'ธอส.' อุ้มลูกค้าเจอพิษโควิดชูผ่อนน้อยเริ่มต้น 1 พันบาท ดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน

“ธอส.” ลุยอัดมาตรการ 23 ช่วยเหลือลูกค้าสถานะ NPL-ลูกค้าที่มีสถานะ NPL-ลูกค้าปรับโครงสร้างหนี้ที่ยังอ่วมพิษโควิด-เศรษฐกิจ ชงอุ้มนานสูงสุด 2 ปี พร้อมเปิด 2 ทางเลือกตามความสามารถการผ่อนชำระ ชูผ่อนน้อยเริ่มต้น 1 พันบาท เคาะดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน หรือผ่อนเริ่มต้น 1.5 พันบาท ดอกเบี้ย 0% นาน 9 เดือน ดีเดย์ลงทะเบียน 9 ม.ค.-30 มิ.ย. 2566

9 ม.ค. 2566 – นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า จากการที่คณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจเหลือ 0.125% ต่อปี จากเดิม 0.25% ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนออกไปอีก 1 ปี ในปี 2566 ธอส. ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จึงพร้อมนำเงินดังกล่าวไว้ช่วยเหลือลูกค้าที่ยังคงได้รับผลกระทบด้านรายได้จากโควิด-19 หรือ จากสภาวะเศรษฐกิจ ด้วยการจัดทำมาตรการที่ 23 [M23]

สำหรับลูกค้าสถานะ NPL หรือลูกค้าที่มีสถานะเป็น NPL ที่อยู่ระหว่างการใช้มาตรการช่วยเหลือ หรืออยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคาร ที่กู้เงินกับธนาคารมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ให้สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยพิเศษและเงินงวดผ่อนชำระต่ำเป็นระยะเวลานานสูงสุด 2 ปี หรือตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. 2566 เป็นต้นไป โดยลูกค้าสามารถเลือกรับความช่วยเหลือตามความสามารถในการผ่อนชำระของตัวเองได้ ดังนี้

แนวทางที่ 1 ผ่อนชำระเงินงวดเดือนที่ 1 – 6 จำนวน 1,000 บาท (ตัดชำระเงินต้นทั้งหมด) อัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี, เดือนที่ 7-12 ผ่อนชำระเงินงวดคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย 1.90 % +100 บาท, เดือนที่ 13-18 ผ่อนชำระเงินงวดคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย 2.90 % +100 บาท และเดือนที่ 19-24 ผ่อนชำระเงินงวดคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย MRR-2.00% +100 บาท กรณีลูกหนี้ชำระเกินที่ธนาคารกำหนดให้นำไปตัดดอกเบี้ยค้างชำระของลูกหนี้ (ถ้ามี)

แนวทางที่ 2 ผ่อนชำระเงินงวดเดือนที่ 1 – 9 จำนวน 1,500 บาท (ตัดชำระเงินต้นทั้งหมด) อัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี, เดือนที่ 10-14 ผ่อนชำระเงินงวดคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย 1.90 % +100 บาท, เดือนที่ 15-19 ผ่อนชำระเงินงวดคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย 2.90% +100 บาท และเดือนที่ 20-24 ผ่อนชำระเงินงวดคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย MRR-2.00% +100 บาท กรณีลูกหนี้ชำระเกินที่ธนาคารกำหนดให้นำไปตัดดอกเบี้ยค้างชำระของลูกหนี้ (ถ้ามี)

ทั้งนี้ ลูกค้าที่มีความประสงค์เข้าร่วมมาตรการที่ 23 สามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน GHB ALL BFRIEND และสาขาธนาคารทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. – 30 มิ.ย. 2566 โดยต้องส่งหลักฐานการได้รับผลกระทบทางรายได้จากการประกอบอาชีพ/ธุรกิจ/การค้า เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น หนังสือรับรองการลดวัน/เวลา/เงินเดือน/ค่าจ้าง หรือถูกเลิกจ้างจากหน่วยงานต้นสังกัด/นายจ้าง เป็นต้น ให้ธนาคารพิจารณาด้วยการอัปโหลดผ่านทางแอปพลิเคชัน GHB ALL BFRIEND กรณีที่ลูกค้าไม่มีสมาร์ทโฟนสามารถกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ได้ที่สาขาธนาคารทั่วประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลตีปี๊บ! ช่วยลูกหนี้นอกระบบแล้ว 1.4 แสนราย รวมพันล้านบาท

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากนโยบายรัฐบาลและนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาหนี้อย่างครบวงจรทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ

ธอส. จัดทำ 7 มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุฤดูร้อน จ. อุตรดิตถ์

ธอส. ร่วมให้กำลังใจชาวอุตรดิตถ์ จัดทำ 7 มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติหลังประสบภัยจากพายุฤดูร้อน หนักสุดในรอบ 60 ปี

ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลุยภารกิจเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน

ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล และ ก.คลัง จัดทำยุทธศาสตร์ธนาคาร มุ่งสู่ Sustainable Bank สอดรับวิสัยทัศน์ “IGNITE THAILAND” ยกระดับไทยสู่การเป็น Financial Hub

มท.เผยยอดไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบ 50,830 ราย สำเร็จแล้ว 28,253 ราย

กระทรวงมหาดไทยจึงได้แจ้งให้ทุกจังหวัด อำเภอ เดินหน้าแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างต่อเนื่องด้วยการเชิญเจ้าหนี้และลูกหนี้มาเข้าสู่กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้

ตำรวจ เปิดตลาดนัดแก้หนี้ ‘คลองเตย-วัฒนา-ปทุมวัน’ หวังลูกหนี้เจ้าหนี้ไกล่เกลี่ยกัน

กองบัญชาการตำรวจนครบาลเดินหน้าตามนโยบายรัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดตลาดแก้หนี้นอกระบบ แก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชน นำร่องพื้นที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 5 มั่นใจประชาชนจะได้รับประโยชน์อย่างยั่งยืน