ดีอีเอสดันไปรษณีย์ไทยใช้ดิจิทัลขยายตลาดสินค้าชุมชน

กระทรวงดิจิทัลฯ มอบนโยบายไปรษณีย์ไทย ขับเคลื่อนดิจิทัลเข้าถึงผู้ประกอบการระดับชุมชนและเกษตรกร สร้างช่องทางเข้าถึงพื้นที่การตลาด และลูกค้ากลุ่มใหม่ทั่วไทย หนุนยกระดับรายได้เต็มรูปแบบ

19 พ.ย. 2564 นายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ภายใต้กรอบนโนบายของรัฐบาลภายใต้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัยครอบคลุมทั่วประเทศ ให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากดิจิทัลในการเพิ่มรายได้ สร้างโอกาสใหม่ๆ ในการประกอบอาชีพ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิต

ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ ได้มีการวางแนวทางใช้ดิจิทัล เพื่อเป็นอีกหนึ่งกลไกในการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนส่งเสริมการดำเนินธุรกิจให้กับประชาชนในระดับชุมชน โดยการนำดิจิทัลไปใช้ให้ตรงกับบริบททางพื้นที่ ผ่านทางหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงฯ

ล่าสุด ได้นำศักยภาพของไปรษณีย์ไทย ในฐานะผู้นำด้านการสื่อสารและขนส่งหลักของชาติ ร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดภูเก็ต ระนอง กระบี่ ตรัง พังงา และสตูล สนับสนุนผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน ให้สามารถดำเนินธุรกิจด้วยเครือข่ายของไปรษณีย์ไทยที่เข้าถึงได้ทุกพื้นที่ การช่วยยกระดับสินค้าให้พร้อมต่อการทำตลาดที่เปลี่ยนแปลง เข้าถึงโอกาสทางการตลาดและกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ทั่วประเทศไทย โดยสามารถคงคุณภาพของสินค้าที่ฝากส่งได้ตั้งแต่ต้นทาง–ปลายทาง

นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ดีอีเอส และไปรษณีย์ไทย ร่วมกันจัดหาโซลูชั่น และเทคโนโลยีช่วยยกระดับการขนส่งให้กับพื้นที่ทั้ง 6 จังหวัดข้างต้น โดยจัดระบบขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ ภายใต้ชื่อบริการ “ฟิ้วซ์ โพสต์ (Fuze Post) ซึ่งเป็นธุรกิจร่วมทุนระหว่างไปรษณีย์ไทย และเอกชนผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายใหญ่อีก 2 ราย เข้ามาช่วยยกระดับประสิทธิภาพการขนส่งอาหารทะเลสด อาหารทะเลแปรรูป อาหารแช่แข็ง

“กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพของประเทศทั้งด้านการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมอาหาร ดังนั้นผู้ประกอบการชุมชน และตลาดประมงที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก จะมีช่องทางในการกระจายสินค้าไปยังกลุ่มธุรกิจอาหารต่างๆ และผู้บริโภคมากขึ้น มีความรวดเร็วในการจัดส่งระยะเวลา 1 วันทำการ นับถัดจากวันที่ฝากส่งสำหรับปลายทางกรุงเทพฯ ปริมณฑล และ 2 วันสำหรับปลายทางต่างจังหวัด” นายเอกสิทธิ์กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีช่องทางอีมาร์เก็ตเพลสเว็บไซต์ Thailandpostmart.com อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการสินค้าชุมชน มีช่องทางการขายสามารถเชื่อมโยงไปยังผู้บริโภคในทุกพื้นที่ได้มากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ 14 จังหวัด จำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางนี้จำนวน 1,281 ราย มีสินค้าประเภทต่างๆ กว่า 817 รายการ เช่น อาหารแปรรูป สินค้าทางการเกษตร ฯลฯ โดยช่วง 10 เดือนที่ผ่านมามียอดสั่งซื้อสินค้าในพื้นที่ดังกล่าวรวมมูลค่ากว่า 11.33 ล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“นภินทร” ยกทัพ พาณิชย์-สสว.ททท. ขึ้นดอยช้าง ช่วย MSME เร่งสร้างแบรนด์สินค้าชุมชน ดึงจุดขายจดสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มมูลค่า ผลักดันส่งออก

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 ณ หมู่บ้านดอยช้าง ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำทีมภาครัฐพบกับผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงราย

'Thailand Top Vote 2024' แจกจริงทุกสัปดาห์ให้ผู้ร่วมโหวต

สมหมาย สุวรรณวงษ์ รอง กก.ผอ.ใหญ่ สายงานการตลาดและขาย (รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานการตลาดและขาย) พร้อมด้วย สุวิทย์ ทรัพย์มหาอุดม ผช.กก.ผอ.ใหญ่ สำนักวิทยุ (ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักวิทยุ) บมจ. อสมท และ ภูริต มิตรสมหวัง ผู้จัดการฝ่าย POSTNEXT บริษัท ไปรษณีย์ ไทย จำกัด ร่วมมอบทองคำให้กับผู้โชคดีที่เข้าร่วมโหวตรางวัล Thailand Top Vote 2024 โดยมี พัทธ์ธีรา ศรุติพงศ์โภคิน ดีเจ MET 107 ร่วมงาน

เปิดโหวตผู้เข้าชิง 'Thailand Top Vote 2024'

บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จับมือกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดงานประกาศรางวัล Thailand Top Vote 2024 เพื่อเฟ้นหาที่สุดทั้งจากโลกออนไลน์และออฟไลน์พบกับที่สุดแห่งความสุดยอด ที่มาจากการโหวตของคนทั้งประเทศ กับ 6 สาขารางวัล และ รางวัลเกียรติยศ สุดยอดนักบริหารแห่งปี จากการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

กมธ.ประชามติ เตรียมเชิญ 'ปณท-กกต.' ถกออกเสียงประชามติผ่านไปรษณีย์

นายนพดล ปัทมะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การออกเสียงประชามติ ให้สัมภาษ

OR เดินหน้า “ไทยเด็ด” ต่อยอดภูมิปัญญาสินค้าไทย ช่วยคนตัวเล็กมีงาน มีเงิน

ประเทศไทยที่ถือว่าเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ดีไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบทางธรรมชาติที่มีความหลากหลาย ผนวกกับความชำนาญของคนไทยที่สามารถพัฒนาวัตถุดิบเหล่านั้นให้กลายมาเป็นสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง