“แบงก์ชาติ” ชี้ปี 2566 เศรษฐกิจไทยเติบโตท้าทาย ท่ามกลางปัจจัยเศรษฐกิจโลกชะลอ สงครามรัสเซีย ยูเครน ดันราคาพลังงานสูง เคาะจีดีพีโตประมา3.7% รับอานิสงส์ภาคท่องเที่ยว-บริโภค วางโจทย์แก้หนี้ครัวเรือนครบวงจร-ปักหมุดวางรากฐานดิจิทัล
18 ธ.ค. 2565 – นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา “Thailand Next Move 2023″ The Nation Recharge ร่วมเติมพลังให้ประเทศไทย ก้าวสู่บริบทใหม่ ไปพร้อมกัน ว่า เศรษฐกิจไทยปี 2566 เป็นปีที่เจอความท้าทาย จากเศรษฐกิจโลกค่อนข้างชัดเจนว่าจะชะลอตัว และยังมีความเสี่ยงที่ไม่ใช้ช็อคจากโควิด-19 จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ราคาพลังงานสูงขึ้น ความเสี่ยงไม่แน่นอนของเศรษฐกิจจีน
อย่างไรก็ดี ยังเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจไทยทนได้ต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจโลกชะลอลง การส่งออกถูกกระทบเติบโตเหลือ 1% แต่จะถูกฟื้นด้วยการเติบโตการบริโภคภายในประเทศ และการท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวจะอยู่ที่ 10 ล้านคน ปี 2566 บวกลบ 20 ล้านคน เป็นตัวช่วยเอื้อและสนับสนุนการฟื้นตัว โดยคาดว่าเศรษฐกิจปี 2565 จะขยายตัวได้ระดับ 3% ต่ำ ๆ ส่วนปี 2566 ประมาณ 3.7% แม้จะมีความเสี่ยงให้เศรษฐกิจชะลอ แต่โอกาสตัวเลขสูงกว่า 3% ก็ไม่น้อย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาสิ่งที่เห็นคือ อัตราเงินเฟ้อสูงและต่อเนื่อง ส่งผลให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจจะไปไม่ต่อเนื่อง ระบบการเงินชะงัก เป้าหมายสำคัญ ธปท. คือ ทำอย่างไรให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง โจทย์สำคัญที่สุดคือ รักษาเสถียรภาพ การทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ก็เห็นว่าได้ผล เงินเฟ้อที่ขึ้นไปถึงจุดสูงสุดที่ 7.9% ก็ทยอยลดลงมา และคาดว่าเงินเฟ้อจะเข้ากรอบ 1-3% ภายในครึ่งหลังของปี 2566 ส่วนการฟื้นตัวเศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ ยังเห็นตัวเลขเกิน 3% ส่วนอีกโจทย์ คือการดูแลเสถียรภาพของระบบการเงิน ก็ยังเห็นการเติบโตสินเชื่อ และความเข้มแข็งของสถาบันการเงิน การดำเนินนโยบายของ ธปท. ก็ต้องหาจุดสมดุลดูแลเงินเฟ้อ ดูแลการฟื้นตัวเศรษฐกิจ และ ระบบการเงิน การทำนโยบายตอบโจทย์อย่างเดียวไม่ได้
ผู้ว่า ธปท. กล่าวอีกว่า นอกจากการดูแลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ต่อไปเรื่อย ๆ แล้ว เรื่องหนี้ครัวเรือนก็ต้องดูให้อยู่ในระดับที่อยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยแนวทางที่ทำคือ ต้องแก้อย่างครบวงจร ถูกหลักการ ไม่ซ้ำเติมปัญหา
นอกจากนี้ ยังต้องดูเรื่องกระแสความยั่งยืน และ สิ่งแวดล้อม โดย ธปท. ต้องให้ภาคการเงินปรับตัวเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนผ่าน จึงมีการจัดทำแท็กโซโนมี (Taxonomy) เพื่อให้ธนาคารนำไปปฏิบัติได้ และสุดท้าย คือ การวางรากฐานเรื่องดิจิทัล โดยเป้าหมายของ ธปท. ในเรื่องนี้ค่อนข้างชัดเจน ด้วยการใช้นวัตกรรมทางการเงินมาสร้างประโยชน์และโอกาสให้กับเศรษฐกิจโดยไม่ให้เกิดผลกระทบด้านเสถียรภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ศิริกัญญา' งง รอมา 2 เดือน นโยบายกระตุ้นศก.ไม่มีอะไรชัดเจน ย้อนถามแจกเงินหมื่นช่วยอะไรได้
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาชน โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า
'นายกฯอิ๊งค์' ถกหัวหน้าส่วนราชการ ลุยลงทุน 9.6 แสนล้าน กระตุ้นจีดีพีประเทศ
นายกฯ ถกหัวหน้าส่วนราชการฯ กำชับผลักดันเม็ดเงินลงทุน 9.6 แสนล้าน สู่ระบบเศรษฐกิจ กระตุ้น ‘จีดีพี’ ประเทศ