รัฐบาล เดินหน้าพัฒนาฝีมือแรงงาน ชวนทดสอบวัดระดับทักษะ หากผ่านเกณฑ์ รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือสูงสุด 900 บาทต่อวัน ชี้ทุกสาขาที่ประกาศ มีอัตราค่าจ้างที่สูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั้งสิ้น
9 ธ.ค.65 -นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายยกระดับรายได้หรือค่าแรงขั้นต่ำให้สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน รวมถึงสนับสนุนการปรับเปลี่ยนทักษะและเปลี่ยนสายอาชีพให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรมเป้าหมายและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น ดำเนินโครงการฝึกอบรมความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อพัฒนากำลังแรงงานหรือพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้และทักษะฝีมือสอดคล้องกับอุตสาหกรรม 6 กลุ่มเป้าหมาย (ดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์) สามารถใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการต่อยอดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โครงการยกระดับเพื่อเพิ่มศักยภาพฝีมือและสมรรถนะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความก้าวหน้าทางเทโนโลยีและนวัตกรรม รองรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรม/บริการ มีผู้ได้รับการฝึกอบรมรวมหลายหมื่นคน ยังมีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ/ผลิตภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบ SMEร กลุ่ม OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์ จำนวน 17,407 คน รวมถึงมีการสำรวจข้อมูลความต้องการแรงงานของสถานประกอบการที่มีแรงงานต่ำกว่า 50 คนลงมา และบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลอุปสงค์และอุปทานกำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 17,359 แห่ง
นางสาวรัชดา กล่าวว่า รัฐบาล โดยกระทรวงแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ขับเคลื่อนนโยบายดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ณ สถาบันและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานในแต่ละจังหวัด เมื่อพัฒนาทักษะฝีมือของตนเองจนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งมี 3 ระดับแล้ว จะได้รับใบรับรองที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานออกให้ เพื่อใช้แนบยื่นเป็นหลักฐานในการขอรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือได้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติแล้วทั้งสิ้น 88,675 คน จากการเข้าทดสอบ 272 สาขา
สำหรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานที่มีผลบังคับใช้แล้วรวม 112 สาขาอาชีพ โดยในแต่ละสาขาที่ มีอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ต่ำสุดวันละ 350 บาท ในกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ พนักงานเตรียมวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง ระดับ 1 ส่วนอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือสูงสุดในสาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก (โภชนบำบัด)ระดับ 2 อัตราค่างจ้างวันละไม่ต่ำกว่า 900 บาท ทั้งนี้ ยังมีสาขาอาชีพที่ประชาชนคุ้นเคย เช่น ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ช่างแอร์ ผู้ที่ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 1 จะได้รับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือไม่ต่ำกว่าวันละ 440 บาท ระดับ 2 อัตราวันละ 550 บาท และระดับ 3 อัตราวันละ 660 บาท ส่วนสาขาช่างสีรถยนต์ ระดับ 1 ถึงระดับ 3 จะได้รับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือไม่ต่ำกว่า 440 บาท 515 บาท และ 585 บาท ซึ่งทุกสาขาที่ประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ มีอัตราค่าจ้างที่สูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั้งสิ้น
“ แรงงานงานจะได้รับอัตราค่าจ้างสูง เมื่อสามารถพัฒนาทักษะฝีมือของตนเองให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว นำใบรับรองที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานออกให้ไปแนบยื่นเป็นหลักฐานในการขอรับอัตราค่าจ้างได้ จึงขอเชิญชวนแรงงานฝีมือเข้าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานได้ที่สถาบันและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ตั้งอยู่แต่ละจังหวัดได้ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4” นางสาวรัชดากล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์" หนุนแรงงานรุ่นใหม่ รายได้สูง ดันกรมพัฒฯ จับมือ ดิอาจิโอ ฝึกบาร์เทนเดอร์ป้อนตลาด
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านอาหารและเครื่องดื่ม ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กับ บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่
ปัดเตะถ่วง! นายกฯแพทองธาร ยันค่าแรง 400 บาท จะขึ้นภายในปีนี้
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความชัดเจนในเรื่องของค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทที่ดูเหมือนจะเลื่อนการจ่ายเงินจากวันที่ 1 ต.ค. 2567 ออกไป
ขึ้นค่าแรง 400 สะดุด! ไม่ทัน 1 ต.ค. 'บอร์ดไตรภาคี' เลื่อนยาว
'ปลัดแรงงาน' รับขึ้นค่าจ้าง 400 สะดุด ไม่ทัน 1 ต.ค. นี้ เหตุต้องรอ ธปท. ส่งตัวแทนคนใหม่ ร่วม คกก. ไตรภาคี
ถกค่าแรง 400 บาทล่ม ประชุม 3 ฝ่ายสะดุด!
นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 22 เป็นประธานการประชุมบอร์ดค่าจ้าง ครั้งที่ 9/2567 ที่กระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาปรับอัตรา
พิพัฒน์ เรียกร้องนายจ้าง เห็นใจลูกจ้าง ขึ้นค่าแรง 400 บาท วอนเข้าร่วมประชุมไตรภาคี พรุ่งนี้ 13.30 น. แย้ม ก.คลัง เห็นด้วยมาตรการบรรเทาผลกระทบนายจ้าง
วันที่ 19 กันยายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการขึ้นค่าแรง 400 บาทว่า ในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ย.67) เวลา 13.30
พิพัฒน์ เดินหน้า นำแรงงาน สู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ - ปัญญาประดิษฐ์ AI ปลื้มกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วม บริษัทสยามออโตแบคส์ อบรมแรงงานยานยนต์ EV รับสถานการณ์ แรงงานยานยนต์สันดาปที่ถูกเลิกจ้าง
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ว่า ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยเข้าสู่เทคโนโลยียุคใหม่ที่เรียกว่า 4.0