี 2567 – 2568 ก่อนจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 36 เดือน หรือระหว่างปี 2567 – 2570

สำหรับโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR 10) จะมีระยะทาง 19.25 กม. มูลค่าโครงการ 33,400 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างโครงการฯ (รวมค่าควบคุมงาน) วงเงิน 26,100 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน วงเงิน 7,300 ล้านบาท โดยรูปแบบการลงทุน กทพ.จะเป็นผู้ดำเนินการลงทุนโครงการฯทั้งหมด เบื้องต้นจะจัดใช้วงเงินลงทุนบางส่วนจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) และส่วนที่เหลือจากการกู้เงิน หลังจากนั้นจะจัดหาเอกชนบริหารจัดเก็บค่าผ่านทางระยะสัญญาสัมปทาน 30 ปี

สำหรับ อัตราค่าผ่านทางโครงการมีการกำหนดอัตราค่าผ่านทางสำหรับรถ 4 ล้อ อยู่ที่ 25-45 บาท รถ 6-10 ล้อ มีอัตราค่าผ่านทางอยู่ที่ 55-85 บาท และรถมากกว่า 10 ล้อ มีอัตราค่าผ่านทางอยู่ที่ 80-130 บาท โดยเก็บเพิ่มขึ้นตามระยะทาง 1.25 บาทต่อกิโลเมตร และมีการปรับค่าผ่านทางทุก 5 ปี ตามค่าเฉลี่ยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งอัตราค่าผ่านทางของรถแต่ละประเภทจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของรถแต่ละประเภท ด้านระบบจัดเก็บค่าผ่านทางเป็นระบบปิด เนื่องจากมีความเหมาะสมต่อรูปแบบของโครงการ โดยระบบหลักที่ใช้ในการเก็บค่าผ่านทางของโครงการ คือ ระบบ M-Flow หรือระบบจัดเก็บค่าผ่านทางแบบไร้ไม้กั้น สามารถรองรับปริมาณรถได้ถึง 2,000-2,500 คันต่อชั่วโมงต่อช่องทาง

ทั้งนี้ แนวเส้นทางโครงการมีจุดเริ่มต้นบริเวณทางพิเศษฉลองรัชที่ด่านจตุโชติ ยกระดับข้ามถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก (ถนนกาญจนาภิเษก) ไปทางทิศตะวันออก ถนนหทัยราษฎร์ ถนนนิมิตใหม่ จากนั้นจะลดระดับลงสู่พื้นที่บริการทางพิเศษ (Rest Area) ในระดับดินที่ กม. 11+040 ของโครงการ จากนั้นจะเริ่มยกระดับอีกครั้งผ่านถนนคลองเก้า และเลี้ยวไปทางทิศเหนือเชื่อมต่อถนนลำลูกกาบริเวณใกล้คลองหกวาสายล่าง ปทุมธานี และสิ้นสุดโครงการโดยเชื่อมต่อ MR 10 ที่บริเวณแขวงคลองสิบ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไม่ไหวแล้ว 'เศรษฐา' จ่อเรียกประชุม ครม.เศรษฐกิจ นัดพิเศษ หลังรู้จีดีพีไทยโตต่ำสุดในอาเซียน

“เศรษฐา” เรียกประชุม ครม.เศรษฐกิจ นัดพิเศษ 27 พ.ค.นี้ หลังจีดีพีไทยไตรมาสแรกโตต่ำสุดในอาเซียน

4 พ.ค. ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง รวม 60 ด่าน

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แจ้งว่าได้ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษ รวม 3 สายทาง ดังนี้ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) จำนวน 19 ด่าน ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2)

'กุนซือนายกฯ' กระทุ้งอีก! 'ธปท.' ต้องเร่งลดดอกเบี้ย

'พิชัย' ห่วงเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ หลังเงินเฟ้อติดลบ 5 เดือนซ้อนสวนทางโลก จี้ ธปท. หั่นดอกเบี้ยนโยบาย ลดช่วงห่างเงินกู้เงินฝาก ตามสภาพัฒน์ฯ แนะนำ