'จีไอที' ปลื้มส่งออกอัญมณีปี 65 เพิ่มขึ้น 34%

”จีไอที”เผยส่งออกอัญมณี 11 เดือนปี 65 เพิ่มขึ้น 34.02% มูลค่ากว่า 7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว คาดทั้งปียังบวกได้อีก แต่ต้องจับตาเงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูง ฉุดกำลังซื้อ

10 ม.ค. 2566 – นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ เดือนพ.ย.2565 มีมูลค่า 687.81 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 868.87 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 15.98% และยอดรวม 11 เดือนของปี 2565 (ม.ค.-พ.ย.) หากไม่รวมทองคำ มีมูลค่า 7,466.16 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 34.02% และหากรวมทองคำ มีมูลค่า 14,489.54 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 57.24%

สำหรับปัจจัยที่ทำให้การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับขยายตัวเพิ่มขึ้น มาจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น จากการที่เงินเฟ้อและราคาสินค้าในหลายประเทศเริ่มลดลง ค่าขนส่งสินค้าในหลายเส้นทางทั่วโลกปรับลดลง การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ทำให้มีการซื้อสินค้าในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น และช่วงปลายปี 2565 เป็นช่วงเทศกาลจับจ่ายใช้สอย จึงเป็นปัจจัยหนุนทำให้มีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เงินบาท แม้จะแข็งค่าขึ้น แต่ก็ไม่ได้แข็งเร็วเกินไป ยังช่วยให้สินค้าไทยแข่งขันได้ และหลายตลาด มีการสั่งซื้อสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นายสุเมธ กล่าวว่าตลาดส่งออกสำคัญที่มีอัตราการขยายตัวได้ดีในช่วง 11 เดือน ได้แก่ สหรัฐฯ เพิ่ม 23.60% อินเดียเพิ่ม 91.61% ฮ่องกง เพิ่ม 19.04% เยอรมนี เพิ่ม 4.34% สหราชอาณาจักร เพิ่ม 36.67% สิงคโปร์ เพิ่ม 159.95% สวิตเซอร์แลนด์ เพิ่ม 82.48% เบลเยี่ยม เพิ่ม 34.76% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพิ่ม 32.84% และญี่ปุ่น เพิ่ม 9.11%

นายสุเมธ กล่าวว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในช่วง 11 เดือนของปี 2565 ยังสามารถเติบโตได้ดี แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยรุมเร้าหลายประการ ทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมทั้งปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วนปี 2566 GIT ขอแนะนำให้ผู้ประกอบการระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากการเติบโตในปี 2566 อาจขาดปัจจัยหนุน ทำให้เติบโตลดลง จากปัญหาเงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูงขึ้น และการกลับมาระบาดของโควิด-19 จนทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและการรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งสหรัฐฯ และยุโรปให้ความสำคัญมาก อาจก่อให้เกิดมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

GIT จับมือ จันทบุรี จัดเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2024

นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ , นายภูเก็ต คุณประภากร ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี รวมทั้งนางสาวกนกพร ดำรงกุล ผอ.ฝ่ายการตลาดไมซ์ในประเทศ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ TCEB ร่วมแถลงการจัดงานเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2024 “จันทบุรี นครอัญมณี” ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 5-9 ธันวาคม 2567

GIT ร่วมกับภาครัฐและเอกชน "ปลุกยักษ์" จัดเทศกาล BANGKOK JEWELRY WEEK 2024 by GIT” ฟื้นเศรษฐกิจถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับ บางรัก สัมพันธวงศ์ พระนคร

เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วกับ “เทศกาล BANGKOK JEWELRY WEEK 2024 by GIT” งานพัฒนาต่อยอดเครื่องประดับเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนเก่าแก่เชิงสร้างสรรค์บนถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับในกรุงเทพมหานคร

GIT ดันผู้ประกอบการหน้าใหม่ขยายตลาดโกอินเตอร์ ในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 70

12 กันยายน 2567 สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GITดันผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขยายตลาดออกร้านในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์

ทำแบรนด์เครื่องประดับยังไงให้ปัง 5 วิธีสร้างจุดขายให้น่าซื้อ

การสร้างแบรนด์เครื่องประดับในตลาดที่มีการแข่งขันสูงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องสร้างจุดขายให้น่าสนใจและแตกต่างจากคู่แข่ง ซึ่งทำให้แบรนด์ของคุณเติบโตและเป็นที่จดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น

DITP และ GIT เตรียมจัด “บางกอกเจมส์” ครั้งที่ 70 สุดอลังการ ตอกย้ำจุดเด่นไทยในฐานะศูนย์กลางอัญมณีและเครื่องประดับโลก

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT พร้อมคณะอำนวยการจัดงานทั้งภาครัฐและเอกชน

“Enchanted Hues – Unlocking the Secret of Primary Colors Theory”

24 เมษายน 2567: GIT จัดการแถลงข่าวโครงการประกวดการออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 18 “Enchanted Hues – Unlocking the Secrets of Primary Colors Theory”