“สรรพสามิต” แจงยังไม่ถึงเวลาเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีบุหรี่ ชี้อัตราที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นธรรมกับทุกฝ่ายแล้ว มองการขึ้นภาษีให้สูงไม่ใช่ทางเดียวในการทำให้ประชาชนลดการสูบ แต่ต้องทำมาตรการอื่นควบคู่ไปด้วย
26 ธ.ค. 2565 – รายงานข่าวจากกรมสรรพสามิต ระบุว่า กรมสรรพสามิตยังไม่มีแผนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีสรรพสามิตที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยน และโครงสร้างภาษียาสูบที่ปรับมาล่าสุดก็ยังใช้ได้ดี และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งกรมสรรพสามิต ผู้ผลิต และผู้บริโภค
“การเก็บภาษีบุหรี่ ไม่ได้หวังเรื่องรายได้เป็นหลัก แต่ต้องการลดการบริโภคบุหรี่ลง ดังนั้นการขึ้นภาษีบุหรี่ให้สูงขึ้นอย่างเดียวไม่ได้เป็นทางเดียวที่ช่วยลดการบริโภคบุหรี่ จึงต้องทำมาทำมาตรการอื่น ๆ ไปพร้อมกันด้วย” รายงานข่าว ระบุ
สำหรับโครงสร้างภาษียาสูบในปัจจุบัน เก็บทั้งตามปริมาณ โดยจัดเก็บที่ 1.25 บาทต่อมวน หรือซองละ 25 บาท และเก็บภาษีตามมูลค่าเป็น 2 อัตรา ประกอบด้วยบุหรี่ขายปลีกราคาไม่เกินซองละ 72 บาท เสียภาษีเพิ่มเป็น 25% ส่วนบุหรี่ที่มีราคาขายปลีกตั้งแต่ซองละ 72 บาทขึ้นไป จะเสียภาษีในอัตรา 42% ซึ่งจัดเก็บมาตั้งแต่ 1 ต.ค. 2564
รายงานข่าวจากกรมสรรพสามิต ระบุอีกว่า ยอมรับว่าในอนาคตการปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ก็ควรที่จะต้องเป็นอัตราเดียว ตามมาตราฐานสากลของโลก แต่ต้องขึ้นอยู่ฝ่ายนโยบายและความพร้อมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยต้องให้ความสำคัญในเรื่องการทำให้การบริโภคบุหรี่ลดลง และไม่ทำให้การลับลอบขนบุหรี่เถื่อนเข้าประเทศเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ดี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เผยแพร่บทวิจัยโครงการวิจัยศึกษาเพิ่มพัฒนาโครงสร้างภาษีสรรพสามิตยาสูบ และได้เสนอแนวทางการปฏิรูปภาษีสรรพสามิตยาบุหรี่ เช่น ควรทำระบบภาษีด้านมูลค่าให้เป็นอัตราเดียว ในช่วง 24.5-30.5% และควรเพิ่มภาษีตามปริมาณเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ เพื่อเพิ่มรายได้รัฐบาล เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สรรพสามิตแนะเลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่รู้แหล่งที่มาและไม่ติดแสตมป์
กรมสรรพสามิตชี้แจงกรณีเกิดเหตุประชาชนดื่มสุรามีสารพิษทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล 27 ราย หลังดื่มสุราที่ซุ้มยาดองบริเวณถนนหทัยราษฎร์ เขตคลองสามวาเขตมีนบุรี