'มัลลิกา' เผย กรรมาธิการการต่างประเทศ เรียก 3 กระทรวง 'คลัง-พาณิชย์-ต่างประเทศ' หารือ G20 ศึกษา เศรษฐกิจและทิศทางโลก ชี้เป็นตลาดรองรับการส่งออกสินค้าสำคัญไทย ยังยืนยันสนับสนุนนโยบายการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน
23 ธันวาคม 2565 - ที่พรรคประชาธิปัตย์ ดร.มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในการประชุมกรรมาธิการการต่างประเทศซึ่งมีกรรมาธิการสัดส่วนของพรรค 2 คนคือตนกับนายเกียรติ สิทธิอมร ร่วมด้วยนั้นมีสาระที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการสืบสวนศึกษาประโยชน์และทิศทางของ G20 (group of twenty) ซึ่งเป็นกลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้บริหารธนาคารกลางจากประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่รวมกับสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นประเทศรวมกลุ่มระบบเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในเศรษฐกิจโลก และมีสหรัฐอเมริกากับจีนเป็นยักษ์ใหญ่ในกลุ่ม ประกอบด้วยประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 8 ประเทศ เช่น อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เยอรมนี รัสเซียและสหรัฐอเมริกา กับกลุ่มประเทศระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่ขนาดใหญ่อีก 11 ประเทศ เช่น อาร์เจนตินาออสเตรเลีย บราซิล จีนอินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ และตุรกี ซึ่งในกลุ่มนี้ไม่มีประเทศไทย
ดร.มัลลิกา กล่าวว่า กรรมาธิการได้ศึกษาเรื่องที่ทางกลุ่มประเทศเหล่านี้ติดตามผลกระทบอัตราเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิดและการการที่แต่ละประเทศปรับใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นอย่างเหมาะสม ความกังวลต่อความไม่มั่นคงทางอาหารและพลังงานของกลุ่มประเทศ อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่น่าสนใจก็คือตอนประชุมล่าสุดที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซียได้มีการออกแถลงการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหารโดยเฉพาะห่วงโซ่การผลิตอาหารไม่ห้ามการส่งออกอาหารประเภทที่สำคัญ เช่นข้าว นอกจากนั้นยังมีการให้สถาบันการเงินที่สำคัญของโลกเข้ามาอุดหนุนนอกจากนั้นก็ยังมีการใช้ดิจิทัลอินโนเวชั่นหรือเทคโนโลยี เพื่อการเพิ่มผลผลิตทางอาหารและระบบเตือนภัยต่อเกษตรกร เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังได้ศึกษาข้อสรุป G20 Chair's Summary ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางครั้งที่ 4 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีข้อสรุป 15 ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจคือความตระหนักถึงความจำเป็นที่ทุกประเทศจะต้องยกระดับมาตรฐานเพื่อการขจัดการฟอกเงินและสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มก่อการร้ายโดย G20 จะดำเนินการตามกลยุทธ์ของ Financial Action Task Force( FATF) และ FATE Style Regional Bodies( FSRBs) เพื่อเป็นผู้นำในการตอบสนองต่อการคุกคามเหล่านี้ด้วย
"นอกจากนั้นที่น่าสนใจ คือ สมาชิกกลุ่มประเทศยักษ์ใหญ่เหล่านี้เห็นพ้องต้องกันเรื่องการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกที่ได้ชะลอตัวลงอีก เนื่องจากวิกฤตการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครน และตนยอมรับว่าสมาชิกในกลุ่มประเทศใหญ่เหล่านี้เป็นตลาดรองรับการส่งออกสินค้าสำคัญของประเทศไทย พวกเขายังยืนยันความมุ่งมั่นต่อนโยบายเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน คำนึงถึงสถานการณ์ของแต่ละประเทศด้วยและให้ความสำคัญกับระบบการค้าพหุภาคีที่อิงตามกฎไม่เลือกปฏิบัติ มีความยุติธรรมเปิดกว้าง ครอบคลุม โปร่งใสโดยมีองค์การการค้าโลกเป็นแกนหลัก " ดร.มัลลิกา กรรมาธิการการต่างประเทศ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อดีตที่ปรึกษา รมว.คลัง แนะรัฐบาล คุยหลักการ หาทางออกเงินเฟ้อ-ดอกเบี้ย
นายรุ่งเรือง พิทยศิริ อดีตที่ปรึกษารมว.คลัง กล่าวถึงความขัดแย้งในหลักการทำงานของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) โดยเฉพาะในเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อ
'กรุงไทย' คาดอัตราเงินเฟ้อปีนี้ยืนที่ 0.8%
Krungthai compass เผยอัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย. อยู่ที่ 0.19% พลิกกลับมาเป็นบวกในรอบ 7 เดือน จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ผักและผลไม้
รองปธ.กมธ.ต่างประเทศสภาฯ ชี้น่ากังวล ‘บัวแก้ว’ สุญญากาศ หนุน ‘นพดล’ เหมาะ
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร ลาออกจาก รมว.ต่างประเทศว่า เป็นเรื่องน่ากังวลมาก เพราะสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมาเวลานี้ กระทบกับประเทศไทยอย่างมาก
กมธ.ต่างประเทศ จี้รบ.เร่งสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-หนองคาย
กรรมาธิการการต่างประเทศ เสนอผู้เกี่ยวข้องเร่งสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-หนองคายเพื่อเชื่อมกับรถไฟจีน ลาว ไทย ชี้ยิ่งช้ายิ่งเสียโอกาส
กสิกรฯ ชี้ไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด มอง กนง. มีสิทธิ์ลดดอกเบี้ย
เงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือนม.ค. 2567 ติดลบเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันและต่ำสุดในรอบ 35 เดือนที่ -1.11% YoY โดยเป็นผลมาจากมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของภาครัฐ