ค่าไฟขึ้นดันราคาสินค้าแพง กกร.ชี้กระทบเป็นลูกโซ่ทั้งเงินเฟ้อ-อุตฯย้ายฐานผลิต

24 ธ.ค. 2565 – นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเปิดเผยในฐานะ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จัดแถลงข่าวเรื่อง “ผลกระทบจากการขึ้นค่าไฟและข้อเสนอของภาคอุตสาหกรรม การค้าและบริการ การเงิน” ว่ากรณีที่รัฐบาลเตรียมปรับขึ้นค่าไฟฟ้า อีก 20% มาอยู่ที่ 5.69 บาท/หน่วย ในรอบบิล ม.ค.-เม.ย.2566 จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและอุตสหกรรมอย่างมาก เนื่องจากมีสัดส่วนใช้ไฟฟ้ารวมกันมากถึง 70% ขณะที่ภาคครัวเรือนใช้ไฟ 30% ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นกระทบเงินเฟ้อให้ปรับเพิ่มขึ้น 0.5% จนคาดการเงินเฟ้อปีหน้าอาจปรับเพิ่มจาก 3% เป็น 3.5% ฉุดจีดีพีภาพรวมลดลง 0.3% ทำให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยหยุดชะงักเพราะภาคผลิตมีสัดส่วนในจีดีพีมากถึง 27%

ขณะที่อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และการขึ้นค่าแรงยิ่งซ้ำเติมผู้ประกอบการมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กกร.อยู่ระหว่างการรอนัดหมายเข้าพบกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเพื่อหารือในเรื่องดังกล่าวหลังจากยื่นหนังสือขอเข้าพบไปเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. ที่ผ่านมา

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากรัฐบาลไม่ทบทวนการขึ้นค่าไฟจะทำให้เกิดปัญหา3เรื่องคือปัญหาขีดความความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของไทยจะลดลง ขณะที่ปีล่าสุด2565 ไทยตกลงมา 5 อันดับ จาก 28 เป็น 33 จากการจัดอันดับของ IMD(International Institute for Management Development),ปัญหาเงินเฟ้อจะกลับมา ผู้ประกอบการจะขึ้นราคาสินค้า 5-12% กระทบค่าครองชีพของประชาชน และนักลงทุนอาจย้ายฐานผลิตไปยังประเทศคู่แข่งที่มีต้นทุนค่าไฟฟ้าถูกกว่า โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งมีต้นทุนค่าไฟเฉลี่ย 2.88บาท/หน่วย

รวมทั้งอาจชะลอการเข้ามาลงทุนในไทยสำหรับนักลงทุนรายใหม่  โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 กลุ่มประเทศอาเซียน+3  พบว่าสิงคโปร์ มีเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงสุด 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เวียดนาม 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ไทยอยู่ที่ 1พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น และปีหน้าเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติอาจจะปรับลดลงอีก

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงปลาย ม.ค.2566 อาจจะเห็นผู้ประกอบการเริ่มทยอยปรับขึ้นราคาสินค้า เพื่อชดเชยต้นทุนค่าฟ้าที่แพง โดยระหว่างนี้จะยังไม่ขึ้นราคาเนื่องจากยังมีสินค้าสต็อกเก่าจำหน่ายได้อีก 1 เดือน ส่วนปัญหาเรื่องการย้ายฐานการผลิตนั้นอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้าในขบวนการผลิตมากมีความเสี่ยง เช่น ธุรกิจเซรามิก ธุรกิจผลิตขวดแก้ว , อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เยื่อกระดาษ เหล็ก อลูมิเนียม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำหากได้รับผลกระทบเอสเอ็มอีที่เกี่ยวเนื่องจะถูกกระทบรุนแรงด้วย

นายสุรงค์ บูลกุล รองประธานกรรมกาจรหอการค้าไทย กล่าวว่า การตรึงค่าไฟภาคครัวเรือนรัฐบาลควรจัดหางบเฉพาะมาสนับสนุนเหมือนกรณีที่ตรึงราคาดีเซล ไม่ใช่โยนภาระให้ภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งต้องปรับเกณฑ์การใช้ไฟภาคครัวเรือนใหม่ เป็นแบบขั้นบันได ใช้มากจ่ายมาก ใช้น้อยจ่ายน้อย เพื่อให้ภาคครัวเรือนปรับตัวในการใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสมเช่นกัน ,ขยายเพดานหนี้ 2 ปี ให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือกฟผ. ด้วยการเพิ่มเพดานเงินกู้เฉพาะกิจ จัดสรรวงเงินให้ยืม และชะลอการส่งเงินรายได้เข้าคลัง รวมทั้งขอให้รัฐบาลมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านพลังงาน หรือ กรอ.ด้านพลังงาน เพื่อให้เอกชนมส่วนร่วมด้านพลังงานมากขึ้น

นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ในปีนี้ภาคค้าปลีกและบริการ มีต้นทุนค่าไฟฟ้า 20-50% คิดเป็นค่าใช้จ่าย 3 หมื่นล้านบาท/ปี  หากค่าไฟปรับขึ้นอีก 20% จะเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับภาค ค้าปลีกและบริการเพิ่มขึ้นอีกปีละ 6 พันล้านบาท ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือเอสเอ็มอี 2.4 ล้านราย และแรงงาน 13 ล้านคนในภาคค้าปลีกและบริการอยู่รอด จึงขอเสนอภาครัฐให้ทบทวนและพิจารณา ตรึงราคาค่าไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ ออกไปอีก 1ปี ,ลดหย่อนภาษีได้ 3 เท่า สำหรับค่าใช้จ่ายอุปกรณ์เพื่อการประหยัดพลังงาน และงดเก็บภาษีนำเข้าอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการลงทุนด้านพลังงานทดแทนและทบทวนโครงสร้างการคิดค่าเอฟที FT ให้เป็นธรรมแก่ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและผู้บริโภค โดยไม่เอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พีระพันธุ์' เตรียมขยายเวลาตรึงค่าไฟ 4.18 บาทต่อหน่วย ถึงสิ้นปี 67

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงมาตรการดูแลราคาพลังงานให้ประชาชน หลัง